Economics

อัปเดตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด! ยืนยันตัวตนวันนี้ เริ่มใช้สิทธิ์วันไหน ได้สิทธิ์ย้อนหลังมั้ย

อัปเดต “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ล่าสุด! ยืนยันตัวตนวันนี้ เริ่มใช้สิทธิ์วันไหน ได้สิทธิ์ย้อนหลังหรือไม่ เช็กที่นี่!

กระทรวงการคลัง อัปเดตความคืบหน้าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รายงานความคืบหน้า ระบุว่า มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการะทั้งสิ้น 19,647,241 ราย เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของลงทะเบียนแล้ว พบว่า มีผู้ผ่านเกณฑ์ 14,596,820 ราย ไม่ผ่านเกณฑ์ 5,050,421 ราย โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้ยื่นอุทธรณ์ 1,266,682 ราย (คิดเป็น 25.08% ของผู้ไม่ผ่านเกณฑ์) และมีผู้ผ่านการตรวจสอบเพิ่มเติม (เกษตรกร) 416,153 ราย ทำให้มีผู้ผ่านเกณฑ์โครงการปี 2565 รวมทั้งสิ้น 15,012,973 ราย

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 13,444,534 ราย (คิดเป็น 92.11% ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) และยังไม่ได้ยืนยันตัวตนหรือยืนยันตัวตนไม่สำเร็จอีก 1,152,286 ราย (คิดเป็น 7.89% ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ยืนยันตัวตนหรือยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ ยังคงยืนยันตัวตนได้ และจะเริ่มใช้สิทธิในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 โดยจะได้รับสิทธิเฉพาะเดือนที่กระทรวงการคลังดำเนินการตั้งวงเงินให้ แต่ไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง

เช็กผลอุทธรณ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ทั้งนี้ มีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติรอบอุทธรณ์ จำนวน 26,696 ราย ซึ่งผู้ที่ขออุทธรณ์สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน
  2. ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา
  3. โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันจันทร์-วันศุกร์ตามเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ผ่านแล้วทำอย่างไรต่อ?

ทั้งนี้ หากตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในรอบอุทธรณ์ ขอให้ดำเนินการ ดังนี้

  1. ดำเนินการยืนยันตัวตนได้ที่ (1) ธนาคารกรุงไทยฯ (2) ธนาคารออมสิน หรือ (3) ธ.ก.ส. ได้ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย ณ ธนาคารดังกล่าวตามวันและเวลาทำการของแต่ละธนาคาร
  2. เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามเวลาทำการของแต่ละหน่วยงานได้ในวันถัดไป
  3. ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินจะให้บริการยืนยันตัวตนจนถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2566 สำหรับธนาคารกรุงไทยฯ จะให้บริการยืนยันตัวตน โดยยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการให้บริการ สำหรับการยืนยันตัวตนในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร
  4. ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้ ทั้งนี้ การผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้ล่วงหน้า จะทำให้ผู้ได้รับสิทธิสามารถรับสิทธิสวัสดิการในกรณีที่ภาครัฐมีสวัสดิการที่จะโอนเข้าบัญชีในอนาคตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
    5. ผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ดำเนินการยืนยันตัวตนภายในวันที่12 – 26 มิถุนายน 2566 และตรวจสอบพบว่า ผ่านการยืนยันตัวตน (e-KYC) จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 แต่หากผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติยืนยันตัวตนหลังวันที่ 26 มิถุนายน 2566 จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีรายละเอียดวันที่ยืนยันตัวตน วันเริ่มใช้สิทธิได้ และสิทธิที่ได้ย้อนหลังดังนี้

เริ่มใช้สิทธิ์ได้วันไหน

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

โดยผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติที่ได้รับสิทธิที่ดำเนินการยืนยันตัวตนภายในวันที่ 26 กันยายน 2566 จะได้รับวงเงินสิทธิสวัสดิการย้อนหลังตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เฉพาะวงเงินในส่วนของการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด (จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน) เท่านั้น กรณีมีวงเงินคงเหลือจะไม่มีการสะสมไปในเดือนถัดไป

ยืนยันตัวตนใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ไม่สามารถดำเนินการยืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง ได้แก่ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายืนยันตัวตนแทนได้ โดยจะต้องใช้เอกสาร ดังต่อไปนี้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ (ผู้ได้รับสิทธิ)
  2. หนังสือมอบอำนาจการยืนยันตัวตน (สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของโครงการฯ)
  3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
  4. บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
  5. ใบสำคัญการหย่าหรือ ใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย หรือทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายตาย(เฉพาะผู้ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไขที่ได้ยื่นเอกสารหนังสือประกอบการพิจารณา กรณีผู้ลงทะเบียนไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ แบบฟอร์มที่ 2)

ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดโครงการฯ ประชาชนสามารถติดตามได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK