Properties

‘มิกซ์ยูส’ ส่องโอกาส-ความเสี่ยง ชี้แนวโน้ม ‘แข่งดุ’ ส่อโอเวอร์ซัพพลาย

โครงการมิกซ์ยูส เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูง เนื่องจากเป็นการเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอและยังช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาอสังหาฯ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินหรือพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทำเลที่ที่ดินมีราคาแพง

สำหรับโครงการมิกซ์ยูสในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มเปิดตัวโครงการมากขึ้นกว่าในอดีต โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ตลาดมีมูลค่าถึงราว 9 หมื่นล้านบาทซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานส่วนเกิน (oversupply) ในตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่า

munich 2516500 1280

ในส่วนของอัตราการปล่อยเช่านั้น อีไอซีคาดว่า อาจทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2566 อัตราการปล่อยเช่ามีโอกาสลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ 86-87% เทียบกับ 93% ในปี 2561 และ  92% ในปี 2562 ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาค่าเช่ามีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยในช่วงปี 2563-2566  อัตราค่าเช่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ชะลอตัวลงจาก 4% ในปี 2562 และเฉลี่ยปีละ 6% ในช่วงปี 2557-2561

ขณะที่ในอีก 3 ปีข้างหน้า ที่คาดว่าจะมีพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสในส่วนที่เป็นพื้นที่พาณิชย์ให้เช่ารวมกัน 9 แสนตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของอุปทานใหม่ในช่วงเดียวกัน โดยเป็นอุปทานจากมิกซ์ยูสถึง 4 แสนตารางเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ซึ่งมีอุปทานอสังหาฯ เดิมที่มีรูปแบบคล้ายคลึงและกระจุกตัวอยู่มาก นำไปสู่แนวโน้มการแข่งขันในตลาดอสังหาฯ ที่จะรุนแรงมากขึ้น

ซีบีดี

 

ดังนั้นการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสจำนวนมาก ไม่เพียงแต่จะต้องแข่งขันกันเองเท่านั้น แต่ยังเป็นความท้าทายสำคัญต่อโครงการที่มีรูปแบบการใช้งานเพียงแบบเดียว (single use) เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และโรงแรม ที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการ single use จึงอาจต้องปรับลดราคา/ค่าเช่าลง ชะลอการเปิดตัวโครงการ หรือปรับปรุงพื้นที่โครงการเพื่อดึงดูดผู้เช่าหรือผู้ใช้บริการเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้

ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัวอาจกดดันอุปสงค์เช่าพื้นที่ธุรกิจพาณิชย์ให้เช่า (commercial real estate) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานให้เช่าและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า รวมถึงต้นทุนที่ดินที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะที่ดินในพื้นที่ศักยภาพ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาสนใจการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส จากจุดเด่นสำคัญ 2 ประการ ได้แก่

  • ช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาอสังหาฯ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มความหลากหลายของช่องทางในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ (recurring income) เมื่อเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือธุรกิจจะช่วยบรรเทาผลกระทบไม่ให้รุนแรงมากนัก เนื่องจากมีช่องทางสร้างรายได้อื่น เช่น ในภาวะที่นักท่องเที่ยวชะลอตัวส่งผลให้รายได้จากผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกและโรงแรมลดลง โครงการมิกซ์ยูสยังคงมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเป็นแหล่งรายได้อื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของนักท่องเที่ยวอยู่ ต่างกับโครงการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว (single use) ที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่า

สัดส่วนพื้นที่

 

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินและการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากที่ดินที่อยู่ในทำเลที่ดีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ดังนั้น
    การผสมผสานแต่ละการใช้งานของอสังหาฯ ให้มีความเข้ากันได้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจมีพื้นที่บางส่วนของโครงการที่การใช้งานหลายส่วนสามารถใช้งานร่วมกันได้

อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุปทานจากโครงการมิกซ์ยูส ในช่วงปี 2563-2566 อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กดดันให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นและนำมาสู่ความเสี่ยงอุปทานส่วนเกินในธุรกิจอสังหาฯ พาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ โดยจะมีพื้นที่มิกซ์ยูสเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้น 9 แสนตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของอุปทานใหม่ของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ราว 2 ล้านตารางเมตรในช่วงปี 2563-2566

ขณะที่อีไอซีคาดว่าอุปสงค์ใหม่ต่อธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่ที่ราว 1 ล้านตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากภาวะอุปทานส่วนเกินจากการขยายตัวดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโครงการมิกซ์ยูสที่จะเข้าสู่ตลาด

อุปสงค์อุปทาน

 

ทั้งนี้จากข้อมูล 14 โครงการที่ถูกเลือกเพื่อทำการศึกษาเบื้องต้น พบว่า อุปทานใหม่จากโครงการมิกซ์ยูสส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD: Central Business District) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนราว 64% เช่น สีลม-สาธร สุขุมวิทตอนต้น (ซอย 1-41) เพชรบุรี

ส่วนพื้นที่ Non CBD คิดเป็นสัดส่วนราว 36% เช่น พื้นที่บางซื่อ บางนา-ตราด ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ นอกจากนี้ หากพิจารณาตามรูปแบบอสังหาฯ จะพบว่า จากพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสทั้งหมด (รูปที่ 2) จะมีพื้นที่ค้าปลีกเป็นสัดส่วนถึง 22% รองลงมาคือ พื้นที่สำนักงานซึ่งเป็นสัดส่วนราว 19%

ดังนั้นไม่เพียงผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงอุปทานส่วนเกินแต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ฯ พาณิชย์ให้เช่าที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสก็อาจเผชิญกับผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวด้วยเช่นกัน

พระราม4

นอกจากนี้ เพื่อก้าวข้ามแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดอสังหาฯ ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสจำเป็นที่จะต้องมี กุญแจสำคัญ คือ 1. ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ 2. พื้นที่ตั้งที่เหมาะสมและสามารถเดินทางเข้าถึงสะดวก และ 3. การส่งเสริมกัน (synergy) ของแต่ละส่วนของโครงการและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกเหนือจากปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสแล้ว ยังมีความท้าทายที่สำคัญที่ผู้พัฒนาโครงการต้องระวัง คือ 1. การบริหารพื้นที่ระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลาง 2. การสร้างแม่เหล็กเพื่อดึงดูดคนเข้ามาในโครงการ และ 3. การบริหารโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ

ค้าปลีกได้ประโยชน์

Avatar photo