COVID-19

ระวัง! พบ ‘โอไมครอน JN.1’ ในไทยแล้ว 1 ราย คาดปีหน้าระบาดกลายเป็นสายพันธุ์หลัก

ระวัง! พบ “โอไมครอน JN.1” ในไทยแล้ว 1 ราย หลบภูมิคุ้มกันเก่งที่สุดในโลก คาดปีหน้าระบาดกลายเป็นสายพันธุ์หลัก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  เตือนให้ระวัง! พบโอไมครอน JN.1 (รุ่นลูกของโอมิครอน BA.2.86) ในไทยแล้ว 1 ราย

ไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอน BA.2.86 หรือมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “พิโรลา” ขึ้นชื่อในความสามารถในการจับกับผิวเซลล์ปอดของผู้ติดเชื้อได้ดีที่สุด แต่ยังหลบหนีภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับโอไมครอนที่ระบาดมาก่อนหน้า เช่น EG.5.1 และ HK.3 อย่างมีนัยสำคัญ

ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกังวลว่า BA.2.86 อาจมีการกลายพันธุ์เพื่อหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น โดยพบมีการซุ่มตัวแพร่เชื้อในระดับต่ำๆมาหลายเดือนแล้ว

โอไมครอน JN.1

พบในไทยแล้ว 1 ราย คาดปีหน้าระบาดกลายเป็นสายพันธุ์หลัก

ในที่สุดความกังวลก็เป็นจริงเมื่อโอไมครอนสายพันธุ์ JN.1 (B.1.1.529.2.86.1.1) ได้อุบัติขึ้น โอไมครอน JN.1 เป็นรุ่นลูกของโอมิครอน BA.2.86  ซึ่งบนส่วนหนามมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นหนึ่งตำแหน่งคือ “L455S”  ส่งผลให้มีความสามารถทั้งจับกับผิวเซลล์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในโลก ทำให้ในปัจจุบันกลายเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดโดดเด่นในฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว

ความสามารถในการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของโอไมครอน JN.1 ทำให้ทั้งองค์การอนามัยโลก, กรมควบคุมโรคสหรัฐฯและอังกฤษออกมาเตือนประชาชนกลุ่มเปราะบางให้เข้ามารับการฉีดวัคซีน

รัฐบาลอินเดียแนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโอไมครอน JN.1 โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง โดยให้ปฏิบัติมาตรการป้องกันอื่นๆร่วมด้วย เช่น กินร้อน ช้อนกลาง เว้นระยะห่างทางสังคม

ประเทศไทยเพิ่งพบโอไมครอน JN.1 จำนวน  1 รายเมื่อ 28 ตุลาคม 2566 โดยมีการแชร์รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่แยกได้จากผู้ติดเชื้อในกรุงเทพมหานครฯ ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID)  คาดว่าต้นปีหน้าอาจแพร่เป็นสายพันธุ์หลักเหมือนประเทศอื่น

โอไมครอน JN.1

รายชื่อประเทศที่ตรวจพบโอมิครอน JN.1 จากจำนวนมากไปหาน้อย

  • เดนมาร์ก ถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) จำนวน 1,035 ราย คิดเป็น 14.543% แพร่ระบาดในประเทศ
  • สหรัฐ 997 ราย 0.814%
  • สิงคโปร์ 842 ราย 11.591%
  • ฝรั่งเศส 539 ราย 2.463%
  • ประเทศอังกฤษ 440 ราย 1.666%
  • สเปน 391 ราย 2.401%
  • แคนาดา 343 ราย 0.804%
  • สวีเดน 331 ราย 3.085%
  • เนเธอร์แลนด์ 294 ราย 6.536%
  • เยอรมนี 206 ราย 4.269%
  • เบลเยียม 191 ราย 4.837%
  • อิตาลี 166 ราย 2.495%
  • ออสเตรเลีย 113 ราย 1.127%
  • ออสเตรีย 105 ราย 4.493%
  • ไอซ์แลนด์ 104 ราย 15.072%
  • ไอร์แลนด์ 89 ราย 3.153%
  • สวิตเซอร์แลนด์ 89 ราย 3.774%
  • บราซิล 79 ราย 1.808%
  • ฟินแลนด์ 70 ราย 2.885%โอไมครอน JN.1
  • โปแลนด์ 58 ราย 5.292%
  • อิสราเอล 57 ราย 1.796%
  • โปรตุเกส 47ราย 3.856%
  • ญี่ปุ่น 34 ราย 0.126%
  • นอร์เวย์ 31 ราย 4.697%
  • ลักเซมเบิร์ก 30 ราย 1.951%
  • นิวซีแลนด์ 17 ราย 0.399%
  • จีน 16 ราย 0.096%
  • เกาหลีใต้ 8 ราย 0.034%
  • ไต้หวัน 6 ราย 0.804%
  • สโลวาเกีย 4 ราย 0.911%
  • เช็กเกีย 3 ราย 1.442%
  • แอฟริกาใต้ 3 ราย 0.405%
  • บัลแกเรีย 1 ราย 0.386%
  • กรีซ 1 ราย 0.029%
  • ฮ่องกง 1 ราย 0.469%
  • ลิทัวเนีย 1 ราย 0.207%
  • มาเลเซีย 1 ราย 0.146%
  • เม็กซิโก 1 ราย 0.057%
  • กาตาร์ 1 ราย 0.602%
  • รัสเซีย 1 ราย 0.035%
  • ประเทศไทย 1 ราย 0.085%

แม้ว่าโอไคมรอน JN.1 จะมีความสามารถในการแพร่เชื้อได้สูงกว่า แต่อาการโดยทั่วไปไม่รุนแรง ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo