Economics

‘กรุงเทพโปรดิ๊วส’ จับมือ ‘สภาการส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ’ ยกระดับจัดหา ‘วัตถุดิบอาหารสัตว์’ ยั่งยืน

“กรุงเทพโปรดิ๊วส”  และ “สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐ” ทำ MoU เพื่อยกระดับการจัดหาถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในไทย และทั่วโลก ตอกย้ำความมุ่งมั่นขององค์กร ในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบหลักทางการเกษตร สำหรับผลิตอาหารสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่เป้าหมาย Net-Zero ในปี 2593 

นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)  ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันใส่ใจในคุณภาพของสินค้า และความยั่งยืนเพิ่มขึ้น

กรุงเทพโปรดิ๊วส

ความร่วมมือกับ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) เพื่อบริหารจัดการด้านความยั่งยืนของถั่วเหลือง ที่ใช้ในการผลิตอาหาร และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ภายใต้แนวทาง U.S. Soy Sustainability Assurance Protocol (SSAP) และยกระดับความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อต่อยอดเป้าหมายในการจัดหาอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตอกย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันของทั้งสององค์กร ในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ สิ่งแวดล้อม ชุมชน และห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของโลก

นอกจากนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้ จะครอบคลุมถึงการแบ่งปันความรู้และข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาวัตถุดิบอาหาร และอาหารสัตว์ยั่งยืน ตลอดจน USECC ในฐานะเป็นผู้ผลิตโปรตีนที่ยั่งยืน ยังได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ประสบการณ์และความสำเร็จในการผลิตถั่วเหลืองอย่างยั่งยืน การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า และร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ

กรุงเทพโปรดิ๊วส

จิม ซัทเทอร์ ประธานคณะผู้บริหาร USSEC กล่าวว่า บันทึกความเข้าใจนี้ เป็นการเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของสหรัฐอเมริกาและไทย ภายใต้ความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร USSEC จะแบ่งปันความรู้ และเครื่องมือเพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือซีพี การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และปศุสัตว์ของไทย เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

ทิโมธี โลห์ ผู้อำนวยการภูมิภาค USECC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย กล่าวเสริมว่า เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐ มีส่วนร่วมในภาคการเกษตร และอาหาร ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2513

นับตั้งแต่เปิดสำนักงานตัวแทนในประเทศไทยในปี 2537 USECC ให้บริการด้านการค้าและความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค การแบ่งปันความรู้เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ในประเทศนั้น ๆ การเป็นพันธมิตรกับ BKP นับเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไปสู่แนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนระดับโลก

กรุงเทพโปรดิ๊วส

ทั้งนี้ ถั่วเหลืองที่ผลิตในสหรัฐมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ต่ำกว่าแหล่งผลิตอื่น ๆ หรือโปรตีนจากพืชชนิดอื่น ทั้งยังไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยระหว่างปี 2540 ถึงปี 2560 พื้นที่ป่าไม้ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.83 ล้านเอเคอร์ หรือประมาณ 4.63 ล้านไร่

ปัจจุบัน 15% ของพื้นที่เพาะปลูกในสหรัฐได้จัดสรรไว้เพื่อการอนุรักษ์ การพัฒนาป่าไม้ และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐ ยังปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดิน เพิ่มผลผลิตจากการใช้ที่ดินเท่าเดิม ซึ่งช่วยสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน

กรุงเทพโปรดิ๊วส

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo