Digital Economy

13 ธุรกิจไทยร่วมโชว์เทคโนโลยีใน ‘ConnecTechAsia’

ConnecTechAsia

ซอฟต์แวร์ปาร์คประกาศดึง 13 ธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัปไทยด้าน IoT, เวอร์ชวล เรียลิตี้ (VR), อีคอมเมิร์ซ (eCommerce) ฯลฯ ร่วมโชว์เทคโนโลยีในงานมหกรรมคอนเนคเทคเอเชีย (ConnecTechAsia) ประจำปี 2561 ที่สิงคโปร์

โดยจุดเด่นของผู้ประกอบการไทยที่จะไปร่วมออกบูธในงาน ConnecTechAsia ปีนี้คือความหลากหลายด้านเทคโนโลยีที่จะนำไปจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) เทคโนโลยี Internet of Things (IoT), คลาวด์ (Cloud), บริการด้านอีคอมเมิร์ซ, ธุรกิจการผลิตคอนเทนต์ดิจิทัล ฯลฯ ที่ถูกนำมาปรับใช้กับหลายอุตสาหกรรม

รายชื่อของบริษัททั้ง 13 แห่ง ประกอบด้วย Aerial Communications, Apptividia, Avalant Global, CloudCommerce, myHR Corporation, Eight root, Mobic Company, Planet Communication Asia, Platformless, Professional Service Provider, Pro-toys, Socket9 และ Sun Systems Corporation

สัดส่วนของผู้ประกอบการไทยที่เดินทางไปร่วมงาน ConnecTechAsia ในปีนี้ประกอบด้วย

ConnecTechAsia

ขณะที่ความสำเร็จจากปีก่อนหน้าของซอฟต์แวร์ปาร์คในการนำทีมธุรกิจไทยด้านซอฟต์แวร์ไปร่วมงานดังกล่าวคือสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ประมาณ 31 ล้านบาท โดยมีบริษัทที่ร่วมเดินทางไปทั้งสิ้น 12 บริษัท และปีที่มีมูลค่าทางธุรกิจสูงที่สุดคือปี 2556 มีบริษัทไปร่วมออกบูธทั้งสิ้น 16 ราย และสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากถึง 80 ล้านบาท

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยแห่งชาติ (สวทช.) เผยว่า เกณฑ์การคัดเลือกผู้ประกอบการไทยที่จะไปร่วมแสดงผลงานในงานคอนเนคเทคเอเชียในปีนี้จะดูจากความพร้อมของบริษัทเป็นหลัก เช่น แพลตฟอร์มพร้อมหรือไม่ ผู้บริหารสามารถสื่อสารได้หรือไม่ ฯลฯ โดยมองว่า เป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการไทยจะได้พบกับโอกาสใหม่ ๆ เนื่องจากงานมหกรรมครั้งนี้มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมมากถึง 52 ประเทศ และคิดเป็นบูธภายในงาน 1,700 แห่ง กับอีก 41 พาวิลเลียน

ส่วนการตั้งเป้าความสำเร็จในปีนี้ นายเฉลิมพลไม่ระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่หากเป็นไปได้ อยากให้มีมูลค่าในการเจรจาสูงกว่าในปี 2560 ที่ 31 ล้านบาท

20180524 1059540
นายวิคเตอร์ หว่อง

ด้านนายวิคเตอร์ หว่อง ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท ยูบีเอ็ม จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน ConnecTechAsia ให้ความเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประเทศไทยว่า เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากรัฐบาลและผู้ประกอบการของไทยในงาน ConnecTechAsia ขณะที่ดิจิทัลโรดแมพ และวิสัยทัศน์ 4.0 ของประเทศไทย มีความสอดคล้องกับทิศทางของงานนี้ที่ต้องการเป็นเวทีผนึกกำลังทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลภายใต้ระบบนิเวศของภาคเทเลคอม มีเดีย และเทคโนโลยี เพื่อผลักดันการพัฒนาดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นอย่างเป็นรูปธรรมในภูมิภาคเอเชีย

 

กกกกก
มูลค่าของ Business Matching ของผู้ประกอบการไทยในงาน CommnicAsia ระหว่างปี 2555 – 2560

อีกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือรูปแบบการจัดงาน โดยก่อนหน้านี้ งาน ConnecTechAsia เป็นที่รู้จักมายาวนานในชื่อคอมมิวนิคเอเชีย (CommunicAsia) แต่เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่่ผ่านมานี้ มีเทคโนโลยีเกิดใหม่มากมาย ทำให้ทางคณะผู้จัดการตัดสินใจแบ่งงานออกเป็นสามส่วน ได้แก่

  • งานคอมมิวนิคเอเชีย (CommunicAsia) ที่จะนำเสนอความก้าวหน้าเกี่ยวกับเครือข่ายสื่อสาร เช่น 5G, SDN, การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม
  • งานบรอดคาสท์เอเชีย (BroadcastAsia) สำหรับนำเสนอนวัตกรรมด้านการกระจายสัญญาณทั้งภาพและเสียง เช่น ทีวีในอนาคต, เทคโนโลย 4K, UHD
  • งานเน็กซ์เอเชีย (NxtAsia) สำหรับนำเสนอนวัตกรรมล่าสุด เช่น ปัญญาประดิษฐ์, บิ๊กดาต้า, คลาวด์, บล็อกเชน, สตาร์ทอัป, สมาร์ทซิตี้ เป็นต้น

ส่วนสถานที่จัดงานก็แยกออกเป็นสองแห่งคือ มารีนาเบย์แซนด์ และซันเทคซิตี้

นอกจากนั้นยังมีทีมบริหารจากไทยคม, เซ็นทรัลกรุ๊ป, ทรูมันนี่ และสมาคมฟินเทคประเทศไทย ไปร่วมเป็นผู้บรรยายในงานดังกล่าวด้วย

Mr. Victor and Khun Chalermpol 1
นายวิคเตอร์ หว่อง และนายเฉลิมพล ตู้จินดา

สำหรับปีที่ผ่านมา นายเฉลิมพลเผยว่า ธุรกิจหรือเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและต่างชาติให้ความสนใจนั้น หลัก ๆ เป็นเทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสาร, เทคโนโลยีด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีด้านจอดิจิทัลไซน์เนจ (Digital Signage) โดยทางซอฟต์แวร์ปาร์คได้มีการเชิญผู้ประกอบการไทยไปร่วมออกบูธในต่างประเทศเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 4 ประเทศเป็นอย่างน้อย ได้แก่ สิงคโปร์, จีน เมียนมาร์ และสหรัฐอเมริกา (เป็นทริปพาผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่าง ๆ ไปซิลิคอนวัลเลย์เพื่อโอกาสในการเติบโตที่มากขึ้น)

โดยในสามประเทศที่ซอฟต์แวร์ปาร์คจัดทริปพาไปนั้น นายเฉลิมพลเผยว่า งาน CommunicAsia หรือที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ConnecTechAsia ประเทศสิงคโปร์เป็นงานที่ประสบความสำเร็จ และได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการชาติอื่น ๆ สูงสุด

 

Avatar photo