Waste Management

สส. ขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทาง สู่พื้นที่ใหม่ สร้างสังคมปลอดขยะอย่างยั่งยืน

สส. เสริมศักยภาพ เครือข่ายชุมชนและโรงเรียน ขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ ผลักดันประเทศไทยให้เป็นสังคมปลอดขยะอย่างยั่งยืน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดกิจกรรมขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทาง ระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดราชบุรี

การจัดการขยะที่ต้นทาง

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนพื้นที่เรียนรู้ชุมชน และโรงเรียนต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ ให้เกิดความยั่งยืนและครบวงจร Zero Waste Society

นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลพื้นที่เรียนรู้ในด้านการจัดการขยะที่ต้นทาง การลด การคัดแยก และนำกลับมาใช้ใหม่ กับภาคีเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 40 พื้นที่ ร่วมผนึกกำลังในการผลักดันประเทศไทยให้เป็นสังคมปลอดขยะอย่างยั่งยืน

นายวรพล จันทร์งาม รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปี 2565 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 25.70 ล้านตัน หรือ 70,411 ตัน/วัน กระจายตัวตามภูมิภาคต่าง ๆ มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอย เฉลี่ยเท่ากับ 1.07 กิโลกรัม/คน/วัน

3 11
วรพล จันทร์งาม

ทั้งนี้ ขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (24.98 ล้านตัน) เนื่องจากในปี 2563 -2564 ประเทศไทยอยู่ในช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งมีการจำกัดกิจกรรมของประชาชน รวมถึงการเดินทางทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ได้คลี่คลายลงจากจำนวนของผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มลดลง ทำให้รัฐบาลได้มีประกาศมาตรการคลายล็อกดาวน์ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศและเริ่มเปิดประเทศ ส่งผลให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติมากขึ้น

1 0 2

ขณะที่วิถีการดำเนินชีวิตประชาชนบางส่วน ยังคงพฤติกรรมการซื้อ และบริโภคในบริการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ขยะมูลฝอยประเภทบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use plastic) ยังคงมีปริมาณสูง

อีกทั้งนักท่องเที่ยวเริ่มทยอยกลับมาเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2564 จำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 4 แสนคน เป็น 11 ล้านคน ในปี 2565 ทำให้ภาพรวมปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น

4 10

จะเห็นได้ว่า ปัญหาขยะมูลฝอยนั้นถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่ต้องแก้ไขอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน และหน่วยงานภาคีเครือข่าย

​กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงได้นำแนวคิด Zero Waste การจัดการขยะเหลือศูนย์ โดยใช้หลัก 3Rs มาเผยแพร่ให้แก่ชุมชนและโรงเรียน ผ่านโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero waste) และ โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

6 8

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายผลแหล่งเรียนรู้สู่พื้นที่ใหม่ และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินโครงการด้านการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนและสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

ขณะเดียวกัน ยังรวมถึงโครงการเครือข่ายต้นแบบจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ประจำปี 2566 จำนวน 40 แห่ง เพื่อเปลี่ยนมุมมองของขยะ ให้กลายเป็นสิ่งของที่มีคุณค่า โดยการลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

ผู้นำชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครูแกนนำ ประจำพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทาง ทั้ง 40 แห่ง ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นกำลังสำคัญในการต่อยอดความรู้และขยายผลความสำเร็จด้านการจัดการขยะมูลฝอยในระดับพื้นที่อย่างเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่

5 8

ในครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทาง มีบุคลากรประจำเครือข่ายการจัดการขยะชุมชนและโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน จำนวน 22 แห่ง คณะครู จำนวน 18 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ จะได้รับการฝึกปฏิบัติพัฒนาศักยภาพบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ Zero Waste มุ่งสู่พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมปฏิบัติการ (workshop) ระดมความคิดเห็น รวมไปถึงการศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ระบบนิเวศป่าชายเลน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับคาร์บอนฯ ณ วนอุทยานปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้าย (สังฆประชาอุทิศ) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ชุมชนบ้านรางพลับ เทศบาลตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

7 5

การที่องค์ความรู้ เทคนิค นวัตกรรมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนาก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา การเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้พัฒนาความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่จริง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างเครือข่าย จึงเป็นกิจกรรมที่ควรดำเนินการอยู่เสมอ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนางานพื้นที่แหล่งเรียนรู้ให้ก้าวหน้า สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรประจำแหล่งเรียนรู้ชุมชน และโรงเรียนปลอดขยะในด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม ทักษะการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ และการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอดจนเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์บทเรียนความสำเร็จจากเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ พัฒนาสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ ที่ต้นทาง ที่เข้มแข็ง ขยายความสำเร็จสู่สังคมต่อไปได้อย่างยั่งยืน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo