Environmental Sustainability

สร้าง ’สะพานเชื่อมระบบนิเวศ’ แห่งแรกในไทย ให้สัตว์เดินลอดใต้สะพานได้ งบ 587 ล้าน เสร็จกลางปี 68

สร้าง “สะพานเชื่อมระบบนิเวศ” แห่งแรกในไทย ให้สัตว์เดินลอดใต้สะพานได้ จังหวัดระยอง-จันทบุรี งบ 587 ล้าน คาดแล้วเสร็จกลางปี 68 

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานบนถนนทางหลวงชนบทสาย รย.4060 อำเภอเขาชะเมาและแก่งหางแมว จังหวัดระยองและจันทบุรี “สะพานเชื่อมระบบนิเวศแห่งแรกในประเทศไทย” เพื่อความปลอดภัยในการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และเพิ่มศักยภาพในการเดินทางให้กับประชาชน รวมถึงขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างยั่งยืน

สะพานเชื่อมระบบนิเวศ

ให้สัตว์เดินลอดใต้สะพานได้ ส่งเสริมคน-สัตว์อยู่ร่วมกัน

ทช. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างสะพาน จำนวน 2 แห่ง บริเวณ ช่วง กม. ที่ 4+525 – 5+155  และ กม. ที่ 9+517.25 – 9+937.25 เพื่อเชื่อมต่อระบบนิเวศน์ระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง

จากเดิมที่มีถนนคั่นกลาง มาเป็นสะพานเพื่อให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านได้ มีการรื้อถนนเดิมบางส่วนเพื่อให้สัตว์ป่าสามารถเดินลอดใต้สะพานได้อย่างสะดวกปลอดภัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน

สะพานเชื่อมระบบนิเวศน์

งบ 587 ล้าน แล้วเสร็จกลางปี 68

โดย ทช. ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการเข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ลักษณะของสะพานทั้งสองแห่งนี้มี ความกว้างเท่ากัน คือ 11 เมตร รองรับการจราจร  2 ช่องทาง (ไป – กลับ)

สะพานเชื่อมระบบนิเวศน์

โดยสะพานแห่งที่ 1 มีความยาวรวม 630 เมตร และสะพานแห่งที่ 2 มีความยาวรวม 420 เมตร ทั้งสองสะพานมีที่จอดรถบนสะพาน มีความยาวด้านละ 30 เมตร ทั้งสองด้านของสะพาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ที่สนใจสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ป่าที่เดินผ่านหรืออาศัยอยู่ในบริเวณสะพาน เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศอีกทางหนึ่ง ใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 587.516 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2568

สะพานเชื่อมระบบนิเวศน์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo