General

เช็ก 10 วิธีรับมือ พายุฤดูร้อน จ่อถล่มสิ้นเดือน ก.พ.-มี.ค. 2566

เช็ก 10 วิธีรับมือ พายุฤดูร้อน หลัง “มท.1” เตือนทุกจังหวัด พายถจ่อถล่มสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2566 

จากกรณี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เตือนผู้ว่าฯทุกจังหวัด เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ..-มี.. 2566  ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน จากนั้น จนถึงปลายเดือนเมษายน จะมีอากาศร้อนอบอ้าว โดยทั่วไป เมื่ออากาศร้อนจัด และจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกลงในบางแห่ง

พายุ

วันนี้ thebangkokinsight จึงจะมาแนะนำแนวทางการป้องกันอันตรายจากพายุฤดูร้อน  และแนวทางการรับมือกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ..-มี.. 2566 นี้

10 วิธีรับมือ พายุฤดูร้อน

1.อาคารสูงควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า

สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับพายุฤดูร้อน คือ ฝนฟ้าคะนอง มีฟ้าแลบฟ้าร้อง ฟ้าฝ่า ดังนั้น อาคารสูงที่อยู่สิ่งที่ควรทำ คือ การติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าฝ่า เพื่อลดอันตรายจากการฟ้าฝ่า

2.ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง

อุปกรณ์ไฟฟ้า มักจะมีโลหะที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองนอกจากจะเสี่ยงทำให้เกิดอันตราย เสี่ยงต่อฟ้าฝ่าแล้ว ยังอาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น เสียหายได้เหมือนกัน ทางที่ดีจึงควรงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง

3.ติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า

การไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง จากฝนฟ้าคะนองได้ดีระดับหนึ่ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันในภาพรวมทั้งหมด ควรติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อลดอันตรายต่าง ได้แม้จะเป็นในยามปกติด้วย

4.ไม่ติดตั้งเสาอากาศวิทยุโทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า

เดี๋ยวนี้หลายบ้านอาจจะไม่ได้มีการติดตั้งเสาอากาศวิทยุ หรือเสาอากาศโทรทัศน์กันแล้ว แต่ก็อาจจะมีบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องติดตั้งเสาอากาศอยู่  การติดตั้งที่ปลอดภัยจะต้องไม่อยู่ในจุดที่ใกล้กับสายไฟฟ้า เพราะมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายและเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ในช่วงฝนฟ้าคะนองได้ด้วย

5.ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้าน,โครงสร้างส่วนต่อเติม

สิ่งที่แต่ละบ้านควรทำก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน คือ การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารบ้านเรือน รวมถึงส่วนที่มีการต่อเติมต่าง ไม่ว่าจะเป็นโรงจอดรถ กันสาด หรือแม้แต่โครงสร้างของบ้านในจุดต่าง หากพบว่ามีส่วนใดชำรุด หรือไม่แข็งแรงเพียงพอ จะต้องรีบดำเนินการ เพราะเมื่อมีพายุฤดูร้อนเข้ามาจะได้ไม่เกิดความเสียหาย หรืออันตราย

6.สำรวจต้นไม้รอบบ้านตัดแต่งกิ่งไม้ให้เรียบร้อย

นอกจากตัวบ้านที่ต้องมีความแข็งแรงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย คือ ต้นไม้ใหญ่บริเวณรอบบ้าน ที่จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ามีกิ่งแห้ง หรือกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้กับตัวบ้าน หรืออาคารหรือไม่ เราต้องตัดแต่งกิ่งไม้เหล่านั้น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากการหักโคนลงมาทำอันตรายต่อตัวบ้าน หรือส่วนต่าง ของอาคาร

7.จัดเก็บสิ่งของรอบบ้านที่อาจเสียหาย

สิ่งของที่อยู่รอบบ้าน ที่อาจจะถูกแรงลมพัด หรือเปียกฝนได้ ต้องจัดเก็บหรือทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ไม่อย่างนั้นลมฝน หรือพายุฤดูร้อนการจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งของต่าง ได้

8.ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุวิทยา ก็เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมในการรับมือพายุฤดูฝนได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นแบบกะทันหัน รวมถึง เราควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

9.จัดเตรียมอุปกรณ์ของจำเป็นไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

บางครั้งเหตุการณ์อาจจะรุนแรง หรือเกิดสถานการณ์ที่เราไม่คาดคิด การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเอาไว้ในยามฉุกเฉินเพื่อรอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น อุปกรณ์และของจำเป็นต่าง ก็เป็นพวกสิ่งของที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เช่น อาหารแห่ง น้ำดื่ม ยารักษาโรคพื้นฐาน และยาประจำที่ต้องกินสำหรับคนมีโรคประจำตัว ไฟฉาย เครื่องให้ความอบอุ่นของร่างกาย และของจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต

10.กรณีอยู่กลางแจ้ง เข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง 

กรณีไม่ได้อยู่ที่บ้าน และต้องอยู่กลางแจ้ง ให้รีบเข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากลมแรงและฟ้าผ่า ไม่หลบพายุในพื้นที่เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นโลหะหรือสื่อนำไฟฟ้า อาทิ รางรถไฟ เพิงสังกะสี รั้วลวดหนาม ประตูโลหะ งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพราะแบตเตอรี่มีส่วนผสมของโลหะจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ไม่พกพาหรือสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า อาทิ เงิน ทอง นาก ทองแดง และร่มที่มียอดเป็นโลหะ

ทั้งหมดก็เป็นแนวทางรับมือและเตรียมการป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินจากพายุฤดูร้อน ซึ่งหากใครยังไม่ได้ความพร้อมรับมือ ต้องรีบตรวจดูและทำตามที่เราแนะนำนะ เพราะพายุฤดูร้อนหมดไป เราก็จะเข้าสู่ฤดูฝนต่อซึ่งก็อาจจะมีความเสียจากพายุฝนได้อีกเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล PEA, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo