POLITICS-GENERAL

ย้อนรอย 10 คดีดัง ปี 2566

ย้อนรอย 10 คดีดัง ปี 2566 ดราม่าคดีฆาตกรรมเหตุการณ์สะเทือนขวัญคนไทยทั้งประเทศ

ปี 2566 ถือเป็นอีกปีที่โลกโซเชียลเกิดกระแสไวรัล มีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากกมาย  thebangkokinsight จึงรวบรวมคดีดัง หรือเหตุการณ์สำคัญมาให้แล้ว มาดูกันระหว่าง 1 ปีที่ผ่านมามีประเด็นร้อนอะไรเกิดขึ้นบ้าง

คดีดัง ปี 2566

1.‘ทุนจีนเทา’ บุกไทย

สถานการณ์ทุนจีนสีเทาบุกไทยหนักขึ้น หลังจากที่ทางการจีนปราบปรามการคอร์รัปชันอย่างหนักในจีน จนทำให้กลุ่มคนจีนที่ทำธุรกิจสีเทาบางกลุ่มกระจายออกมาอยู่นอกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่รวมถึงไทยด้วย

ปัจจุบัน “ทุนจีนสีเทา” เข้ามาอาศัยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการกระทำผิดกฎหมาย สวมสัญชาติไทย ทำธุรกิจสีเทา-ศูนย์เหรียญ ถือเป็น “ปัญหาระดับชาติ” สร้างปัญหาใหญ่ให้ไทยยาวนานกว่า 10 ปี แทรกซึมทุกวงการ แม้ว่าจะมีการจับบกุมรายวันแต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะหมด อีกทั้งยังมีตำรวจ และฝ่ายปกครอง บ้านเรากลับกลายเป็นผู้รู้เห็น “รับสินบน” เสียเอง

คดีดัง ปี 2566

ข่าวทุนจีนสีเทาโด่งดังอีกครั้ง หลังตำรวจบุกจับผับ “จินหลิง” ที่ใครๆ ตั้งฉายาว่าเป็น “ผับศูนย์เหรียญ” ที่มีกลุ่มทุนจีนบางกลุ่ม พยายามเข้ามาขยายอิทธิพลในเมืองไทย ด้วยธุรกิจสถานบันเทิง พ่วงกับปัญหา “ยาเสพติด” และยังเชื่อมโยงกับ “บ่อนการพนัน” โดยมี “เฮียชู” นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตนักการเมืองและอดีตนักโทษคดีอาญาแฉข้อมูลต่อเนื่อง จนตำตรวจขยายผลจับชายชาวจีน “ตู้ห่าว” เป็นเจ้าของผับจินหลิง ยึดทรัพย์กว่า 1,000 ล้าน

เมื่อถามว่า “ทุนจีนเทา” มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจไทยหรือไม่ คงปฎิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันธุรกิจของชาวไทย ถูกกลุ่มจีนเข้ามาเป็นเจ้าของ หรือทำธุรกิจในรูปแบบนอมินีจำนวนมาก โดยเริ่มจาก ธุรกิจขนาดเล็ก ก่อนที่จะกระจายออกไปในหลายพื้นที่ พัฒนาเครือข่ายธุรกิจสีเทาขยายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

ดังนั้น “ผู้มีอำนาจในรัฐบาล” ต้องปฏิรูปกฎระเบียบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ตั้งกฎกติกาสำหรับ “คนต่างชาติ” ที่จะเข้ามาทำธุรกิจ หรือครอบครองบ้าน-ที่ดินให้เท่าเทียมกับนานาชาติ มิเช่นนั้นในอนาคตอันใกล้คนจีนอาจจะครองเมืองเข้ามาแย่งงานแย่งอาชีพคนไทย ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างกรณีคดีนายตู้ห่าวเกิดขึ้นก็ได้ รวมทั้งเร่งกวาดล้างเครือข่ายธุรกิจสีเทาต่างชาติเข้ามาสร้างอิทธิพล เย้ยกฎหมายไทย เย้ยกฎหมายไทย เพื่อมิให้เข้ามาสร้างปัญหาในประเทศไทยเสียหายได้อีกต่อไป

2.ย้อนคดีดัง ‘แอม ไซยาไนด์’

อีกหนึ่งคดีดัง เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2566 การเสียชีวิตปริศนาของ “ก้อย” สาวชาว จ.กาญจนบุรี หายตัวไป พี่สาวและแม่พยายามตามหาเบาะแสทุกช่องทาง จนไปเห็นภาพศพก้อย ที่มีพลเมืองดีโพสต์ตามหาญาติ คนหมดสติเสียชีวิตริมท่าน้ำใน อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

566000004013001

พี่สาวของก้อยติดต่อ ‘นางสาว แอม’  ซึ่งเป็นเพื่อนของก้อย บอกว่าตัวเองอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่รู้เห็นอะไร และแสดงความเสียใจด้วย เย็นวันนั้นมีตำรวจ สภ.บ้านโป่งไปดูกล้องวงจรปิดที่ท่าน้ำ เพื่อนคนหนึ่งของก้อยไปช่วยดู จึงเห็นว่าจริงๆแล้วมีผู้หญิงเสื้อสีขาวไปกับก้อยด้วย

คดีเริ่มเป็นข่าวดัง เนื่องจากครอบครัวก้อยยังคงพยายามตามหาทรัพย์สินของก้อยที่หายไป มีรถเก๋ง 1 คัน  กระเป๋าหลุยส์  เงินราว 4 หมื่น และมือถือ 2 เครื่อง นอกจากนั้นมีการโพสต์ตามหา “ผู้หญิงเสื้อสีขาว” ที่อยู่กับก้อยเป็นคนสุดท้าย เพราะถึงจะรูปร่างคล้าย “แอม” แต่เธอปฏิเสธ

ต่อมาครอบครัวของก้อย ได้นำหลักฐานเข้าร้องกับตำรวจกองบังคับการปราบปราม โดยระบุว่านอกจากกรณีของก้อย ยังมีญาติผู้เสียชีวิตรายอื่นที่เชื่อว่าอาจเชื่อมโยงกับ “แอม” ติดต่อเข้ามา ที่สำคัญคือสามีของ “แอม” เป็นตำรวจยศ พ.ต.ท. รองผู้กำกับ สภ.บ้านโป่ง (ท้องที่เกิดเหตุ) เริ่มมีการเปิดข้อมูลกรณีอื่นที่เสียชีวิตในลักษณะคล้ายกับก้อยมาเรื่อยๆ  ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ราชบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม และมีความสัมพันธ์เรื่องเงินกับ “แอม” ก่อนเสียชีวิตพบกับ “แอม” เป็นคนสุดท้าย

กระทั่งมีรายงานพบสารพิษไซยาไนด์ ในศพของก้อย ตำรวจได้เข้าจับกุม “แอม” ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ในข้อหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เธอปฏิเสธขณะที่ทนายความของนางสาวแอม มั่นใจสู้คดีได้แน่ เพราะมองว่าการจะเอาผิดต้องมีหลักฐานชัด และตั้งคำถามถึงเคสอื่นจะพิสูจน์ยังไง ศาลยกประโยชน์ข้อสงสัยให้จำเลยอยู่แล้ว ขณะที่ตำรวจยังคงเดินหน้าขยายผลซึ่งมีรายงานว่าอาจมีมากถึง 10 ศพ

ตำรรวจใช้เวลากว่า 3 เดือน รวบรวมพยานหลักฐานจากที่เกิดเหตุทั้งภาพจากกล้องวงจรปิด การสอบปากคำแพทย์ผู้ชันสูตรศพ ผลตรวจสอบเลือดและสารคัดหลั่งในกระเพาะจากศพเหยื่อรายสุดท้ายที่ จ.ราชบุรี จนพบสารไซยาไนด์ในเนื้อตับของผู้ตาย รวมทั้งสอบปากคำพยานอื่นๆอีกกว่า 900 ปาก มีเอกสารเกี่ยวกับคดี 26,500 แผ่น

ถือเป็นคดีที่ระดมชุดสืบสวนสอบสวนมากที่สุดในประเทศไทย สามารถสรุปสำนวนดำเนินคดี แอม-สรารัตน์ รวม 15 คดี ประกอบด้วยความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ปลอมปนอาหาร ยาหรือเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นใดเพื่อให้บุคคลอื่นเสพหรือใช้ การปลอมปนนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ปลอมและใช้เอกสารปลอมฯ รวมกว่า 75 ข้อหา

3.‘กำนันนก’ เสี่ยพันล้านสู่ผู้ต้องหาจ้างฆ่า

เหตุการณ์อุกอาจนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 คนร้ายลั่นกระสุนสังหาร พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว สว.ส.ทล.1 กก.2 บก.ทล. เสียชีวิต ในพื้นที่ ต.ตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม จากการตรวจสอบพบกระสุนถูกเข้าทั่วร่างนายตำรวจหนุ่มที่เสียชีวิตกว่า 7 นัด สถานที่เกิดเหตุคือบริษัทรับเหมาก่อสร้างของ “กำนันนก” กำนันคนดังนครปฐม

PAP 9948 1

ต่อมาศาลจังหวัดนครปฐมอนุมัติออกหมายจับคนร้ายที่ก่อเหตุ คือ นายธนัญชัย หมั่นมาก ชื่อ-สกุลจริงของ “หน่อง ท่าผา” อายุ 45 ปี ลูกน้องคนสนิทกำนันนก ในข้อหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, พยายามฆ่าผู้อื่น, มีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ และ ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน” ส่วนกำนันนก ตกเป็นผู้ต้องหาในการสั่งการให้ “หน่อง ท่าผา” เป็นผู้กระทำความผิด

“หน่อง ท่าผา” ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) วิสามัญเช้าตรู่ วันที่ 8 กันยายน ขณะพยายามต่อสู้ตำรวจเพื่อหลบหนีการจับกุม

ส่วนกำนันนกถูกหมายจับศาลจังหวัดนครปฐม ที่ จ.469/2566 ลงวันที่ 7 กันยายน 2566 ในความผิดฐาน “เป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐาน ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่น” เขาเข้ามอบตัวช่วงเย็นวันเดียวกันนั้น โดยยืนกรานปฏิเสธในข้อกล่าวหา อ้างว่าลูกน้องเป็นผู้ลงมือเอง เขาไม่เกี่ยวข้อง แต่ยอมรับว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง

เจ้าหน้าที่ชุดหนุมานกองปราบนำตัว “กำนันนก” ไปยังศาลอาญารัชดาเพื่อฝากขังผัดแรกแล้ว ซึ่งเกี่ยวกับคดีนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล หรือ “บิ๊กโจ๊ก” รอง ผบ.ตร. เปิดเผยว่า คดีนี้ไม่ใช่เรื่องซับซ้อน เนื่องจากพยานหลักฐานและตัวบุคคลมีความชัดเจนแล้ว แต่ยังจะต้อง “สืบสวนขยายผล” ไปถึงประเด็นอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกำนันนกทุกราย ซึ่งรวมถึงการขยายผลในประเด็น “การจ่ายส่วย” ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐด้วย เพื่อเป็นการล้างบางอิทธิพลในพื้นที่ให้สิ้นซาก

ย้อนไปสมัยวัยเยาว์ “กำนันนก” เป็นลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ “ผู้ใหญ่โยชน์” หรือนาย ลออง จันทร์คล้าย ผู้ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านตำบลตาก้องเมื่อ 20 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ ผู้ใหญ่โยชน์ยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท “ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด” ตั้งอยู่ริมถนนสายตาก้อง-ดอนตูม หมู่ 2 ต.ตาก้อง อ.เมืองนครปฐม ทำธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ตัดถนน สร้างสะพาน ขุดคลอง สร้างอาคารสถานที่ที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย และวางท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ในหลายจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจให้เช่ารถ

จากข้อมูลของกรมธุรกิจการค้า ระบุว่า บริษัท ป.รวีกนก เป็นบริษัทที่มีชื่อของนายประวีณ จันทร์คล้าย หรือกำนันนก เป็นกรรมการแต่เพียงผู้เดียว ส่วนอีกบริษัท คือ ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด มีชื่อของกำนันนกเป็นกรรมการบริษัทร่วมกับสมาชิกครอบครัวอีกสองคน คือ นายลออง จันทร์คล้าย และนางสุวีณา จันทร์คล้าย ทั้งสองบริษัททำธุรกิจ 5 ปี มีรายได้รวมกันกว่า 2,600 ล้านบาท!

4.ค้นบ้าน ‘บิ๊กโจ๊ก’ มรสุมชิงตำแหน่ง ‘ผบ.ตร’

ย้อนไป เมื่อ 25 กันยายน 2566 ตำรวจชุดปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (สอท.) พร้อมชุดคอมมานโด ได้นำหมายค้นและหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ เข้าไปตรวจสอบบ้านของ “บิ๊กโจ๊ก” หรือ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)  และบ้านที่ซื้อไว้ให้ลูกน้องพัก รวมทั้งหมด 5 หลัง หลังตรวจสอบพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเว็บพนันออนไลน์

s 843898 0

“ บิ๊กโจ๊ก” ได้ออกมาหน้าบ้านในสภาพชุดนอน เสื้อสีขาว กางเกางขาสั้น ถุงเท้าสีขาว และแสดงท่าทีไม่พอใจ ตอนแรกปฏิเสธไม่ยอมให้ค้นบ้าน พร้อมตำหนิชุดพนักงานสอบสวน ก่อนร้องขอให้นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เข้ามาร่วมตรวจค้นด้วยตัวเอง กระทั่ง พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา (บิ๊กเจี๊ยบ) ผู้บัญชาการ สอท. ได้เดินทางมาถึงหน้าบ้านของบิ๊กโจ๊ก บิ๊กโจ๊กจึงยอมให้กำลังตำรวจตรวจค้นบ้านพัก โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนและผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย

แม้ตำรวจลูกน้องที่ใกล้ชิดจะถูกออกหมายจับ แต่จับบิ๊กโจ๊กไม่ถูกออกหมายจับแต่อย่างใด หลังจากพาตำรวจตรวจค้นบ้านเป็นที่เรียบร้อย และไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย

หลังจากนั้น “บิ๊กโจ๊ก” ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนอีกครั้งที่สโมสรตำรวจ ระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการทำเกินกว่าเหตุและตัวเองไม่มีคดี แค่ต้องการทำให้เสียชื่อเสียง หรือการไปขอหมายศาลที่ไม่ได้บอกว่าเป็นบ้านของบิ๊กโจ๊กก็เป็นสิ่งที่ผิดปกติแล้ว พร้อมชี้ว่าทั้งหมดเป็น “เรื่องการเมืองในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” เป็นการดิสเครดิตและทำให้ตัวเองเสียชื่อเสียง

“เรื่องนี้เป็นการชกใต้เข็มขัด เป็นการดิสเครดิตผมอย่างเห็นได้ชัด มันมีหลายคดีที่งวดแล้ว แต่ไม่อยากกล่าวถึงใคร ขอให้เป็นไปตามกฎหมาย ใครทำผิดว่ากันไปตามกฎหมาย ใครละเมิดอำนาจศาลต้องดำเนินคดี” บิ๊กโจ๊กกล่าว

ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่คนไทยจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะบิ๊กโจ๊กถือเป็นนายตำรวจฝีมือดีที่กำลังมีผลงานโดดเด่น และมีรายชื่อเป็น 1 ใน 4 ตัวเต็งชิงเก้าอี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จนหลายคนก็อดตั้งคำถามไม่ได้ ว่าการบุกบ้านบิ๊กโจ๊กรอบนี้ เกี่ยวข้องกับเว็บพนัน หรือเป็นศึก “ตำรวจตัดตำรวจ” กันแน่

5.เส้นทาง ‘บิ๊กต่อ’ ผบ.ตร คนไหม่

หลังจาก “บิ๊กโจ๊ก” หรือ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)  1 ใน 4 ตัวเต็งชิงเก้าอี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ถูกค้นบ้านพัก หลังพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเว็บพนันออนไลน์  

231025rtm78

“บิ๊ก” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล (รอง ผบ.ตร.) ก็ผงาดขึ้นเบอร์ 1 ชิงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) แต่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาเช่นเดียวกัน เพราะใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มีกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับพิจารณาประกอบในการเลือก ผบ.ตร.ไว้ชัดเจน คือต้องพิจารณาจากความอาวุโส 50 เปอร์เซ็นต์ และดูจากความรู้ความสามารถอีก 50 เปอร์เซ็นต์

หากยึดกฎเกณฑ์นี้ ผู้ที่เหมาะสมควรได้รับเลือกเป็น “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องเป็น “พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์” รองผบ.ตร. อาวุโสอันดับ 1 เป็นคนแรก แต่ผลไม่เป็นเช่นนั้น สุดท้าย “บิ๊กต่อ” คว้าเก้าอี้ใหญ่ เบอร์ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนที่ 14 กลายเป็นผู้นำคนใหม่แห่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ครองนาม “พิทักษ์ 1” ได้อย่างสมศักดิ์ศรี

6.’แป้ง นาโหนด’ สะเทือน กระบวนการยุติธรรมไทย

สั่นสะเทือน กระบวนการยุติธรรมไทย เมื่อ “เสี่ยแป้ง นาโหนด” หรือ นายเชาวลิต ทองด้วง อายุ 37 ปี ผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์แกล้งป่วยหนัก จนต้องไปรักษาโรงพยาบาล ก่อนสะเดาะตรวนหลบหนี วันที่ 22 ตุลาคม 2566

จากการสอบสวน พบผู้เกี่ยวข้องมีด้วยกัน 3 คน คือ นายจีรวุฒิ, นายจักรี และนางยุวเรศ แบ่งหน้าที่กันทำ เสี่ยแป้งลงจากลิฟต์มาได้ ก็มีรถมารับพาตัวหลบหนีไป ผ่านไปเวลาหลายสัปดาห์ตำรวจก็ยังไม่สามารถจับกุมได้ ต่อมา “กรมราชทัณฑ์” ได้ตั้งค่าหัวนำจับจำนวน 100,000 บาท ก่อนจะเพิ่มค่าหัวเป็น 1 ล้านบาท

แป้ง

ผ่านไปกว่า 19 วัน มีรายงานว่า “เสี่ยแป้ง” และลูกน้องคนสนิทหลบหนีอาศัยอยู่บนเทือกเขาบรรทัด เจ้าหน้าที่ตำรวจภาค 8 และ ภาค 9 นำกำลังปิดล้อมเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่ จ.พัทลุง ระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่พบตัวเสี่ยแป้ง แล้วเกิดการยิงปะทะกัน แต่ก็ไม่สามารถควบคุมตัวไว้ได้

สุดท้ายเป็นที่ฮือฮา เมื่อ “เสี่ยแป้ง” โผล่อัดคลิป 2 คลิป  แจงปมแหกคุก ยืนยันไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินคดี พร้อมแฉกระบวนการยุติธรรมไทย พาดพิงทั้งตำรวจและอัยการ ตนเองถูกสั่งฟ้องเพียงคนเดียว ทั้งที่มีคนร่วมก่อเหตุนับสิบคน ถูกแจ้งข้อหา 7 คน หนึ่งในนั้นเป็นถึง “อัยการ”

โดยในคลิป เสี่ยแป้งระบายความในใจ “อยากให้ดำเนินคดีกับอัยการคนดังกล่าวแล้วตนจะกลับไปมอบตัวตามกระบวนการยุติธรรม แต่หากไม่ยอมทำเช่นนี้ ตนก็จะไม่มอบตัว ถ้าจะให้ตนไปก็เอาเป็นศพกลับไปก็แล้วกัน ตนไม่ไป 100 เปอร์เซ็นต์”

เวลาผ่านไปกว่า 2 เดือน ตำรวจนยังไม่สามารถควบคุมตัวเสี่ยแป้งได้ ล่าสุดมีรายงานว่าเสี่ยแป้งหลบหนีไปยังประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเเม้ตอนนี้ยังไม่มีการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเป็นทางการ เป็นที่น่าจับตาว่าแรงสั่นสะเทือน “เสี่ยแป้ง” แหกคุกออกแฉ ขอความเป็นธรรม จะเขย่าขบวนการยุติธรรมมากเพียงใด กระทบไปถึงใครกันบ้าง?

7.จับโบรกเกอร์ ขายข้อมูลให้มิจฉาชีพ

เหตุกาารณ์นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแถลงข่าวการจับกุมปฏิบัติการ Data Guardians Operation ล่าทรชน คนค้าข้อมูล โดยมีการจับกุมผู้ต้องหารวม 3 ราย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการขายข้อมูลส่วนบุคคลให้กลุ่มมิจฉาชีพกว่า 15 ล้านรายชื่อ

P5JKLgVKCYJtn1NGM5GM

รายแรก คือ นายพศิน อายุ 41 ปี ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ของบริษัทประกันภัยชื่อดัง ลักลอบนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าประกันนับล้านรายชื่อไปขายให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งข้อมูลของลูกค้าประกันถือว่าเป็นข้อมูล เกรด A เป็นข้อมูลในเชิงลึกที่มีมากกว่าแค่ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเบอร์โทร แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคารด้วย โดยจากการสืบสวนพบว่า นายพศิน เป็นผู้ขายข้อมูลเหล่านี้ ให้กับผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมได้ก่อนหน้านี้

ผู้ต้องหารายที่ 2 คือ นายณัฐพงษ์ อายุ 28 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ ที่ได้ทำการพัฒนาโปรแกรม API Bypass Face Scan และนำโปรแกรมนี้ไปขายให้กลุ่มมิจฉาชีพ โดยเป็นโปรแกรมที่สามารถเข้าไปแก้ไขโค้ดของแอปพลิเคชั่นธนาคาร ให้ยกเลิกเงื่อนไขการสแกนใบหน้า เมื่อมีการโอนเงินจำนวนมากกว่า 5 หมื่นบาท สร้างความสะดวกให้กลุ่มมิจฉาชีพมากยิ่งขึ้น

และผู้ต้องหารายที่ 3 คือ นายยอดชาย อายุ 24 ปี ทำหน้าที่เป็นแอดมินกลุ่มเฟซบุ๊กซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีข้อมูลที่ใช้ซื้อขายมากกว่า 15 ล้านรายชื่อ ซึ่งนายยอดชาย รับทำหน้าที่ไลฟ์สดให้แก่เว็บไซต์พนันออนไลน์ และได้นำข้อมูลมาจากฐานข้อมูลของเว็บพนันออนไลน์ มาขายในกลุ่มดาร์คเว็บ

8. รวบ ‘ดีดี้’ บิ๊กบอสเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์ Ufa

อีกหนึ่งคดีใหญ่ ปี 2566 พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงผลการจับกุมผู้บริหารจัดการด้านการเงินให้กับเว็บพนันออนไลน์รายใหญ่ในเครือ UFA ว่าสำหรับการจับกุมนายภาคภูมิ (สงวนนามสกุล) อายุ 29 ปี บิ๊กบอสเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์ยูฟ่า (UFA) ซึ่งเจ้าตัวเป็นเจ้าของ license โดยซื้อมาจากต่างประเทศ ฝั่งอเมริกาและยุโรป

จากนั้นจึงมีการจ่ายค่าสัญญาณ (license) ให้กับเจ้าของเว็บ UFA ทุกเดือนๆ ซึ่งก็คือนายภาคภูมิ ผ่านบัญชีม้า ชื่อ “น.ส.ชบา ปะตะทะกัง” จึงทำให้บัญชีนี้ เป็นบัญชีที่ใช้สำหรับการรับค่าปันผลของเจ้าเว็บพนัน UFA ทุกเครือข่าย ซึ่งจะต้องแบ่งจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ให้กับนายภาคภูมิ อัตรา 3% บัญชีม้านี้จึงถือเป็นการมัดรวมเจ้าของเว็บพนันออนไลน์เกือบทุกเจ้า

ภาพถ่ายหน้าจอ 2566 12 31 เวลา 03.35.17

สำหรับนายภาคภูมินั้น ถือเป็นเบอร์ 1 ของเครือข่ายเว็บไซต์พนันออนไลน์ในประเทศไทย เพราะเบอร์ 2 และเบอร์ 3 คือ พ.ต.ท.วสวัตติ์ มุครสกุล หรือสารวัตรซัว และนายพันณรงค์ ขุนพิทักษ์ หรือ เอ็ดดี้ ซึ่งขณะนี้ยังหลบหนีอยู่ที่ต่างประเทศ และจากการสืบสวนขยายผลมาจากกรณีของการจับกุม น.ส.ชบา (บัญชีม้าขนาดใหญ่ของขบวนการสีเทา) พนักงานสอบสวนได้ใช้เวลากว่า 5 เดือน โดยขยายผลจากการตรวจสอบเรื่องเส้นทางการเงินและระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด พบว่าเครือข่าย UFA ของนายภาคภูมิ มีบัญชีม้าจำนวน 83 บัญชี บางบัญชีมีเงินหมุนเวียนเป็นพันล้าน

ความยากในการไล่ติดตามนายภาคภูมิ มีการใช้นามแฝงว่า “ดีดี้” และไม่ใช่คนดัง ใช้ชีวิตโลว์โปรไฟล์ ไม่ครอบครองรถหรูใดๆ ไม่มีทรัพย์สินราคาแพงเหมือนสารวัตรซัวหรือเอ็ดดี้ ทำให้ติดตามตัวได้ยาก

ต่อมาได้มีบุคคลใกล้ชิดและรู้เห็นการดำเนินการของกลุ่มขบวนการนี้ ส่งข้อมูลแจ้งเบาะแสทั้งทางเฟซบุ๊กของ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ และเข้าพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้ข้อมูลว่าผู้เป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริงของเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์ UFA คือ นายภูชิชย์ ซึ่งเดินทางออกไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศกว่า 1 ปีแล้ว

พร้อมทั้งแจ้งแหล่งซุกซ่อนทรัพย์สินและกิจการที่สร้างขึ้นมาอำพรางเพื่อฟอกเงินที่ได้จากการดำเนินกิจการเว็บพนันออนไลน์ UFA ซึ่งข้อมูลที่ได้รับตรงกับเส้นทางการเงินที่คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวนอยู่ คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจึงได้มีการขยายผลขออนุมัติออกหมายจับ นายภูชิชย์ฯ กับพวกเพิ่มอีก รวม 13 ราย ก่อนหน้านี้มีการอายัดทรัพย์สิน ทั้งอสังหาริมทรัพย์เงินฝากในบัญชีธนาคาร และยึดสังหาริมทรัพย์ จำพวกของใช้แบรนด์เนม และได้นำกำลังเจ้าหน้าที่กองคดียาเสพติดนำหมายศาลเข้าค้นและอายัดทรัพย์สิน 2 แห่ง เป็นเพนต์เฮาส์สุดหรู ย่านหาดราไวย์ มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท

9. ‘พ่อใหญ่บาส’ ฉาวส่งท้ายปี

ข่าวฉาวส่งท้ายปี ที่คนไทยและสังคมไทยให้ความสนใจ เห็นทีจะหนีไม่พ้น กรณีของ “พ่อใหญ่บาส-สมรักษ์ คำสิงห์” นักกีฬาไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิก ที่ถูกเด็กสาววัย 17 ปี กล่าวหาว่าทำอนาจารและล่วงละเมิดทางเพศ หลังทั้งคู่ได้รู้จักกันในสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง ก่อนจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถามต่อว่าเด็กสาวอายุ 17 ปี เข้าสถานบันเทิงได้อย่างไร จนกลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตถกเถียงกันอย่างดุเดือด เมื่อ 10 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา

ย้อนรอย

หลังจากเด็ก 17 เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองขอนแก่น “พ่อใหญ่บาส” ได้เดินทางไปพบพนักงาสอบสวน โดยยืนยันว่า ไม่ได้มีการล่วงละเมิดทางเพศแต่อย่างใด แต่มีการถอดเสื้อผ้าและกอดหอม ก่อนที่สมรักษ์จะถามว่าอายุเท่าไร เมื่อเด็กสาวบอกว่า 17 ปี ก็ตกใจ จึงหยุดตรงนั้น ก่อนจะหันหลังนอนหลับไป แต่ไม่รู้ภาพหลุดออกมาได้อย่างไร

ตอนแรกเห็นทีรถทัวร์จะลงที่ “พ่อใหญ่บาส” แต่ก็ต้องเบรกกะทันหัน เมื่อทางร้านงัดกล้องวงจรปิดออกมา พบสาว 17 เป็นคนซ้อนรถไปกับพ่อใหญ่บาสซะเอง แถมเพื่อนยังออกมาแฉต่อว่า ชวนกลับแล้วแต่สาว 17 ยังยืนยันว่าจะไปกับพ่อใหญ่บาส

กระแสแยกออกเป็น 2 ฝั่ง บางคนก็เห็นใจ “พ่อใหญ่บาส” เด็กเข้าผับได้ใครจะคิดว่าอายุ 17 ก่อนการมี “เพศสัมพันธ์” ใครจะมีอารมณ์ขอดู “บัตรประชาชน” บ้างก็ว่า “เด็กมันยั่ว” อายุแค่นี้เข้าผับได้คงไม่ธรรมดา ขณะที่อีกฝั่ง ก็เชื่อว่า “สาว 17” คือเหยื่อ คือผู้ถูกกระทำ เพราะเด็กเข้าแจ้งความทันทีทันใดหลังจากเกิดเหตุ พร้อมส่งไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ระบุว่า “พ่อใหญ่บาสพาเค้ามาโรงแรม” และ “ฟ้าวมา (รีบมา) เค้าย่าน (เค้ากลัว)”

แต่ในทางข้อกฎหมายไม่ได้เห็นอกเห็นใจพ่อใหญ่บาสแต่อย่างใด หลังทำการสืบสวนสอบสวนและเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ ทาง สภ.เมืองขอนแก่น เผยผลในที่ประชุมได้พิจารณาดำเนินคดีสมรักษ์ ใน 4 ข้อหา ดังนี้

  • ร่วมกันพรากผู้เยาว์เด็กอายุเกิด 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี
  • ร่วมกันพาบุคคลอายุ 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ไปเพื่อการอนาจาร
  • กระทำอนาจารเด็กอายุ 15 ปีโดยใช้กำลังประทุษร้าย
  • พยายามข่มขืนผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย

นอกจากนี้ ตำรวจยังแจ้งข้อหาผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ ซึ่งเป็นคนขี่รถพาสมรักษ์และเด็ก 17 เข้าโรงแรม โดยแจ้ง 2 ข้อหา คือ ร่วมกันพรากผู้เยาว์เด็กอายุเกิด 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี และร่วมกันพาบุคคลอายุ 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ไปเพื่อการอนาจาร

10.มิจฉาชีพ เตือนทุกวัน แต่ก็ยังโดน

ปัจจุบันอาชญากรรม บนโลกออนไลน์ หรือ “อาชญากรรมทางไซเบอร์” (Cybercrime) ที่เหล่ามิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี เพื่อหลอกเหยื่อให้หลงกลแล้วได้เงินมาแบบง่าย ๆ กลายเป็นภัยร้ายใกล้ตัวเพียงแค่ปลายนิ้ว นับเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล ที่ต้องเร่งปราบปรามให้หมดสิ้น

 ย้อนรอย

 

แม้จะมีการแจ้งเตือนกันรายวัน เกี่ยวกับมิจฉาชีพ แต่ประชาชนก็ยังตกเป็นเหยื่ออยู่ ซึ่งกลโกงมิจฉาชีพ ใช้หลอกลวงเหยื่อบนโลกออนไลน์ มีดังนี้

1. หลอกขายสินค้าออนไลน์ แต่ไม่ได้รับสินค้า / หรือได้รับสินค้าแต่ไม่ตรงตามโฆษณา

2. หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ โดยชักชวนทำงานออนไลน์ที่ไม่มีอยู่จริง อ้าง PLATFORM ที่น่าเชื่อถือ เช่น TikTok Youtube Lazada เป็นต้น โดยหลอกลวงให้ กด LIKE กด SHARE เพื่อเพิ่มยอดวิว แกล้งรับออเดอร์ ทำสต็อกสินค้า แต่สุดท้าย หลอกเอาเงินที่อ้างว่าเป็นเงินค้ำประกันจากท่าน (เหยื่อ)

3. เงินกู้ออนไลน์ (เงินกู้ทิพย์) ไม่ได้เงินจริง หลอกเอาข้อมูล เงินค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม เลขที่บัญชีธนาคารจากเหยื่อ  (ดอกเบี้ยโหด) โฆษณาชวนเชื่อ กู้โดยไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคลในโทรศัพท์ของท่าน (เหยื่อ) เพื่อโทรตามทวงหนี้คนใกล้ชิด เรียกดอกเบี้ยโหด และให้ใช้ชดใช้หนี้ไม่มีหมด

4. ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว (Call Center) โทรศัพท์มุ่งเป้าหาเหยื่อ โดยแจ้งว่า ท่านเกี่ยวข้องกับการส่งพัสดุผิดกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมาย หรือโดนอายัดบัญชีธมาคาร แล้วอ้างเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ข่มขู่เรื่องกฎหมายฟอกเงิน ให้ท่าน (เหยื่อ) โอนเงินโดยพลการ

5. หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ โดยอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีจริง ให้ผลตอบแทนสูง สร้างภาพความน่าเชื่อถือ เช่น ลงทุนในธุรกิจน้ำมัน พลังงาน ทองคำ เงินดิจิทัล ตลาดหุ้น Forex ตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ  เกมออนไลน์ เป็นต้น

6. หลอกให้รักแล้วลงทุน โดยปลอมแปลง PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี เข้ามาตีสนิทจาก APP หาคู่ /หรือบัญชีออนไลน์ สอนให้ลงทุน แล้วหลอกให้ลงทุนใน APP หรือโปรแกรมลงทุนปลอม เช่น เทรดหุ้นปลอม เงินดิจิทัลปลอม สกุลเงินปลอม ทองคำทิพย์ เป็นต้น

7. หลอกให้รักแล้วโอนเงิน / หรือยืมเงิน โดยปลอม PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี ทำความรู้จักผ่านบัญชีออนไลน์ ตีสนิทหลอกให้รัก ทำทีจะส่งทรัพย์สินมาให้จากต่างประเทศ แต่สุดท้าย ลวงเอาเงินค่าธรรรมเนียมต่าง ๆ หรือ หลอกให้โอนเงิน โดยอ้างว่าจะคืนให้หลายเท่าตัว

8. ปลอม /หรือ HACK บัญชี LINE / Facebook แล้วมาหลอกยืมเงิน เพื่อให้ส่งข้อความขอยืมเงินจากเพื่อนเจ้าของบัญชีตัวจริงที่หลงเชื่อ

9. แชร์ลูกโซ่ โดยหลอกให้ร่วมลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีอยู่จริง เน้นให้เสาะหาเครือข่าย สร้างรายได้จากการเพิ่มสมาชิก

10. การพนันออนไลน์ โดยโฆษณาชวนเชื่อ หว่านล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ค่าน้ำ (ค่าเสียเวลา) คืนให้แก่ผู้เล่น และแจกสูตรการันตีผลตอบแทนที่ไม่มีจริง

11. หลอกให้ LOAD โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ทางไกล (เพื่อขโมยข้อมูล) โดยอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกให้ใหลดโปรแกรมควมคุมทางไกล เพื่อถอนเงินจากบัญชีของท่าน (เหยื่อ)

12. ส่ง QR Code หลอกให้โอนเงิน โดยคนร้ายอ้างว่า จะคืนค่าสินค้า โดยหลอกให้เหยื่อสแกน QR Code ซึ่งเป็นการโอนเงินให้แก่คนร้าย บางกรณี จะเป็นการให้กรอกข้อมูลบัญชีธนาคารของท่าน และรหัสผ่านเพื่อขโมยเงินของท่าน (เหยื่อ)

13. ฉ้อโกงรูปแบบอื่น โดยหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ให้ท่านโอนเงินให้คนร้าย เช่น ผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี ได้สิทธิ์พิเศษต่าง ๆ เป็นต้น แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนล่วงหน้าให้คนร้าย ซึ่งแอบอ้างเป็นหน่วยงาน เช่น ธนาคาร การไปรษณีย์ กรมศุลกากร เป็นต้น โดยส่ง LINK ปลอม เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล  ขโมยเลขที่บัญชีธนาคาร รหัส Password เป็นต้น

14. โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ โดยหลอกให้หลบหนีออกนอกประเทศ บังคับกักขังให้ทำงานผิดกฎหมาย ใช้แรงงานเยี่ยงทาส

15. หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย ลามก อนาจาร เพื่อใช้ข่มขู่เรียกเงินจากท่าน (เหยื่อ)

16. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) และร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ฟอกเงิน

17. ข่าวปลอม (Fake News) ซึ่งแชร์ข่าวจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อความลูกโซ่ที่ส่งต่อกันทางไลน์ เป็นต้น

18. เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ (Ransomware) Lock รหัส Files Folders ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เรียกเงินจากท่าน (เหยื่อ)

กลโกงของมิจฉาชีพนั้น ปรับเเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  ซึ่งที่ผ่านมามีเหยื่อสูญเงินตั้งแต่หลัก 1,000 บาท สูงสุดถึงหลัก 100 ล้าน รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจจัดตั้ง ศูนย์ AOC สายด่วน 1441 โดยผลการดำเนินการ มีผู้เดือดร้อนจากกลุ่มวิชาชีพ 32,000 สาย โดยเฉลี่ยต่อวัน 2,691 สาย มีการอายัดบัญชีได้ทันทีทั้งหมด 2,004 บัญชี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo