COVID-19

เตรียมประกาศ ‘โควิด’ เข้าสู่ ‘โรคประจำถิ่น’ 1 ก.ค.

สธ. เตรียมประกาศ ‘โควิด’ เข้าสู่ ‘โรคประจำถิ่น’ 1 ก.ค. ตัวเลขผู้สียชีวิตลดลง คาด มิ.ย.เหลือผู้ป่วย 1-2 พันคน เร่งปรับแก้กม. 9 ฉบับเพื่อวางแผนการรักษา ย้ำ ไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.ก. ฉุกเฉินอีกต่อไป

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังประชุม คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 2 /2565 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบวางแผนและกรอบการเข้าสู่โควิดเป็นโรคประจำถิ่น  และเตรียมวางแผนการรักษา การดูแลผู้ป่วย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

โรคประจำถิ่น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข

แนวปฏิบัติ 4 เดือน ก่อนเป็นโรคประจำถิ่น

ระหว่างนี้ประชาชนยังต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มาตรการป้องกันตนเองส่วนบุคคล ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง  และ ยังต้องรณรงค์ให้กลุ่มคน 608 ทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ รับวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ เข็ม 3-4  ก่อนเทศกาลสงรานต์

เนื่องจากข้อมูลของผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนี้ และเป็นผู้ที่มีอาการรุนแรง ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ทั้งยังมีผู้สูงอายุถึง 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

“มาตรการต่างๆที่ปรับมาเหล่านี้ต้องสอดคล้องกันหมด ทั้งการรักษา การจ่ายยาเวชภัณฑ์ อัตราตัวเลขผู้วยติดเชื้อ และเสียชีวิต ต้องเป็นที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล”

นายอนุทิน กล่าวว่า สอดคล้องกับเมื่อวานนี้ ที่ครม. เห็นชอบ เรื่อง UCEP PLUS  ที่ให้ผู้ป่วยสีเขียว เข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation  และให้คนป่วยสีเหลือง สีแดง ยังรับบริการรักษาฉุกเฉินทุกที่ จนกว่าจะหายดี ซึ่งจะมีผลในวันที่ 16 มี.ค.

ส่วนเรื่องของพรก.ฉุกเฉินมีขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์โรคหากควบคุมโรคได้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีพรก. ยืนยัน นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการให้มีสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นกัน

นพ.เกียรติภูมิ วงค์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อวางกรอบการเป็นโรค ประจำถิ่นว่า ต้องทำอย่างไร โดยจะแบ่งเป็น 4 เฟส ของการเข้าสู่การเป็นโรค ประจำถิ่น ดังนี้

โรคประจำถิ่น
นพ.เกียรติภูมิ วงค์รจิต

4 ระยะ ก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น

ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้นเม.ย.) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้  เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง

ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining  การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1-2 พันราย

ระยะ ที่  4 ตั้งแต่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic  คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรค ประจำถิ่น

โรคประจำถิ่น

โดย ช่วงแรก มีนาคม -เมษายน ภายใน 1 เดือน จะพยายามให้กราฟตัวผู้ป่วยติดเชื้อ ที่ตอนนี้เป็นขาขึ้น ให้คงตัว เป็นแนวระนาบ จากนั้น ในช่วง พฤษภาคม- มิถุนายน เป็นช่วงที่ผู้ป่วยติดเชื้อจะค่อยๆลดลง ในช่วงปลายมิ.ย. หรือ ราว 30 มิถุนายน ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อคาดเหลือ  1,000-2,000 คนต่อวัน

ทั้งนี้จะต้องมีการปรับแก้กฎหมาย 9 ฉบับ เพื่อเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น และต้องทำให้มาตรฐาน Covid Free Setting  เป็นมาตรฐานการควบคุมโรคในอนาคต มีแนวทางการรักษาที่เหมาะสม สอดคล้องกัน และ ในส่วนของอัตราการเสียชีวิต ก็ต้องลดลง เหลือประมาณ  1 ใน 1,000 โดยอัตราการเสียชีวิตของไทยขณะนี้อยู่ที่ 0.19% ขณะที่ทั่วโลก อยู่ที่ 1.3%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo