COVID-19

สะพรึง!! โอไมครอน ‘JN.1’ กำลังกลายพันธุ์ส่วนหนามคล้าย ‘ไวรัสเมอร์ส’

ศูนย์จีโนมฯ เผยผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกประเมินโอไมครอน JN.1 กำลังปรับกลยุทธ์กลายพันธุ์ส่วนหนามแบบ จากเดิมที่จะจับจำเพาะกับเซลล์เยื่อบุปอด ให้สามารถแพร่ลงลึกจับกับเซลล์เยื่อบุลำไส้ร่วมด้วยคล้ายกับ “ไวรัสเมอร์ส”

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เผยหลายประเทศตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในน้ำเสีย เพิ่มมากขึ้น หวั่นเริ่มกลายพันธุ์แพร่ลงลึกจับกับเซลล์เยื่อบุลำไส้ร่วมด้วย คล้ายกับ ไวรัสเมอร์ส โดยระบุว่า

shutterstock 1647928165 1

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกประเมินว่าโอไมครอน JN.1 กำลังปรับกลยุทธ์ด้วยการกลายพันธุ์ส่วนหนามแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

กล่าวคือปรับส่วนหนามจากเดิมที่จะจับจำเพาะกับเซลล์เยื่อบุปอดให้สามารถแพร่ลงลึกจับกับเซลล์เยื่อบุลำไส้ร่วมด้วยคล้ายกับ ไวรัสเมอร์ส(MERS) เพราะหลายประเทศตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในน้ำเสีย(ที่ปนเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะ) เพิ่มมากขึ้น

แม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์โดยตรงที่แน่ชัดว่าโอไมครอน JN.1 จะทำให้เกิดปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับโอไมครอนสายพันธุ์ก่อน ๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายสถาบันสังเกตเห็นแนวโน้มจากการตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในน้ำเสียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อินเดีย และสิงคโปร์ รวมทั้งในสหรัฐ

การเฝ้าติดตามการเพิ่มจำนวนและการอุบัติขึ้นของสายพันธุ์เก่าและใหม่ของเชื้อโควิด-19 จากน้ำเสียที่ยังไม่ได้บำบัด (wastewater surveillance of SARS-CoV-2) จากแหล่งชุมชนที่มีการปนเปื้อนปัสสาวะและอุจจาระจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีและไม่มีอาการ โดยสามารถตรวจจั

ดังนั้น ทำให้การตรวจเชื้อโควิด-19 จากน้ำเสียเป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพสำหรับการเตือนภัยล่วงหน้าและการติดตามการระบาดของโควิด-19 รวมทั้งโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำหรืออุบัติใหม่อื่น ๆ และเนื่องจากโอไมครอน JN.1 ได้รับการจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือ Varian of interest โดย องค์การอนามัยโลก เมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทำให้มีการตรวจหาโอไมครอน JN.1 ในน้ำเสียร่วมด้วย

ในสหรัฐ ตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในตัวอย่างน้ำเสียจากหลายรัฐในเดือนพฤศจิกายน 2566 ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระบุการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะลุกลาม

ในสิงคโปร์ มีการตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในตัวอย่างน้ำเสียเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งส่งผลให้มีการทดสอบและเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

ในอินเดีย ตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในตัวอย่างน้ำเสียจากรัฐปุเณ ต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐเพิ่มการเฝ้าระวังและติดตามเพิ่มมากขึ้นในรัฐมหาราษฏระและเกรละ ซึ่งเป็นที่ซึ่งมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นบเชื้อไวรัสโควิด-19 จากน้ำเสียได้ก่อนที่จะมีผู้ป่วยปรากฏให้เห็นในสถานพยาบาลประมาณ 1-2 สัปดาห์

อินเดีย

ในประเทศไทย ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ร่วมมือกับสำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม รพ. รามาธิบดี เคยตรวจไวรัสโคโรนา 2019 จากน้ำเสียในช่วงที่สายพันธุ์เดลตา และโอไมครอนดั้งเดิมกำลังระบาด สามารถเริ่มการตรวจกรองน้ำเสียเพื่อคัดกรองโอไมครอน JN.1 ได้หากมีความจำเป็น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://bit.ly/CMG-COVID-wastewater

ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ ระบุว่า ระดับปริมาณไวรัสโอไมครอนจากน้ำเสียในปัจจุบัน (ปี 2566) เพิ่มสูงมากเกินกว่าระดับของโอไมครอนในน้ำเสียที่สังเกตได้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (ปี 2565) ที่มีผู้ป่วยเกือบ 4 หมื่นรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโอไมครอนในสหรัฐ

ในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลาประมาณ 17.00 น. ตามเวลากรุงเทพฯ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายใหม่จำนวน 752 ราย ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นในวันเดียวสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2566

กลุ่มความร่วมมือจีโนมิกส์ SARS-CoV-2 ของอินเดีย (the Indian SARS-CoV-2 Genomics Consortium: Insacog) รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอน JN.1 จำนวน 21 รายจากทั่วประเทศ โดย 19 รายอยู่ในรัฐกัว และในรัฐมหาราษฏระและเกรละ รัฐละ 1 ราย  กรณีของโอไมครอน JN.1 ในอินเดียยังไม่พบการติดเชื้อที่รุนแรง

การตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในอินเดียนำไปสู่มาตรการคัดกรองผู้โดยสารที่สนามบินนานาชาติปุเณ รัฐมหาราษฏระ และการติดตามบุคคลที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่และมีอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

การศึกษาในอดีตพบว่า ไวรัสเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาตระกูลหนึ่งที่มีจุดเด่นในการติดเชื้อที่เซลล์เยื่อบุระบบทางเดินอาหารเป็นการเฉพาะ และเร็วๆนี้พบว่าการกลายพันธุ์บางตำแหน่งบนจีโนมของโอไมครอน JN.1 ไปคล้ายกับไวรัสเมอร์ส อันอาจทําให้มีพันธุกรรมที่เอื้อต่อการติดเชื้อในเซลล์เยื่อบุลำไส้

ลำไส้

สังเกตจากหลายประเทศขณะนี้ตรวจพบโอไมครอน JN.1 ในน้ำเสีย (ที่ปนเปื้อนอุจจาระปัสสาวะ) เพิ่มมากขึ้นอันบ่งชี้ว่าโอไมครอน JN.1 มีการกลายพันธุ์เพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในบริเวณ เซลล์เยื่อบุปอด อันสืบเนื่องมาจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติ ไปเพิ่มจำนวนในบริเวณ เซลล์เยื่อบุลำไส้ แทน

การที่ไวรัสเปลี่ยนแปลงเซลล์เป้าหมาย (viral tropism) จากเซลล์เยื่อบุปอดมาเป็นเซลล์เยื่อบุลำไส้ของโอไมครอน JN.1 คาดว่าช่วยให้ไวรัสไม่ถูกจับและทำลายจากแอนติบอดีในปอด โดยอาจส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคและการแพร่กระจายของเชื้อในอนาคต

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากโอไมครอน JN.1 สามารถติดเชื้อในเซลล์เยื่อบุลำไส้

มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอน JN.1 อาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง คลื่นไส้ และอาเจียน อาการเหล่านี้อาจพบได้บ่อยหรือรุนแรงกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ อื่นๆ

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแพร่เชื้อ หากโอไมครอน JN.1 สามารถแพร่เชื้อในลำไส้ได้ ก็อาจหลั่งออกมาทางอุจจาระได้ สิ่งนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คน

โรคที่รุนแรงมากขึ้น ในบางกรณี ไวรัสที่สามารถติดเชื้อในลำไส้อาจทำให้เกิดโรคที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้ เนื่องจากลำไส้เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีเซลล์ภูมิคุ้มกันจำนวนมาก ซึ่งสามารถตกเป็นเป้าหมายของไวรัสเข้าทำลายได้

ดังนั้น จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบทั้งหมดของความสามารถของโอไมครอน JN.1 ในการติดเชื้อกับเซลล์เยื่อบุลำไส้

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโอไมครอน JN.1 ที่อาจมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นประชาชนจึงควรปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันหรือควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันตนเองติดเชื้อ เช่น การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด การสวมหน้ากากอนามัยในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

ตรวจพันธุกรรม

กระบวนการตรวจจับไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอน JN.1 ในน้ำเสีย

ขั้นตอนที่ 1 ตัวอย่างน้ำเสียจะถูกรวบรวมจากสถานที่ทดสอบต่าง ๆ

ขั้นตอนที่ 2 ลดปริมาณน้ำลงเพื่อทำให้อนุภาคไวรัสโคโรนา 2019 เข้มข้นขึ้นอันได้แก่ การกรองแบบอัลตราฟิลเตรชัน การกรองผ่านเมมเบรนอิเล็กโทรเนกาติวิตีด้วยการเติม MgCl2 และสารโพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG)ช่วยในการตกตะกอนอนุภาคไวรัสและตามด้วยการปั่นเหวี่ยงความเร็วสูงเพื่อให้อนุภาคไวรัสตกตะกอนลงมาที่ก้นหลอด

ขั้นตอนที่ 3 นำตะกอนก้นหลอดไปสกัดเอาสารพันธุกรรมมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมด้วยเทคโนโลยีการหาลำดับเบสที่พัฒนาขึ้นใหม่ (Next generation sequencing) และแชร์ผลบนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo