POLITICS-GENERAL

‘เพื่อไทย’ เปิดตัวอย่าง 50 ความสำเร็จ ‘กองทุนหมู่บ้าน’

“เพื่อไทย” เปิดตัวอย่าง 50 ความสำเร็จกองทุนหมู่บ้าน” ย้ำจะกลับมาอีกครั้งเมื่อเพื่อไทยขึ้นเป็นรัฐบาล

เพจ พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความระบุว่า 20 ปีที่แล้วนโยบายกองทุนหมู่บ้านคือนโยบายหลักที่เริ่มดำเนินการทันที หลังพรรคไทยรักไทยเข้าเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2544 เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนตัวเล็ก อันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนธรรมดาทั่วไปในยุคสมัยนั้นไม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจหรือโครงการต่างๆ เป็นของตัวเองได้ เพราะข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุน ก่อนจะกลายมาเป็นรากฐานนโยบายสาธารณะที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งปรับตัวตามยุคสมัยและได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางจากทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะโครงการ Microfinance ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ดำเนินการโดยภาครัฐมาจนถึงปัจจุบัน

กองทุนหมู่บ้าน

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศจำนวนมากถึง 79,610 กองทุน สร้างเงินทุนหมุนเวียนกว่า 3 แสนล้านบาทให้กับจำนวนสมาชิกกว่า 13 ล้านคน ซึ่งถือเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2544 จากความร่วมมือของประชาชนไทยทุกคน

เพื่อต้อนรับเทศกาลเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมาถึง เพื่อไทย คิดใหญ่ และเคยทำสำเร็จจริงมาแล้ว ขอชวนทุกคนย้อนกลับไปดู 50 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้วจากนโยบายกองทุนหมู่บ้านในประเภทต่างๆไปด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น

  1. โครงการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานชุมชน
  2. โครงการเกษตรชุมชน
  3. โครงการผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
  4. โครงการสวัสดิการและสาธารณประโยชน์

342624625 191494147031210 6571225098900081575 n

โครงการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานชุมชน

  • พัฒนาโรงงานผลิตน้ำดื่มชุมชน
  • พัฒนาศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุดชุมชน
  • พัฒนาสถาบันการเงินชุมชน
  • พัฒนาสหกรณ์ออมทรัพย์
  • พัฒนาแหล่งจัดการขยะ
  • พัฒนาโครงการปั๊มน้ำมันชุมชน
  • พัฒนาโครงการน้ำสะอาดชุมชน
  • พัฒนาระบบสื่อสารและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • จัดการแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก
  • ซื้อโซลาร์เซลล์ พัฒนาแหล่งพลังงาน
  • ซื้อเครื่องออกกำลังกาย พัฒนาพื้นที่ส่วนกลางและสนามเด็กเล่น
  • ติดตั้งไฟส่องสว่างภายในชุมชน

342615149 555237543407394 4495012236954206709 n

โครงการเกษตรชุมชน

  • จัดตั้งโรงสีข้าวในชุมชนทำนา
  • พัฒนาระบบการแปรรูปและช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
  • จัดตั้งโรงงานยางพาราอัดแท่งในชุมชนปลูกยางพารา
  • จัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพและเกษตรอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าผลผลิต
  • เป็นเงินทุนในการซื้อปศุสัตว์ เช่น วัว ให้สมาชิกกองทุน
  • พัฒนาระบบการให้น้ำอัตโนมัติ
  • ส่งเสริมการขุดสระน้ำประจำครอบครัว
  • เปิดให้กู้ยืมไปซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย หรือใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ
  • พัฒนาเทคโนโลยีเกษตรโดยใช้ระบบอัตโนมัติ
  • พัฒนาระบบโรงเรือนที่มีมาตรฐาน
  • เป็นกองทุนสนับสนุนการรวมกลุ่มเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ภายในชุมชน
  • จัดอบรมความรู้การทำการเกษตรรูปแบบใหม่
  • กิจกรรมดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ทางการเกษตร

เพื่อไทย

โครงการผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

  • กองทุนพัฒนาวิสาหกิจของฝาก ของใช้ อาหารดีชุมชน
  • พัฒนาช่องทางการขายออนไลน์
  • จัดกิจกรรมอบรมการทำการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • บำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
  • จัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชน
  • พัฒนาคุณภาพบรรจุภัณฑ์สินค้าชุมชนให้ได้มาตราฐาน เพิ่มโอกาสในการขอใบอนุญาต
  • เปิดให้สมาชิกกองทุนกู้ยืมไปเริ่มต้นกิจการ
  • พัฒนามัคคุเทศก์หมู่บ้านและมัคคุเทศก์เยาวชน
  • จัดทำ Homestay หมู่บ้าน
  • จัดทำร้านค้าของกองทุนหมู่บ้าน
  • พัฒนาระบบรถโดยสารชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว
  • พัฒนาตลาดประจำเดือนเป็นทางการขายสินค้าชุมชน 

เพื่อไทย

โครงการสวัสดิการและสาธารณประโยชน์

  • มอบเงินรับขวัญเด็กแรกเกิด
  • มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนยากจน/เรียนดี
  • มอบเงินสนับสนุนงานฌาปนกิจหมู่บ้าน
  • จัดสรรเงินสมทบกิจการกลุ่มสตรี/อสม./ชมรมผู้สูงอายุ
  • จัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานสถานที่ต่างๆ
  • เป็นกองทุนกู้ยืมเพื่อ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและจัดหายานพาหนะ
  • กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้นประจำปี
  • กิจกรรมฉีดวัคซีนประจำปี
  • จัดการฝึกอบรมทักษะอาชีพ
  • กิจกรรมทำหมันและฉีดวัคซีนสัตว์เลี้ยงประจำปี
  • เป็นกองทุนกู้ยืมสำรองใน ยามฉุกเฉิน
  • เป็นกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับคนในชุมชน
  • จัดกิจกรรมพัฒนาและต่อยอดทักษะเยาวชน เช่น ชมรมดนตรี กีฬา

 

เพื่อไทย

มีอะไรใหม่ในกองทุนหมู่บ้าน?

  • กรอบกระบวนการคัดเลือกโครงการที่ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเงินที่จัดสรรให้ชุมชนไป สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้จริง
  • การวัดผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งผลการดำเนินงานออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ AAA (ดี), AA (ปานกลาง) และ A (ไม่ดี)
  • กองทุนที่ได้ผลประเมินระดับ AAA จะได้รับเงินทุนจากรัฐบาล, สิทธิกู้ยืมต่อยอด หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยสนับสนุนโครงการที่มีคุณภาพ
  • นำ Data-driven financing เข้ามาปรับใช้ ผ่านการนำข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของประชาชน เช่น Grab, Line, AirBnB, Ricult ฯลฯ) มาวิเคราะห์และวางแผน เพื่อให้ธนาคารรัฐสามารถสร้าง Microfinance ได้อย่างตรงจุด (เช่น การผ่อนรถ การซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าที่พัก การซื้อขายปุ๋ย เป็นต้น) ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์

50 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้วนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เพราะความเป็นไปได้จากกองทุนหมู่บ้านนั้นขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและออกแบบกองทุนของประชาชนเจ้าของพื้นที่ ซึ่งเข้าใจปัญหาดีที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo