COVID-19

‘โควิดไม่ใช่โรคฉุกเฉิน’ หมอธีระวัฒน์ ตีความ ‘มีอาการ อยากรู้ ก็ไปเสียเงินตรวจเอง’

‘โควิดไม่ใช่โรคฉุกเฉิน’ หมอธีระวัฒน์ ตีความ ‘มีอาการ อยากรู้ ก็ไปเสียเงินตรวจเอง’ เริ่ม 1 มี.ค.นี้

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ข้อความว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.โควิดจะไม่ใช่โรคฉุกเฉิน คำจำกัดความคือโรคที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของประชาชนแต่ละคน

โควิดไม่ใช่โรคฉุกเฉิน

ถ้ามีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่ถ้าเป็นโรคอื่นด้วยและโควิดมาซ้ำ มีอาการรุนแรงก็ใช้สิทธิฉุกเฉินได้ คือ UCEP Plus

แต่ไม่มีอาการอะไรเลย แล้วอยากไปเข้า รพ. โดยเฉพาะ รพ.เอกชน ก็เหมือนโรคอื่นๆ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เราก็ต้องปรับสภาพให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดกับพี่น้องประชาชนและภาครัฐ เรื่องงบประมาณต่างๆ

โควิดไม่ใช่โรคฉุกเฉิน

หมอธีระวัฒน์ ตีความ ‘โควิด ไม่ใช่ โรคฉุกเฉิน’ ที่จะเริ่มวันที่ 1 มี.ค.นี้

ตีความง่ายๆ

ประชาชน ให้เข้าใจ ก็คือ เป็นเหมือนก่อนมีโควิด มีอาการ อยากรู้ ก็ตรวจเอง อาการน้อย ก็กินยาแก้ไข้ไป อาการมากแต่ไม่ถึงหนัก ฉุกเฉิน จะไป รพ ก็ได้ ใช้สิทธิของแต่ละคน

นพ.ธีระวัฒน์  ยังโพสต์เป็นห่วงการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จะติดเชื้อเพิ่มเป็นสองเท่า ซึ่งในประเทศไทยตัวเลขสูงขึ้นจริง แต่ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นตามประเทศต่างๆรายงาน ซึ่งแสดงถึงความจำกัดในการตรวจไม่ว่าจะเป็นพีซีอาร์หรือเอทีเค

และประกาศของทางการก็ไม่สนับสนุนในการตรวจตามสถานพยาบาลน้อยใหญ่ ยกเว้นคนที่มีความเสี่ยง  และสิ่งที่น่ากังวล พร้อมชี้สิ่งที่น่ากังวลคือ สายพันธุ์ย่อย BA.2 แพร่เชื้อเร็วกว่า  น่าจะติดซ้ำซ้อนได้ใหม่ และอาการรุนแรงกว่า

โควิดไม่ใช่โรคฉุกเฉิน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo