Economics

นายกฯ ขนทัพ 20 ผู้ประกอบการไทย ลุยเอเปค ชักชวนลงทุน 3 อุตสาหกรรม ตั้งเป้า 4 ปีดึงเข้าไทย 100 บริษัท

นายกฯ ขนทัพ 20 ผู้ประกอบการไทย ลุยเอเปค ชักชวนลงทุน 3 อุตสาหกรรมในไทย ตั้งเป้า 4 ปีดึงเข้าไทย 100 บริษัท

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางเข้าร่วมการประชุมเอเปก ณ นครซานฟานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงกิจกรรมที่นายกรัฐมนตรีเยือนสหรัฐอเมริกา มี 2 ส่วน คือ นายกฯ จะพบปะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเป้าหมายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และ EV

และได้นำผู้ประกอบการไทยประมาณ 20 คน ที่ร่วมเดินทางมาด้วย ได้พบกับบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ เพื่อสร้างศักยภาพความร่วมมือในอนาคต เช่น การพบปะของบริษัท 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น tesla ต่อยอดจากที่เคยพบปะกันที่นิวยอร์ก โดยพูดคุยและติดตามผล เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

นายกฯ

อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

นายนฤตม์ กล่าวว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนรถอีวีมากกว่า 6,000 คัน เพิ่มขึ้น 7 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค ทำให้ไทยเป็นที่ดึงดูดของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศต่างๆ ต้องการเข้ามาเปิดตลาดลงทุนในประเทศไทย

นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ซึ่งมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ยังเห็นชอบมาตรการต่อเนื่องจากอีวี 3 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทย ที่ต้องการให้ไทยเป็นผู้นำของภูมิภาคในการเป็นฐานผลิตอีวีและเป็นท็อปเท็นของโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ไทยสามารถสร้างความมั่นใจ ดึงนักลงทุนให้มาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นได้

นายกฯ
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

data center และคลาวด์ เซอร์วิส

ด้าน data center และคลาวด์ เซอร์วิส จะได้พบกับบริษัทสำคัญ เช่น บริษัท AWS บริษัท Google และบริษัท ไมโครซอฟต์ โดยบริษัทแอมะซอนที่ประกาศร่วมลงทุนในไทยในต้นปีหน้า ลงทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 200,000 ล้านบาท ระยะแรกลงทุนสร้าง data center 3 แห่ง เฟสแรกประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่าบริษัทต้องการร่วมทุนรัฐบาลไทยที่สนับสนุน

ส่วนบริษัท Google และบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นบริษัทที่นายกฯ ได้พบที่นิวยอร์ก และทำงานกันต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เป็นรูปธรรม และพยายามดึงดูดให้บริษัทเหล่านี้เข้ามาตั้งฐาน data center และคลาวด์ เซอร์วิสในไทย รวมถึงมาช่วยยกระดับเรื่องดิจิทัลอินฟอร์เมชัน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล ซึ่งย้ำว่าไทยจะพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้ได้

นายกฯ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ นายเศรษฐา และผุ้ประกอบการไทย จะพบบริษัท ADI บริษัท HP ซึ่งให้ความสนใจในประเทศไทย โดยเฉพาะสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่ผ่านมาไทยเป็นการผลิตกลางน้ำ รัฐบาลจึงมีเป้าหมายยกระดับไปสู่ต้นน้ำมากขึ้น โดยไทยมีจุดแข็งที่มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมมากที่สุดในภูมิภาค และซัพพลายเชนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 2,000 ราย ที่มีทักษะสูง มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทระดับโลกมาหลาย 10 ปี

โดยบอร์ดบีโอไอตั้งเป้าภายใน 4 ปี จะดึงบริษัทชั้นนำไม่น้อยกว่า 100 บริษัท ไปตั้งในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าสูงกว่า 10,000 ตำแหน่ง

ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำที่ใช้เมืองไทยเป็นฐานมากมาย เช่น agoda ที่มีพนักงานอยู่ 3,000 คนในประเทศไทย เป็นต่างชาติ 2,000 คน และคนไทย 1,000 คน โดยมีการพัฒนาที่ประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีบริษัท บิชชิน ฮิตาชิ ก็มีฐานที่ประเทศไทย

นายกฯ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo