Economics

จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี ชิงเค้กรถไฟเร็วสูงกว่า 2 แสนล้านเชื่อม 3 สนามบิน

รวมมูลค่าโครงการ 01

หลังจากเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 เป็นวันแรกที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท) เปิดขายเอกสารประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” มูลค่าโครงการ 224,544.36   ล้านบาท ปรากฎว่าจนถึงวันที่ 6 กรกรฎาคม 2561 มีผู้สนใจซื้อซองเอกสารประมูลทำให้รฟท.ได้รับเงินจากการขายซองไปแล้ว 23 ล้านบาท ผู้สนใจซื้อซองเอกสารประมูล 23 รายประกอบด้วย

1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส

2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP)

3. บริษัท  อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)

4. บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (UNIQ)

5. บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด

6. บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด

7. บริษัท ซิโน ไฮโดต คอร์ปอเรชั่นจำกัด

8. บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

9. บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

10. บริษัทฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด

11. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

12. China Railway Construction Corporation Limited

13. บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

14. บริษัททีพีไอ โพลีน  จำกัด (มหาชน)

15. Chaina Railway Group limited

16  China Communications Construction Company Limited

17. China Resources (Holdings) Company Limited

18. CITIC Group Corporation

19. Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.

20. บริษัทเทอดดำริ จำกัด

21. Salini Impregio S.p.A.

22. บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด

23. Transdev Group

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ที่มีผู้สนใจที่เข้ามาซื้อซองเสนอราคาประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่วันที่ 9 กรกฎาคมนี้ ถือเป็นวันสุดท้ายที่ผู้สนใจยังสามารถซื้อซองประมูลได้อีก 1 วัน

โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบ

 

เน้นจับกลุ่มพันธมิตรชิงเค้กกว่า 2แสนล้าน

แหล่งข่าวจากกลุ่มที่เข้าซื้อซองประมูล กล่าวว่าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงท้ายที่สุดแล้ว การเสนอราคาคงต้องจับกลุ่มเสนอเข้าไป คงจะไม่มีเอกชนรายไหนสามารถเสนอเข้าร่วมประมูลได้เพียงลำพัง เพราะโครงการขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนกว่า 2 แสนบ้านบาท  สาเหตุที่แต่ละรายต้องเข้าไปซื้อซองประมูล เพราะต้องการศึกษาข้อมูลรายละเอียดแต่ละเรื่องให้เกิดความชัดเจน

” โครงการกว่า 2 แสนล้านบาท หากต้องใช้เงินไม่กี่ล้านบาทซื้อซองราคาซองละ 1,000,000 บาท ถือว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับมูลค่าโครงการ  แต่ที่สำคัญอยู่ที่ผู้ลงทุน ส่วนพันธมิตรที่รวมกลุ่มกันสามารถแบ่งงานกันได้ ใครจะเป็นผู้ลงทุนหลัก ใครจะพัฒนาที่ดิน ใครจะรับงานก่อสร้าง และเดินรถ ”

เปิดคุณสมบัติพันธมิตรจับกลุ่มประมูล

อย่างไรก็ตาม การที่แต่ละกลุ่มจะจับมือร่วมกันได้ มีข้อกำหนดว่าพันธมิตรจะต้องมีผลงานด้านก่อสร้าง ผลงานออกแบบรถไฟความเร็วสูง ผลงานเดินรถความเร็วสูง มีผลงานการพัฒนาที่ดิน ดังนั้นแต่ละกลุ่มพันธมิตรจะต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวเป็นตัวกำหนด

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าเอกชนที่สนใจเข้ามาซื้อซองประมูลรอบนี้ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน เท่ากับว่าตอนนี้จีนสนใจงานก่อสร้างในไทยเพิ่มขึ้น  สิ่งสำคัญต้องยอมรับว่าจีนมีเงินทุนมาก แต่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้เพียงรายเดียว เพราะคุณมสมบัติที่กำหนดไว้ มีเรื่องของผลงานด้านต่างๆมาเป็นข้อกำหนดอยู่

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 01

 

พัฒนาที่ดินมักกะสันทำเลทองเอกชน

แหล่งข่าว กล่าวว่าจำนวนผู้ที่มาซื้อซองประมูล เมื่อถึงวันยื่นซองจริงอาจจะไม่ได้เสนอทุกราย แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการจับกลุ่มร่วมเป็นพันธมิตรกันมากกว่า การจับกลุ่มส่วนใหญ่คงจะเน้นไปที่งานรับเหมาก่อสร้าง  ดูแลระบบการเดินรถ การพัฒนาที่ดิน ตามเงื่อนไข 2 แห่ง โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่มักกะสันของ รฟท. ประมาณ 150 ไร่  ซึ่งตามเงื่อนไขต้องพัฒนาร่วมกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“เชื่อว่าการพัฒนาพื้นที่มักกะสันประมาณ 150 ไร่ เป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดของการประมูลครั้งนี้ หากกลุ่มไหนได้ไป การพัฒนาที่มักกะสันจะสามารถสร้างมูลค่าได้มาก ดังนั้นเอกชนที่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้จะให้ความสนใจมาก” แหล่งข่าวระบุ

ประเมินมียื่นประมูลจริงไม่เกิน 5กลุ่ม

แหล่งข่าวระบุว่าตอนนี้กลุ่มผู้สนใจที่ซื้อซองประมูลโครงการดังกล่าวได้เริ่มมีการจับกลุ่มกันบ้างแล้ว เช่น บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีความชัดเจนแล้วที่จะจับมือกับกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วยบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  กลุ่มนี้มีความชัดเจน  เพราะแต่รายมีความชำนาญที่ต่างกัน ซึ่งน่าจะลงตัวที่สุดในการจับกลุ่ม แต่อาจจะมีรายอื่นเพิ่มเข้ามาอีกก็ได้ขึ้นอยู่กับการเจรจา

แหล่งข่าว กล่าวว่าในส่วนของซีพี มีความเป็นได้สูงที่จะจับมือกับบริษัทจากจีน และบริษัทอื่นๆอีก ส่วนกลุ่มของบริษัท ช.การช่าง ก็น่าจะรวมกับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด รวมถึงบริษัทอื่นๆ ขณะที่ อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเมื่อถึงเวลาเสนอราคาประมูล อาจจะมีอยู่ประมาณ 4-5 กลุ่มเท่านั้น เพราะที่ซื้อซองราคาประมูลไปสุดท้ายก็ต้องมีการรวมกลุ่มกัน

สำหรับมูลค่าการลงทุนโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ที่  224,544.36 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา วงเงิน 168,718 ล้านบาท

2. การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงิน 45,155.27 ล้านบาท

3. สิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ วงเงิน 10,671.09 ล้านบาท

 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight