Economics

ภารกิจปรับตัวสู่ระบบไฟฟ้าแห่งอนาคต

DSC 6029
ภาพจากwww.egat.co.th

นวัตกรรมพลังงานหนี disrupt (ตอน 1)

หลายคนคงพอเดาออกแล้วว่า โลกที่เดินไปเร็วขึ้น จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านดิจิทัล ทำให้อะไรๆทีว่ายากก็ดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างในอดีตใครจะคาดเดาได้ว่าคนธรรมดาจะผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านได้

แต่วันนี้เป็นจริงแล้ว ไม่เฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ครัวเรือนก็ผลิตไฟฟ้าใช้เองมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากต้นทุนลดลงฮวบฮาบการผลิตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแถมยังส่งขายเข้าระบบด้วย

disruptive technology หรือ เทคโนโลยีที่สร้างตลาดและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง (disrupt) ต่อตลาดของผลิตภัณฑ์เดิมที่อาจทำให้ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆ ล้มหายตายจากไป อาทิ ฟิล์มโกดักที่ถูกแทนที่ด้วยกล้องดิจิทัล และกล้องดิจิทัลก็กำลังถูกแทนที่ด้วยกล้องจากสมาร์ทโฟนที่มีประสิทธิภาพเหนือชั้น นี่เป็นตัวอย่างคลาสสิกทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน  รวมถึง Block Chain หรือเครือข่ายเทคโนโลยีที่สร้างความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมออนไลน์โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ที่กำลังถูก Create นำมาใช้ในแวดวงต่างๆ

เทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้จะทำให้ภาพของโรงไฟฟ้าในอนาคตต้องเปลี่ยนรูปไปแน่นอนและเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเสียด้วย วงการพลังงานจึงต้องเร่งปรับตัวยกใหญ่ รวมถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะเรคกูเลเตอร์หากตามไม่ทัน คงไปกำกับใครไม่ได้

ในวันที่กกพ.ชุดนี้ทั้ง 6 ต้องเผชิญกับมรสุมแรงกดดันจากผู้มีอำนาจให้เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการได้ระบุถึงภารกิจใหญ่ที่กำลังทำ 5 เรื่อง ซึ่งไม่ว่าโฉมหน้ากกพ.จะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ต้องทำเพื่อรองรับโลกยุคใหม่

“ภาพของโรงไฟฟ้าในอนาคตจะเปลี่ยนไปจากเดิม จากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เป็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของเอกชนขนาดเล็กลง กระจายในพื้นที่ต่างๆใกล้แหล่งเชื้อเพลิงมากขึ้น กกพ.ก็ต้องปรับตัว เพื่อสร้างความคล่องตัว ส่งเสริมการแข่งขัน และรองรับแนวทางปฏิ้รูปประเทศ”

bpk
ภาพจากwww.egat.co.th

นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) บอกว่าภารกิจ 1 ที่กำลังทำคือการขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การขออนุญาตจัดตั้งโรงไฟฟ้าจากเดิมผู้ประกอบการต้องยื่น 2 หน่วยงาน คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงานกกพ.) เป็นการยื่นขออนุญาตกับสำนักงานกกพ.ที่เดียวแทน และจะลดจำนวนใบอนุญาตให้เหลือเพียง 1 ประเภท ปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ปรับตัวสู่โลกยุคใหม่

ภารกิจ 2 เป็น การปรับบทบาทเพื่อรองรับนวัตกรรมด้านไฟฟ้า ประกอบด้วย

  • การศึกษาความเหมาะสมในการซื้อขายไฟฟ้าผ่านระบบ Block Chain และแนวทางการกำกับดูแล
  • การศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อขายพลังงานภายใต้รูปแบบ Prosumerization หรือ คนซื้อไฟฟ้าอย่างเราๆ กลายเป็นคนขาย คนขายอย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กลายเป็นคนซื้อได้ เชื่อมโยงกับกระบวนการซื้อขายไฟฟ้าผ่าน Block Chain
  • ยานพาหนะไฟฟ้า (EV) ที่มาแรงชนิดอยู่ในระยะเผาขนใกล้จะมาแทนที่ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็จะมีการศึกษารูปแบบการประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการขยายตัวอง EV ในอนาคตอันใกล้
  • การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพ่อการกำกับกิจการพลังงาน และนำ Big Data มาใช้ประโยชน์ในภาคพลังงาน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลโรงไฟฟ้า ข้อมูลปริมาณไฟฟ้าราคาภาค ข้อมูลปริมาณไฟฟ้าเชิงพื้นที่ และข้อมูลปริมาณไฟฟ้าตามจริง ( Near Real Time) ภายในเดือนธันวาคม 2561
  • การประกาศค่าไฟฟ้าใหม่ให้ครอบคลุมอัตราค่าบริการพิเศษ ค่าบริการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ค่าไฟฟ้าเกาะ และอัตราค่าบริการสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ในต้นปี 2562

Avatar photo