General

กรมชลฯ ติดตาม สถานการณ์น้ำ-อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ เน้นบริหารจัดการอย่างประณีต เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง

กรมชลฯ ติดตาม สถานการณ์น้ำ-อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ เน้นบริหารจัดการอย่างประณีต เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

กรมชลฯ

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (ณ วันที่ 29 พ.ค. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 41,016 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 54% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 35,321 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 11,995 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 12,876 ล้าน ลบ.ม.

กรมชลฯ

จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่  29 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2566 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ กรมชลประทาน ได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศทำการติดป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน เฝ้าระวังอันตรายแก่ประชาชนที่เล่นน้ำบริเวณคลองชลประทาน

พร้อมติดตามสภาพอากาศและสภาพฝนอย่างใกล้ชิด และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน อย่างประณีตและเกิดประโยชน์สูงสุด

กรมชลฯ

พร้อมรับมือฝนทิ้งช่วง

รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมอ่างเก็บน้ำ อาคารชลประทาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมอุปกรณ์หรือสถานที่ เพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วงให้ได้มากที่สุด

เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2566 ที่กรมชลประทานกำหนดไว้ ได้แก่

  1. จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี
  2. บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก
  4. กักเก็บน้ำในเขื่อน รวมไปถึงแหล่งน้ำต่างๆ ให้มากที่สุด
  5. วางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) อย่างเคร่งครัด

เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอสำหรับทุกกิจกรรม และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด

กรมชลฯ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo