Environmental Sustainability

สคทช.เผยจัดที่ดินทำกิน 9 ปี ให้ประชาชนแล้วกว่า 500,000 ราย

สคทช. เผยผลการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ประชาชนในระยะเวลา 9 ปี สามารถจัดสรรที่ดินทำกินให้ประชาชนมีที่ดินทำกินแล้วกว่า 500,000 ราย มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตอยู่กิน ยั่งยืน

นายณัฐวุฒิ เปลื้องทุกข์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ได้ให้สัมภาษณ์ โดยลำดับแรกได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตั้งแต่ปี พ.. 2558 ที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ คทช. ที่เกิดขึ้นตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.. 2557 เพื่อเป็นการลดความเลื่อมล้ำการถือครองที่ดินของประชาชน โดยนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชน รวมถึงการแก้ไขปัญหาของประชาชนที่อาศัยและทำกินในที่ดินของรัฐ หรือที่เราเรียกว่าการแก้ไขปัญหากรณีป่ารุกคน คนรุกป่า โดยการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ในระยะแรกพื้นที่เป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลน และที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งหลักการจัดที่ดินจะมีอยู่ 2 รูปแบบ

ทำกิน

ประกอบด้วย การจัดระเบียบ จะเป็นลักษณะของการแก้ไขปัญหาที่คนอาศัยและทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐอยู่แล้วโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายของแต่ละประเภทที่ดิน สคทช. จะเข้าไปกำหนดนโยบายการจัดระเบียบให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยและทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อีกรูปแบบจะเป็นลักษณะของการจัดระบบ โดยนำที่ดินของรัฐแปลงว่างที่มีความเหมาะสมมาและจัดประชาชนที่ไร้ที่ดินทำกิน ที่ขึ้นบัญชีหรือทะเบียนขอรับการจัดสรรที่ดินไว้ ให้เข้าไปอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินของรัฐบริเวณนั้น ที่ผ่านมา พบว่าการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดินในลักษณะของการจัดระเบียบ โดยพื้นที่เป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 4 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 90 ของพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด

DSC 2672

ทั้งนี้ ในปี พ.. 2562 คทช. ได้มีการยกระดับการทำงาน โดยการออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.. 2562 และมาตรา 10 (4) ได้ให้อำนาจหน้าที่ คทช. ในการกำหนดมาตรการหรือแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ซึ่งรวมถึงรูปแบบการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ หรือรูปแบบในลักษณะอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คทช. กำหนด

โดยปัจจุบันผลการดำเนินงาน ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 9 ประเภทตามที่ดินของรัฐ แต่มีอยู่ 3 ประเภทที่ดิน ที่ยังไม่สามารถดำเนินการอนุญาตตามกฎหมายและรับรองสิทธิการถือครองที่ดินของประชาชนได้ ประกอบด้วย

1. พื้นที่ป่าไม้ถาวร ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในการนำพื้นที่ป่าไม้ถาวรมาดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว

2. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่จัดในรูปของนิคมสหกรณ์ (13 นิคม 14 ป่า)

3. ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484 ซึ่งอยู่ในระหว่างการเสนอคณะอนุกรรมการจัดที่ดินพิจารณากระบวนการและหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน ได้แก่ คุณสมบัติผู้ที่จะได้รับการจัดที่ดิน ข้อกำหนดการใช้ที่ดินของรัฐ และกรอบแนวทาง ขอบเขตในการจัดที่ดิน แต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น ป่าสงวนแห่งชาติที่เป็นการแก้ไขปัญหาประชาชนอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่อยู่ แต่เดิมแล้ว ก็จะกำหนดให้จัดที่ดินได้เท่าที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่จริงแต่ไม่เกิน 20 ไร่ เพราะฉะนั้นถ้าถือครองเพียง 5 ไร่ ก็จะได้รับการจัดที่ดินจำนวน 5 ไร่ สำหรับการถือครองเกินกว่า 20 ไร่ ก็จะจัดให้กับทายาท ที่ถูกต้องตามกฎหมายตามที่กำหนดต่อไป ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินจะต้องเป็นผู้ใช้ประโยชน์นั้นด้วยตนเอง

messageImage 1696919569799

ความคืบหน้าการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.. 2558 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 1,582 พื้นที่ 71 จังหวัด เนื้อที่ประมาณ 5,888,734 – 3 – 80.31 ไร่ (ไร่งานตารางวา.) คาดว่าราษฎรที่จะได้รับการจัดที่ดิน มีประมาณ 500,000 ราย

ทั้งนี้ ภายหลังการอนุญาตและจัดประชาชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้ว สคทช. จะร่วมกับคณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 293 พื้นที่ 65 จังหวัด ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 6 ด้านประกอบด้วย

  1. ด้านการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นฐานข้อมูล Zoning
  2. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน
  3. ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดทำเมนูอาชีพเชิงบูรณาการ
  4. ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม
  5. ด้านการสนับสนุนเข้าถึงแหล่งทุน
  6. ด้านการส่งเสริมและจัดทำบัญชีครัวเรือน

1346549

สุดท้ายนี้ ขอฝากข้อเสนอแนะให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการอนุญาต ปัจจุบัน คทช. ได้มีนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินโดยการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ที่มีพื้นที่เป้าหมาย ในที่ดินของรัฐทุกประเภท และเร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับการรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ จะมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในระหว่างดำเนินการที่อาจจะล่าช้าไปบ้าง เมื่อเทียบกับพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด จำนวนกว่า 5.8 ล้านไร่ โดยออกหนังสืออนุญาตไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ และก็จัดคนลงได้ประมาณเกือบ 100,000 คน

และข้อกังวลในประเด็นการซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดินภายหลังจากการอนุญาตไปแล้วโดยปกติได้กำหนดไว้ในสมุดประจำตัวผู้ที่ได้รับการคัดเลือกอยู่แล้วว่าหลังจากที่ประชาชนได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินไปแล้ว จะต้องทำประโยชน์ด้วยตนเอง ห้ามซื้อขายหรือปล่อยเช่า ห้ามผู้ใดทำแทน รวมถึงการนำไปขายในภายหลัง

1346538

ในประเด็นนี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ กล่าวว่าในการดำเนินงานของ สคทช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะกำหนดให้มีการตรวจสอบติดตามการใช้ประโยชน์ภายหลังจากประชาชนได้รับการจัดที่ดินไปแล้ว รวมถึงการกำหนดบทลงโทษให้กับผู้กระทำผิดเงื่อนไข และสุดท้ายนี้ นอกเหนือจากการทำการเกษตรในพื้นที่แล้ว การปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็เป็นทางเลือกที่ต้องปรับสภาพให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนด เช่น การทำโฮมสเตย์ หรือกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนี่องกับการเกษตร เป็นต้น

หมายเหตุ พื้นที่เป้าหมาย ข้อ 7 อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการนำพื้นที่ป่าไม้ถาวรมาจัดที่ดินทำกิน ส่วนพื้นที่เป้าหมายข้อ 8 – 9 อยู่ระหว่างเสนอต่อคณะอนุกรรมการจัดที่ดินพิจารณากระบวนการจัดที่ดิน หากเกิดความเห็นชอบแล้วก็จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo