General

2 ปี ‘สคทช.’ มุ่งมั่น ยกระดับ-จัดหา ‘ที่ดินทำกิน’ เพื่อความยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ สคทช. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบ ในการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และมีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบร่างนโยบาย และแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ระยะ 15 ปี (2566-2580) เพื่อเป็นกรอบนโยบาย และทิศทางหลักระยะยาวในการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดินของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน

สคทช.

ในปี 2566 สคทช. จะยกระดับการขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดินด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดิน การพัฒนานโยบายการขับเคลื่อนให้กับประชาชน รวมถึงประสานความร่วมมืออย่างบูรณาการ เพื่อความยั่งยืนในทุกมิติ

การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่มีการพิพาท การทับซ้อนกันของแนวเขตที่ดินของรัฐ และเพื่อให้แนวเขตที่ดินของหน่วยงานรัฐมีความถูกต้อง ตรงตามกฎหมาย และใช้แผนที่กลางมาตราส่วนเดียวกันในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการที่ดินได้อย่างถูกต้องชัดเจน จึงได้ดำเนินการแบ่งกลุ่มพื้นที่ออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 11 จังหวัด

สคทช. เดินหน้าขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเร่งดำเนินการใน 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้

1. จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลด้านที่ดินและทรัพยากรดิน เพื่อกำกับดูแลข้อมูลด้านที่ดินให้ได้มาตรฐานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และจัดทำบัญชีข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ หรือ Land Accounting เพื่อรวบรวมชุดข้อมูลด้านที่ดินและทรัพยากรดินอย่างเป็นระบบ สามารถค้นหา เข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

s4

2. เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลด้านที่ดิน และทรัพยากรดินภาครัฐ และพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data สำหรับการวิเคราะห์ และวางแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินที่มีความเป็นเอกภาพ

3. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ การจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) โดยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในการแก้ไขปัญหา

สคทช.

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท หรือข้อโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างประชาชน กับหน่วยงานของรัฐ ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน ด้วยวิธีการพิสูจน์ความจริงให้เป็นที่ยุติว่า ประชาชนได้เข้าครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท ก่อนการเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่

สามารถดำเนินการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐได้ตามมาตรการของ คทช. ผ่าน คณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) ซึ่งในปีที่ผ่านมาสามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนเป็นที่ยุติแล้ว จำนวน 935 ราย 976 แปลง เนื้อที่ 5,783 ไร่

อยู่ระหว่างดำเนินการ (ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม) จำนวน 8,928 ราย 12,241 แปลง เนื้อที่ 51,241 ไร่ และรับรองผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ รวม 486 ระวาง ในพื้นที่ 41 จังหวัด จำนวน 878 ราย 1,192 แปลง 14,913 ไร่ ซึ่งสามารถดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

ในปีนี้ คทช. จะเริ่มนำ เทคโนโลยีโปรแกรมโฟโตแกรมเมตรี มาช่วยในการสร้างภาพถ่ายทางอากาศแบบ 3 มิติ ที่มีความถูกต้องทางด้านตำแหน่ง อีกทั้งยังมีการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กับการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ ด้วยวิธีการใช้เครื่องมือในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับการทำ Deep learning/ Machine learning เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ ด้วยการ Feature Detection แล้วนำมาออกแบบเป็น Model นำไปใช้วิเคราะห์แปลผลภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างถูกต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น

สคทช.

การยกระดับการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำการถือครองที่ดิน และสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้กับประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกิน ผลการดำเนินงานพื้นที่เป้าหมาย 9 ประเภท จำนวน 1,491 พื้นที่ 70 จังหวัด เนื้อที่ 5.7 ล้านไร่ ได้รับอนุญาตแล้ว 1.6 ล้านไร่ จัดคนเข้าทำประโยชน์แล้ว 78,109 ราย และได้รับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพใน 271 พื้นที่

ปี 2565 สคทช. ได้ดำเนินการจัดทำนโยบายเพื่อยกระดับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนหรือเกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินภายใต้ คทช. ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ดังนี้

สนับสนุนเกษตรกรให้เข้าถึงการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานด้านการเกษตรอื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับเกษตรกร

ยกระดับสหกรณ์เป็นผู้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรือที่อยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในพื้นที่การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบาย คทช.

จัดทำแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรและผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินจากรัฐ สามารถนำสมุดประจำตัวหรือหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินไปใช้เป็นหลักประกันการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการประกอบอาชีพได้

s1

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo