COVID-19

‘โอไมครอน CH.1.1’ สายพันธุ์น่ากังวล หลบภูมิจากวัคซีน mRAN 3 เข็ม ก่อให้เกิดอาการอักเสบรุนแรง

จับตา ‘โอไมครอน CH.1.1’ สายพันธุ์น่ากังวล หลบภูมิจากวัคซีน mRAN 3 เข็ม ก่อให้เกิดอาการอักเสบรุนแรง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า  หลายฝ่ายกำลังจับตาโอไมครอน “CH.1.1” ที่พบการระบาดใหญ่ในนิวซีแลนด์ มีการกลายพันธุ์หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่า BQ.1.1 และ XBB.1.5

โอไมครอน CH.1.1

และมีโปรตีนส่วนหนามบางตำแหน่งเหมือนกับสายพันธุ์เดลตาที่สามารถก่อให้เกิดการหลอมรวมของเซลล์ที่อยู่ใกล้ชิดติดกันเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ (fusogenicity) ดึงดูดให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้ามาทำลายเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงขึ้น

CH.1.1 พบเริ่มอุบัติขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2565 จากนั้นแพร่ระบาดไปยังสหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์โดยมีส่วนแบ่งการระบาด 25% และ 40% ตามลำดับ (ภาพ1-2)

โอไมครอน CH.1.1

โอไมครอน CH.1.1 ก่อให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงเหมือนเดลตา

ขณะนี้ตัวอย่างที่ถูกสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมจากทั่วโลกและแชร์ข้อมูลบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”  พบเป็น CH.1.1 ประมาณ 10%

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US-CDC) แถลงว่าขณะนี้ พบโอไมครอน CH.1.1 แพร่ระบาดในสหรัฐ 1.5% (ภาพ3)

โอไมครอน CH.1.1

ฮ่องกงและปาปัวนิวกินี มีผู้ป่วยราวหนึ่งในสี่ของประเทศติดเชื้อ CH.1.1  ในขณะที่มีผู้ติดเชื้อในกัมพูชาและไอร์แลนด์ประมาณหนึ่งในห้าเป็นเชื้อ  CH.1.1

ประเทศไทยตรวจพบ CH.1.1 จำนวน 168  รายจากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมและแชร์ข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”  โดยมีส่วนแบ่งการระบาดภายในประเทศ 5 % (ภาพ4)

โอไมครอน CH.1.1

ทำไมโอไมครอน CH.1.1 ถึงน่ากังวล?

CH.1.1 มีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามที่ตำแหน่งกรดอะมิโน“L452R”  ที่เหมือนกับสายพันธุ์เดลตา (โอไมครอนปรกติจะไม่มีการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่งนี้) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้ออาการรุนแรง เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลตา 

โอไมครอน CH.1.1

เนื่องจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า ส่วนหนามที่กลายพันธุ์ไปสามารถจับกับผิวเซลล์ของผู้ติดเชื้อได้หลากหลายอวัยวะนอกเหนือไปจากเซลล์ปอด ก่อให้เกิดการหลอมรวมของเซลล์ที่อยู่ใกล้ชิดติดกันเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ (fusogenicity) ดึงดูดให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้ามาทำลายเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงขึ้น (ภาพ5)

CH.1.1 ไม่ใช่ “เดลทาครอน” ที่มีการแลกเปลี่ยนบางส่วนของสายจีโนมระหว่างสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอน แต่เป็นรุ่นเหลนของโอไมครอน BA.2.75 เป็นตัวอย่างสำคัญของการวิวัฒนาการที่กลับมาบรรจบกัน  (convergent evolution) กล่าวคือสายพันธุ์ของโควิดมีวิวัฒนาการอย่างอิสระ แต่กลับมีการกลายพันธุ์ในรูปแบบเดียวกัน (ระหว่างสายพันธุ์เดลตาและโอไมครอน) อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติในหมู่ประชากร

โอไมครอน CH.1.1

หลบภูมิจากการฉีดวัคซีน mRNA 3 เข็มได้อย่างสมบูรณ์

ดร. คอร์นีเลียส โรเมอร์ (Cornelius Romer) นักชีวสารสนเทศ จากมหาวิทยาลัยบาเซิลในสวิตเซอร์แลนด์ มีความเห็นว่าโอไมครอนลูกผสม  XBB.1.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์โควิดที่สามารถแพร่เชื้อได้มากที่สุด จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566  อย่างไรก็ดีควรเฝ้าระวัง  CH.1.1 เพราะสามารถแพร่เชื้อได้รวดเร็วเช่นกัน โดยเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองเท่าในทุกสองสัปดาห์หรือมากกว่านั้น

โอไมครอน CH.1.1

นอกจากนี้โอไมครอน XBB.1.5, BQ.1.1, CH.1.1, และ CA.3.1 ดื้อหรือหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีด mRNA ดั้งเดิม (monovalent vaccine)  จำนวน 3 เข็มได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA ดั้งเดิมครบโดส 3 เข็มตามด้วยวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์ (bivalent booster) อีกหนึ่งเข็ม จะมีภูมิคุ้มกันต่อโอไมครอน XBB.1.5, BQ.1.1, CH.1.1, และ CA.3.1 อยู่บ้าง (ภาพ 6-7)

โอไมครอน CH.1.1

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo