Environmental Sustainability

‘สผ.-ภาคีเครือข่าย’ จัด ‘กิจกรรมวิทยาศาสตร์พลเมือง’ นำร่องที่ ‘บางปู’ หนุนความหลากหลายทางชีวภาพ

สผ. และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเพื่อสังคม และส่งเสริมคุณค่าความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เปิดตัวคลังข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพนำร่องพื้นที่บางปู

วันนี้ (16 ส.ค.) ​ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวว่า “กิจกรรมวิทยาศาสตร์พลเมือง” (Citizen Science) เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม และส่งเสริมคุณค่าความสำคัญ ของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่ง สผ.จัดขึ้นในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าชายเลนที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเป็นแหล่งอาศัย และหากินของนก ทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพที่มีมากกว่า 200 ชนิดในฤดูอพยพ

สผ.

ดังนั้น การส่งเสริมให้ประชาชน เยาวชน ได้มีโอกาสศึกษา เรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในรูปแบบ “อาสาสมัคร” หรือ “โดยความสมัครใจ” จะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และสร้างความตระหนัก ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

​การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก กลุ่มเยาวชนของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

สผ.

และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ดิทโต้ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท แวลูร่า เอนเนอยี่ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) และกองสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพลเมืองในครั้งนี้ ได้มีโอกาสเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ ผ่านฐานกิจกรรมต่าง ๆ และได้ทดลองใช้งานเวอร์ชั่นต้นแบบ ของแอปพลิเคชัน “TH-BIF Journey” ไปพร้อม ๆ กัน

สผ.

TH-BIF Journey เป็นแอปพลิเคชัน ที่ ​สผ. พัฒนาขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในระดับพื้นที่ โดยดึงภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เป็นการต่อยอดมาจากที่ สผ. ได้พัฒนาระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย “Thailand Biodiversity Information Facility” หรือ TH-BIF มาตั้งแต่ปี 2560

เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย ระหว่างหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน และศึกษาวิจัย ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันได้

สผ.

การพัฒนาดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะในมุมของงานด้านข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพนั้น การจัดเก็บ หรือรวบรวมข้อมูล ยังอยู่แบบกระจัดกระจายตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน หรือองค์กร ซึ่งข้อมูลที่มีปริมาณมากเหล่านี้ หากจัดการอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้เกิดความสะดวกต่อการเข้าถึง หรือง่ายต่อการใช้งาน

นอกจากนี้ ยังต้องมองหาช่องทางการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จะช่วยให้ข้อมูลมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ​โดยสามารถนำวิทยาศาสตร์พลเมืองมาใช้ในงานด้านการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเติมเต็มช่องว่างของข้อมูล และช่วยให้เข้าใจธรรมชาติได้มากขึ้น

สผ.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo