Environmental Sustainability

ซีพีเอฟ จับมือ TSFR ยกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลไทย สู่ความยั่งยืน

ซีพีเอฟ ร่วมกับ TSFR เดินหน้ายกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลไทยสู่ความยั่งยืน มุ่งอนุรักษ์ ปกป้องระบบนิเวศ และทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับคณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย (Thai Sustainable Fisheries Roundtable : TSFR) ดำเนินการเชิงรุกอนุรักษ์และปกป้องระบบนิเวศและทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยตามแผนปฏิบัติการจัดการประมง (Fishery Action Plan: FAP)

อาหารทะเลไทย

ทั้งนี้ เป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIP) เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ ในการมีส่วนร่วมยกระดับมาตรฐานห่วงโซ่การผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้รับการยอมรับในระดับสากล

ซีพีเอฟ เป็นตัวแทนคณะทำงานการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย (TSFR) ร่วมนำเสนอความคืบหน้ากิจกรรมตามแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย (Fishery Action Plan: FAP) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกของโลก ที่ดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่แหล่งการประมง ที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ (Multispecies Fishery) ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำให้เกิดความรับผิดชอบ เพื่อนำไปสู่การรับรองมาตรฐานจาก MarinTrust องค์กรมาตรฐานสากลด้านวัตถุดิบอาหารทะเลระดับโลก

GAP 8534

สำหรับครั้งนี้ มีนายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานในที่ประชุม ร่วมกับนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ตัวแทนจากคณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย และมีเชี่ยวชาญจาก MarinTrust รวมทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมง เข้าร่วมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานกิจกรรมฯ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ข้อมูลและผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลไทยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั่วโลก

GAP 8643

การดำเนินงานในปีนี้ ซีพีเอฟ ภายใต้คณะทำงาน TSFR มุ่งเน้นนำกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการฯ ที่ได้รับการรับรองจาก MarinTrust มาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยการนำรวบรวมข้อมูลการจับทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลในอ่าวไทย มาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง การประเมินความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เช่น แนวปะการัง หญ้าทะเล ป่าโกงกาง ที่เกิดจากการทำประมงอวนลาก การอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ สัตว์ที่ถูกคุกคาม และได้รับการคุ้มครอง

GAP 8641

ผลการดำเนินงานความคืบหน้า ในกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย (Fishery Action Plan: FAP) นี้จะช่วยให้ MarinTrust นำข้อมูลไปพัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐานการรับรองวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำจากพื้นที่ที่มีสัตว์น้ำแบบหลากหลายสายพันธุ์ และเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ ต่อไป

ซีพีเอฟ ภายใต้คณะทำงาน TSFR จากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIP) ตั้งแต่ปี 2560 โดยการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการทำประมงในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยตามมาตรฐานสากล

GAP 8745

ขณะเดียวกัน ยังร่วมสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และพัฒนากระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งห่วงโซ่อุปทานและได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล

ทั้งนี้ TSFR เป็นคณะทำงานที่ร่วมมือกันโดย 8 สมาคม ตลอดห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย ประกอบด้วย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย

GAP 8677

 

ความร่วมมือดังกล่าว เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIP) สำหรับการประมงอวนลากในฝั่งอ่าวไทย โดยนอกเหนือจากการพัฒนาการประมงเพื่อความรับผิดชอบ อันจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว

ในภาพใหญ่ของประเทศโครงการฯ ยังส่งเสริมการป้องกันการประมงผิดกฎหมาย, ขาดการรายงาน, และไร้การควบคุม (IUU) ที่อาจทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลของประเทศ ซึ่งปัจจุบันโครงการได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในประเทศอินเดียและเวียดนามอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo