General

ชี้แจงความคืบหน้า ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ เสียหายรวมกว่า 150 ล้าน

ตำรวจไซเบอร์ ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ความเสียหายรวมกว่า 150 ล้านบาท 

วันที่ 9 มีนาคม 2566 ...กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้หลอกลวงผู้เสียหายหลายราย สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังต่อไปนี้

เสียหาย

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อประชาชนจากภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ โทรศัพท์ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง พร้อมได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล...ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล...ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับไปยัง บช.สอท. โดย พล...วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ให้หน่วยงานในสังกัด เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน ขยายผลหาความเชื่อมโยงในดดี มุ่งมั่น ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ เน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวก และอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อประมาณเดือน .. 65 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ได้แอบอ้างเป็น ผกก.สภ.เมืองเชียงราย ร่วมกันกับพวกก่อเหตุโทรศัพท์ไปหลอกลวงประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคดีหลอกลวงนักลงทุนหุ้น ความเสียหายกว่า 41 ล้านบาท หรือคดีหลอกลวงแพทย์ในจังหวัดชุมพร ความเสียหายกว่า 101 ล้านบาท นั้น 

จากการสืบสวนสอบสวนขยายผลพบว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าวได้แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยพนักงานคอลเซ็นเตอร์สายที่ 1 ทำหน้ารอรับโทรศัพท์จากระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ เมื่อผู้เสียหายกดหมายเลขเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ จะเริ่มทำการพูดคุยแสดงตัวเป็นพนักงานบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง แจ้งผู้เสียหายว่าได้ส่งพัสดุที่มีสิ่งของผิดกฎหมายไปยังปลายทาง เช่น บัตรเอทีเอ็ม สมุดบัญชีธนาคาร ยาเสพติด เป็นต้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แนะนำให้รีบติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์สายที่ 2 แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่รับแจ้งความ สอบถามข้อมูลจากผู้เสียหาย จากนั้นได้ให้ผู้เสียหายติดต่อกับบัญชีไลน์ปลอมชื่อ สภ.เมืองเชียงราย พูดคุยหว่านล้อมให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฟอกเงิน ต่อมาได้ให้ผู้เสียหายติดต่อกับ ผู้ต้องหาซึ่งเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์สายที่ 3 แอบอ้างเป็น ผกก.สภ.เมืองเชียงราย ทำหน้าที่พูดคุย ข่มขู่ให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี และให้โอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปให้มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์

shutterstock 1444113941

นอกจากนี้ยังพบว่ามีนายทุนชาวต่างชาติ ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุม จ่ายเงินค่าจ้าง, หัวหน้ากลุ่มทำหน้าที่ควบคุมความเรียบร้อยของกลุ่ม คอยช่วยเหลือพนักงานคอลเซ็นเตอร์, พนักงานหลังบ้าน หรือช่างเทคนิคดูแลระบบโทรศัพท์, พนักงานออกหมายศาล ทำหน้าที่ให้มีชื่อของเหยื่อปรากฏในเอกสารปลอม, ล่ามทำหน้าที่แปลตามที่นายทุนสั่ง รวมถึงผู้ทำหน้าที่จัดหาคนทำมางานคอลเซ็นเตอร์ หรือเปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น  

กระทั่ง พงส.บช.สอท. ได้ทำการสืบสวนสอบรวมรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ มีการขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหาในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น, ร่วมกันเป็นอั้งยี่, ร่วมกันเป็นซ่องโจร, ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฟอกเงินในคดีหลอกลวงนักลงทุนหุ้น มีการออกหมายจับผู้ต้องหากว่า 60 ราย จับกุมได้แล้ว 5 ราย ที่เหลือยังอยู่ระหว่างหลบหนี ส่วนในคดีหลอกลวงแพทย์ในจังหวัดชุมพร มีการออกหมายจับผู้ต้องหากว่า 21 ราย จับกุมได้ 11 ราย อีก 10 ราย อยู่ระหว่างหลบหนีติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี  

กระทั่งเมื่อระหว่างเดือน .. – ..66 ที่ผ่านมา พงส. สังกัด บก.สอท.1 และ บก.สอท.5 ได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดไปยังพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาดำเนินในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไปแล้ว ทั้งนี้หากมีการจับตัวผู้ต้องหาที่หลบหนีได้เพิ่มเติม พงส.ก็จะดำเนินการสอบสวนปากดำผู้ต้องหาดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

โฆษก บช.สอท. กล่าวย้ำอีกว่า  บช.สอท. จะเร่งดำเนินดดีกับผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวทุกราย ขอให้มิจฉาชีพผู้ที่ยังกระทำความผิดหลอกลวงประชาชน อยู่หยุดการกระทำดังกล่าว หยุดซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน เพราะสุดท้ายแล้วจะต้องถูกจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย 

ทั้งนี้ สิ่งแรกที่มิจฉาชีพมักใช้คือการสร้างความน่าเชื่อถือ ใช้จิตวิทยา เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของคน มีการเขียนบทสนทนาเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ เพื่อทำให้เหยื่อคล้อยตามหลงเชื่อ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติ IVR (Interactive Voice Response) หรือเทคโนโลยี Deepfake เป็นต้น เพราะฉะนั้นประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ให้พึงระมัดระวังการรับสายโทรศัพท์หมายเลขที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายเลขที่โทรมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันจะมีเครื่องหมาย+697 ให้ท่านตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก หลงเชื่อง่ายๆ และอย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน เลขบัตรต่างๆ รหัสใช้ครั้งเดียว หรือ One Time Password (OTP) กับผู้ใดโดยเด็ดขาด
พร้อมขอประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันภัยจากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนี้ 

1.ไม่มีนโยบายของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องโทรศัพท์ไปยังประชาชน เพื่อแสดงเอกสารราชการ แจ้งว่าท่านกระทำความผิด หรือมีส่วนในการกระทำความผิด หากพบการกระทำดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน 

2.ไม่ตกใจกลัว ไม่เชื่อเรื่องราวต่างๆ จากบุคคลที่ไม่รู้จัก ให้วางสายการสนทนาดังกล่าว ตรวจสอบก่อนโดยการโทรศัพท์ไปยังหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง หรือโทรศัพท์สอบถามไปยังสายด่วนตำรวจไซเบอร์ หมายเลข 1441

3.ไม่โอนเงิน หากมีคำพูดว่าให้โอนเงินมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ หรือเพื่อสิ่งใดก็ตาม นั่นคือคำพูดของมิจฉาชีพแน่นอน

4.ไม่กดลิงก์ ติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน หรือส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก เพราะอาจจะเป็นการหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมเครื่องระยะไกล หรือโปรแกรมที่ฝังมัลแวร์ดักรับข้อมูลของมิจฉาชีพ ควรติดตั้งผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น

5.ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการเงินกับผู้ใดทั้งนั้น เช่น เลขบัตรประชาชน รหัสหลังบัตร รหัส PIN 6 หลัก และรหัส OTP เป็นต้น 

6.ท่านสามารถบล็อกสายเรียกเข้าที่มาจากต่างประเทศได้ ด้วยการกด *138*1# แล้วโทรออก 

7.ติดตั้งแอปพลิเคชัน Whos Call เพื่อแจ้งเตือนระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพที่อาจโทรศัพท์มาหลอกลวง

8.ดูแล แจ้งเตือน ผู้สูงอายุ บุคคลใกล้ตัว เพื่อลดโอกาสในการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo