Economics

กพช. เคาะตรึงค่าไฟงวด ม.ค.-เม.ย. 66 ใช้ไม่เกิน 500 หน่วยจ่ายเท่าเดิม!

กพช. เคาะแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ฝ่าวิกฤติราคาพลังงาน มกราคม-เมษายน 2566 พร้อมตรึงค่าไฟ ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน ไม่ขึ้นค่าไฟฟ้า

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน หารือลดภาระค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ (ม.ค.-เม.ย.66 ) ที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะขยับขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 5.37 บาทต่อหน่วยจากอัตราเฉลี่ยงดปัจจุบันที่ 4.72 บาท/หน่วย

ตรึงค่าไฟ

ทั้งนี้ กพช. ให้นโยบายช่วยเหลือประชนชนกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้าจะไม่ขึ้นราคา ใช้เกณฑ์การใช้เหลือเช่นเดียวกับงวดปัจจุบัน คือ หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 บาทต่อหน่วย ส่วนกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้า 301-500 หน่วยต่อเดือนจะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้า 15-45% โดยงวดปัจจุบันใช้งบประมาณกลางของรัฐเข้าดูแล 7,000 ล้านบาท แต่งวดใหม่การดูแลจะมีการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติเพื่อลดภาระให้มากที่สุดรวม

โดยให้ บมจ.ปตท. เข้ามาร่วมรับภาระรวม 6 พันล้านบาท และอาจใช้งบกลางฯ บางส่วน ซึ่งจำเป็นต้องช่วยเหลือประชาชนระยะสั้นไปก่อน เพราะต้นทุนที่ขึ้นหลัก ๆ ได้รับผลกระทบต้นทุนเชื้อเพลิงแพงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง สหพันธรัฐรัสเซียและประเทศยูเครนที่ยังไม่มีข้อยุติส่งผลให้ราคาพลังงานโลกมีความผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง

ตรึงค่าไฟ

ขณะที่ต้นปีหน้าก๊าซจากเมียนมาร์ก็จะลดกำลังผลิตเพรามีการซ่อมแซมอุปกรณ์ ทางไทยก็มีความสุ่มเสี่ยงต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมากขึ้น จึงต้องบริหารจัดการทุกด้านทั้งด้านก๊าซ หรือนำเชื้อเพลิงอื่นทดทนก๊าซ

“การตรึงค่าไฟฟ้าไม่ใช่ของขวัญปีใหม่ แต่ต้องประคับประคองไปให้ได้ เพราะผันผวนมากจากปัญหารัสเซีย-ยูเครน ราคาทั้งแอลเอ็นจี และแอลพีจีผันผวนมาก แอลพีจีก็กระโดดไปกว่า 600 ดอลลาร์/ตัน ก็ต้องดูแล ทำทุกทาง แต่ก็คาดว่า แอลเอ็นจีจะไม่ถึง 50 ดอลลาร์/ล้านบีทียู จึงไม่ต้องใช้มาตรการบังคับประหยัดพลังงานแต่ก็ต้องขอความร่วมมือประหยัดพลังงานต่อเนื่อง ส่วนเอ็นจีวีเมื่อครบกำหนดตรึงราคา 15 ธ.ค. จะตรึงต่อหรือไม่ก็ยังมีเวลาพิจารณา” รมว.พลังงาน กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo