Technology

ปรับองค์กรสู่ดิจิทัลอย่างไรในวันที่ ‘Data Scientist’ ขาดแคลน

Photo2
ดร.ศิษฏพงศ์ เศรษฐภัทร

จีเอเบิล แนะองค์กรยุคใหม่ต้องเฟ้นหา ‘Data Scientist’ เสริมทัพ ชี้เป็นบุคลากรที่จำเป็นในยุค “Big Data” เพราะจะทำให้วิเคราะห์ จัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ช่วยเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขัน แนะหากหาไม่ทัน การพัฒนาบุคคลากรที่มีอยู่เดิมก็เป็นเรื่องดี เพราะมีจุดแข็งด้านความเข้าใจธุรกิจ แต่ควรมีที่ปรึกษาด้าน Analytic DNA ในการพัฒนาบุคคลากรสู่ ‘Data Scientist’ ร่วมด้วย

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือ Data Scientist ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป เมื่อ ดร.ศิษฏพงศ์ เศรษฐภัทร Head of Big Data and Analytics กลุ่มบริษัทจีเอเบิล เปิดเผยในงาน “Thailand HR Tech Conference & Exposition 2018” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ในหัวข้อ “HR Analytic Impact and How to build Data Scientist from your existing employee” ว่า การทำ ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) องค์กร นอกจากการปรับเปลี่ยนแนวทาง วิธีคิดในการทำงานแล้ว การเฟ้นหาบุคลากรทางด้าน ‘ดิจิทัล’ เพื่อเสริมทัพขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือความท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) อย่างมากใน พ.ศ. นี้

“ที่ผ่านมาหลายองค์กรมองว่าการหาบุคลากรดิจิทัล ต้องสรรหาบุคลากรใหม่เข้ามาเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วบุคลากรดิจิทัลที่เหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะในหน้าที่สำคัญอย่างนักวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Scientist ควรเป็นผู้ที่เข้าใจธุรกิจขององค์กรอย่างถ่องแท้”

“การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ก่อให้เกิดข้อมูลการทำงานปริมาณมหาศาล การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้จำเป็นต้องใช้กระบวนการใหม่ๆ เพื่อที่จะแปลงข้อมูลดิบออกมาเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ส่งผลให้องค์กรต้องเฟ้นหาบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ โดยที่ HR สามารถเริ่มหาจากบุคลากรภายในองค์กร ด้วยการกระตุ้นคนที่มีความรู้เรื่ององค์กรเป็นอย่างดีจนเกิดความคิดในเชิงวิเคราะห์” ดร.ศิษฏพงศ์ อธิบาย

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนบุคลากรที่มีอยู่ให้มีความสามารถเชิงดิจิทัลมากขึ้น จะเกิดขึ้นได้จาก 4 ขั้นตอน เริ่มจาก

ข้อที่ 1. Foundational ด้วยการตั้งคำถามที่ถูกต้อง หรือถามคำถามที่สมเหตุสมผล เพื่อให้พนักงานสามารถให้ข้อมูลได้ตรงมากที่สุด
ข้อที่ 2. Approaching วิธีในการค้นหาคำตอบที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ อย่างการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการหาคำตอบที่เสียเวลาแทนคน
ข้อที่ 3. Aspirational หรือเริ่มทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น ลดขั้นตอน เวลาในการทำงาน และสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายมากขึ้น
ข้อที่ 4. Mature เมื่อทีมงานดังกล่าวทำได้สำเร็จ องค์กรก็เริ่มนำแนวคิดใหม่ ๆ มาช่วยในการทำงาน เพื่อทำให้องค์กรดีขึ้น

นอกจากนี้ การดึงข้อมูลที่เกิดจาก Digital Workplace มาใช้ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะดาต้าที่เกิดขึ้นจาก Digital Workplace มีปริมาณมหาศาล หากสามารถวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ได้ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งเสริมองค์กรได้เช่นกัน

Photo1

“เมื่อองค์กรเก็บข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ควรมีหน่วยงานอย่าง Big Data & Analytics หรือการจัดตั้งทีม Center of Excellence (CoE) ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ และพัฒนาธุรกิจ รวมถึงมีหน้าที่ในการกำหนด ควบคุม และทำให้มั่นใจว่าองค์กรจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้องค์กรเกิดดิจิทัลทรานฟอร์เมชันได้สมบูรณ์แบบ รวมถึงการมีทีมงาน CoE ที่แข็งแรง จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์​ และนำข้อมูลมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร”

“ส่วนตำแหน่ง ‘Data Scientist’ ที่หายากที่สุดนั้น สามารถประยุกต์ใช้จากบุคลากรที่มีได้เช่นกัน อย่างการพัฒนา ‘Data Engineers’ ด้วยการนำบุคลากรในฝ่ายไอที ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม มีความสามารถทางสถิติเพียงแต่ขาดทักษะทางด้านการสื่อสาร มาทำงานร่วมกับ ‘Data Analyst’ ที่อยู่ในฝ่ายธุรกิจ เพราะมีทักษะในการสื่อสารสูง แต่เขียนโปรแกรมไม่ได้ หรือการใช้บุคลากรจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Data & Analytic เข้าไปช่วยในการทำทรานฟอร์เมชั่น ทั้งในแง่ของการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา และการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญ ก็เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับบางองค์กรเช่นกัน” ดร.ศิษฏพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

Avatar photo