Environmental Sustainability

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช กับการสร้างความยั่งยืนในชุมชน

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าและโรงแยกก๊าซธรรมชาติในอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช ที่ช่วยสร้างความมั่นคงในการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ป้อนความต้องการใช้ไฟฟ้าให้กับคนในพื้นที่ เอื้อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนในพื้นที่ และมีการตั้ง กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม

การจัดสรรเงินงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังเป็นอีกส่วนสำคัญที่เข้าไปสนับสนุนคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ให้ดีขึ้น

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม ประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า จำนวน 3 ราย ได้แก่

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม ชื่อเดิม คือ กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 แต่ต่อมาหลังจากมี พระราชการบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ทำให้กองทุนมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2554 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลขนอม ตำบลควนทอง ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประเภทกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนาดใหญ่ ประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า จำนวน 3 ราย ได้แก่

1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
2. บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด
3. บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (โรงไฟฟ้าขนอม หน่วยที่ 4)

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม

กองทุนฯ นี้ ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) จำนวน 23 คน ประกอบด้วย ผู้แทนภาคประชาชน 16 คน ผู้แทนจากภาครัฐ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ประกอบด้วย

1. ผู้แทนที่มาจากตำบลขนอม 6 คน

2. ผู้แทนที่มาจากตำบลควนทอง 4 คน

3. ผู้แทนที่มาจากตำบลท้องเนียน 6 คน

4. ผู้แทนกระทรวงพลังงาน 2 คน

5. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 1 คน

6. ผู้แทนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชแต่งตั้ง 2 คน

7. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม

ในแต่ละปีจะมีเงินกองทุนฯ ในส่วนที่จัดสรรให้ใช้ในกิจการของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 ไม่เกิน 15% เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการประจำปี สำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ
ส่วนที่ 2 ไม่น้อยกว่า 85% เป็นเงินอุดหนุนการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า

โดยจะเปิดโอกาสให้ชุมชน ยื่นเสนอโครงการชุมชนเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในพื้นที่ประกาศตามระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้าอีกทั้งกำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) กันเงินไว้ไม่เกิน 5% เพื่อดำเนินการในกิจการ ดังนี้

1. สำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายในเบื้องต้นจากผลกระทบที่มีสาเหตุจากโรงไฟฟ้าตามที่ สำนักงาน กกพ. เห็นสมควร

2. อุดหนุนให้กับการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่ได้รับการจัดสรรเงินจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ทั้งนี้จำนวนเงินที่จะสนับสนุนให้กับแต่ละท้องถิ่นให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามที่ สำนักงาน กกพ. กำหนด

3. เพื่อการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555 จนถึง พ.ศ. 2564 กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม ได้เข้าไปส่งเสริมโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 1,074 โครงการ ใช้งบประมาณไปแล้ว 439.29 ล้านบาท สามารถสร้างการพัฒนาให้กับ ชาวขนอมได้หลากหลายมิติ ทั้ง การพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาด้านสุขภาพ การส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม และการส่งเสริมกลุ่มอาชีพกสิกรรม ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรยุคใหม่

รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าของผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า และนำส่งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้ส่งผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) พิจารณาให้ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ได้นำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางคณะกรรมการจากชุมชนเข้ามาร่วมบริหารงบประมาณให้เกิดกับชุมชนมากที่สุด

การส่งเสริมเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแต่ละปีของผู้ประกอบการกิจการพลังงานในพื้นที่ ที่สามารถนำไปสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในหลายโครงการ ซึ่งชี้ให้เห็นความสำเร็จของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าควบคู่กับการดูแลสังคม และเป็นขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่นยืน

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight