Business

เปิดโผ 50 มหาเศรษฐีไทย 2565 ‘เจียรวนนท์’ ยึดแชมป์ ตามด้วย ‘อยู่วิทยา-สิริวัฒนภักดี’ บาทอ่อนทำความมั่งคั่งลด

ฟอร์บส์ ประเทศไทย เผย 50 มหาเศรษฐีไทยประจำปี 2565 “เจียรวนนท์” ยังรวยสุดด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 9.33 แสนล้าน ตามด้วย “อยู่วิทยา” ที่ไล่หายใจรดต้นคอ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ยึดอันดับ 3 ชี้ค่าบาทอ่อน ฉุดมูลค่าทรัพย์สินลดลง

ฟอร์บส์ ประเทศไทย เปิดเผยรายงานการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565 โดยระบุว่า มหาเศรษฐีไทย 3 อันดับแรกยังไม่มีการเปลี่ยนอันดับจากปีที่ผ่านมา

50 มหาเศรษฐีไทย

10 อันดับมหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565

อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ มูลค่าทรัพย์สิน 2.65 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 9.33 แสนล้านบาท

อันดับ 2 เฉลิม อยู่วิทยาและครอบครัว มูลค่าทรัพย์สิน 2.64 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 9.30 แสนล้านบาท

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี มูลค่าทรัพย์สิน 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 3.94 แสนล้านบาท

อันดับ 4 สารัชถ์ รัตนาวะดี มูลค่าทรัพย์สิน 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 3.87 แสนล้านบาท

อันดับ 5 ครอบครัวจิราธิวัฒน์ มูลค่าทรัพย์สิน 1.06 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 3.73 แสนล้านบาท

อันดับ 6 สมโภช อาหุนัย และครอบครัว มูลค่าทรัพย์สิน 3.9 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.37 แสนล้านบาท

อันดับ 7 ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ มูลค่าทรัพย์สิน 3.1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.09 แสนล้านบาท

อันดับ 8 วานิช ไชยวรรณ มูลค่าทรัพย์สิน 3 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.05 แสนล้านบาท

อันดับ 9 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ และครอบครัว มูลค่าทรัพย์สิน 2.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 9.86 หมื่นล้านบาท

อันดับ 10 ครอบครัวโอสถานุเคราะห์ มูลค่าทรัพย์สิน 2.7 พันล้านดอลลาร์ หรือ 9.51 หมื่นล้านบาท

ฟอร์ปส

ฟอร์บส์ ระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแกนหลักทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับการผ่อนคลายกฏระเบียบพร้อมเดินหน้าเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง

ใน 5 เดือนแรกของปี 2565 มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าประเทศเป็นจำนวน 1.3 ล้านคน คิดเป็นเพียงเศษเสี้ยวของจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวน 40 ล้านคนต่อปี ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ซบเซา ดัชนีหุ้นไทยปรับลดจากจากจุดสูงสุดลง 3% และตั้งแต่จากการอันดับมหาเศรษฐีไทยครั้งล่าสุด อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงถึง 12%

ค่าเงินบาทที่อ่อนลง ส่งให้มูลค่ารวมทรัพย์สินของมหาเศรษฐีไทยทั้ง 50 รายชื่อ ลดลงเกือบ 6% อยู่ที่ 1.51 แสนล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 5.31 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับการจัดอันดับปีที่ผ่านมา

สำหรับมหาเศรษฐีอันดับที่หนึ่งยังคงเป็น เจียรวนนท์ แห่งค่ายซีพี ที่แม้มูลค่าทรัพย์สินรวมจะลดลง 3.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้มูลค่าทรัพย์สินรวมอยู่ที่ 2.65 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 9.33 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มบริษัทในเครือซีพี คือ ดีลการควบรวม ทรู คอร์ปอเรชั่น กับ ​DTAC ที่ยังคงรอคอยการอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.

ส่วนอันดับ 2 อย่าง เฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว ยอดขายของเครื่องดื่มชูกำลังเรดบลู ที่เติบโตจากทั่วโลก ทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีก 1.9 พันล้านดอลลาร์ มูลค่าทรัพย์สินในการจัดอันดับประจำปีนี้อยู่ที่ 2.64 หมื่นล้านดอลลาร์ (9.30 แสนล้านบาท) ไล่เบียดมหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มควมมมั่งคั่งให้ สารัชถ์ รัตนาวะดี มหาเศรษฐีด้านธุรกิจพลังงาน โดยมูลค่าทรัพย์สินของเขาเพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ติดโผอันดับที่ 4 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (3.87 แสนล้านบาท)

สารัชถ์ รัตนาวะดี
สารัชถ์ รัตนาวะดี

นอกจากธุรกิจพลังงานแล้ว สารัชถ์ ยังเดินหน้าขยายความร่วมมือทางธุรกิจนำ กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ AIS และ Sintel เตรียมจัดตั้งศูนย์ข้อมูลในประเทศ

สำหรับมหาเศรษฐีหน้าใหม่ 3 รายในปีนี้ ได้แก่

  • อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของกลุ่มเจ มาร์ท ติดในรายชื่อมหาเศรษฐีไทยในอันดับที่ 37 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 835 ล้านดอลลาร์ (2.94 พันล้านบาท) เนื่องจากมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
  • สุระ คณิตทวีกุล ผู้ก่อตั้งและซีอีโอแห่ง Com7 ติดในรายชื่อมหาเศรษฐีไทยในอันดับที่ 49 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 670 ล้านดอลลาร์ (2.36 พันล้านบาท) จากมูลค่าหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นของ Com7 หนึ่งในผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จาก Apple รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
  • พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ผู้ร่วมก่อตั้งคลินิกเสริมความงามพงศ์ศักดิ์ และยังเป็นนักลงทุนสาย (Value Investor) หรือ VI ติดในอันดับที่ 50 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 655 ล้านเหรียญ (2.3 พันล้านบาท) ซึ่งหนึ่งในพอร์ตหุ้นที่เขาถือครองมีหุ้นของกลุ่ม Com7 อยู่ส่วนหนึ่ง

ขณะที่ อีกสองมหาเศรษฐีไทยที่กลับเข้าสู่อันดับได้แก่ บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ DTAC และ พิชญ์ โพธารามิก ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นนอล

ส่วนมหาเศรษฐีไทยที่หลุดจากอันดับจำนวน 6 รายหนึ่งในนั้นคือ สมหวัง และ ไวยวุฒิ สินเจริญกุล แห่งกลุ่มศรีตรังแอโกรอินดัสทรีฯ ซึ่งหนึ่งกลุ่มบริษัทของพวกเขาที่ผลิตถุงมือยางได้รับผลกระทบเนื่องอันเนื่องจากความต้องการของถุงมือยางลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทั้งนี้การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565 คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 17 มิถุนายน 2565

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก  ฟอร์บส์ ประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo