Economics

‘ขีดแข่งขันไทย’ ดีขึ้น ติดอันดับ 40 โลก แนะลดทุจริต พัฒนาคน-โครงสร้างพื้นฐาน

ดัชนีดับเบิลยูอีเอฟ ชี้ไทยมีขีดแข่งขันดีขึ้น ติดอันดับ 40 ของโลก  ด้านคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ระบุ ยังต้องพัฒนาหลายด้าน ทั้งพัฒนาทักษะคน และลดช่องว่างแข่งขัน เพื่อให้ทันประเทศอื่น

04 ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร re
ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

วันนี้ (9 ต.ค.) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พันธมิตรอย่างเป็นทางการรายเดียวในไทย ของเวิลด์ อิโคโนมิค ฟอรัม (ดับเบิลยูอีเอฟ)ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญในการวัดความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก เผยแพร่รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) และการเปรียบเทียบความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกประจำปี 2562

รายงานระบุว่า ในปีนี้ไทยมีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจากปี 2561  ได้รับคะแนน 68.1 คะแนน จากเดิมที่  67.5 คะแนน  ติดอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก จากการจัดอันดับทั้งหมด 141 ประเทศ

03 จุฬาฯ แถลง WEF re

ขณะสิงคโปร์ผงาดขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในปีนี้ เบียดแชมป์เก่าอย่างสหรัฐ หล่นลงไปอยู่ในอันดับ 2  โดยมีฮ่องกงตามมาเป็นอันดับ 3  เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สวีเดน สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ในอันดับ 4-10 ตามลำดับ

ประเทศที่น่าจับตาในปีนี้ คือ เวียดนาม ซึ่งมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 3.5 คะแนน ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ จากอันดับที่ 77 เมื่อปีที่ผ่านมา ขึ้นเป็นอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้  ส่วนประเทศอื่นๆ ในอาเซียน นอกจากไทย สิงคโปร์ และเวียดนามแล้ว มาเลเซียติดอยู่ในอันดับ 27 อินโดนีเซีย อันดับ 50  บรูไน อันดับ 56 ฟิลิปปินส์ อันดับ 64  กัมพูชา อันดับ 106  และลาว อันดับ 113 โดยที่เมียนมาไม่ได้รับการจัดอันดับ

01 จุฬาฯ แถลง WEF re

ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ตัวเลขดัชนีชี้วัดดังกล่าวในปีนี้ เป็นผลสะท้อนจากการพัฒนาประเทศไทยในปีที่ผ่านมา แต่บทสรุปของดัชนีต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขว่า เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงเพียงเท่านั้น เนื่องจากความสามารถทางการแข่งขันในเวทีโลกที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากการพัฒนาประเทศตามลำพัง แต่เกิดจากความสามารถในเชิงเปรียบเทียบกับการพัฒนาของประเทศอื่นๆ อีกด้วย แม้ว่า ระดับความสามารถของประเทศเพิ่มขึ้น แต่บริบทของเศรษฐกิจโลกก้าวพัฒนาไปมากกว่า จึงต้องอาศัยกลยุทธ์การพัฒนาที่เหนือกว่าประเทศคู่แข่งขันเป็นสำคัญ

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิเคราะห์ตัวชี้วัดทั้งหมดจากผลข้อมูลจากดับเบิลยูอีเอฟ พบว่า หากมีการเร่งพัฒนาในเรื่องของการลดการทุจริต ปรับปรุงคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทักษะของคนในประเทศ และมีนโยบายที่ช่วยลดช่องว่างในการแข่งขันของตลาดภายในประเทศ  ก็จะสามารถทำให้ไทยมีอันดับการแข่งขันที่ดีขึ้นมากได้

02 จุฬาฯ แถลง WEF re

ขณะที่การพัฒนาในเรื่องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และการมีสุขภาพดีอายุที่ยืนยาวของคนในประเทศ ซึ่งเป็นดัชนีที่มีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมาก และประเทศไทยทำได้ดีอยู่แล้ว รวมทั้งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปได้ง่าย ก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้อย่างก้าวกระโดด และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้อยู่ในอันดับที่สูงขึ้นต่อไปได้

 

Avatar photo