Business

ธปท. เผยอุตฯท่องเที่ยว-ค้าปลีก-ผลิต-อสังหาฯ โควิดซัด ‘อ่วม’ ถ้วนหน้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่าง ธปท. กับภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ (Business Liaison Program) และพูดคุยกับผู้ประกอบธุรกิจในสาขาต่าง ๆ  ครอบคลุมทั้งธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ทั่วประเทศ

จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลล่าสุด พบว่า 4 อุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ท่องเที่ยว, ค้าปลีก, ภาคการผลิตและภาคอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้

ศก.ไทย

สำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว เช่น สายการบิน โรงแรม หรือ สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น พบว่า ส่วนใหญ่ปรับตัวได้ค่อนข้างยาก โดยบางส่วนปรับรูปแบบการบริการให้หลากหลายมากขึ้น อาทิ โรงแรมหันมาทำอาหารขายเดลิเวอรี หรือรถขนส่งสาธารณะ เช่น แท็กซี่ หรือตุ๊กตุ๊กหันมาส่งสินค้าแทนการรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะกลับ มาได้เร็วสุดราวไตรมาส 3 ปีนี้ แต่อาจใช้เวลาอีก 1-2 ปี กว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ โดยผู้ประกอบการมีแนวโน้มเน้นการทำตลาดและเพิ่มการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจหลักเพียงอย่างเดียว

wanderer 455338 1280

ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก พบว่า มีการขยายช่องทางจำหน่ายไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์ และโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการทำคอนเทนต์ มาร์เก็ตติ้ง และการเปลี่ยนมาเน้นขายสินค้าบางประเภท ที่มีความต้องการมากขึ้น เช่น เจลล้างมือ หน้ากาก อุปกรณ์ทำความสะอาด และอาหาร ตลอดจนเพิ่มบริการจัดส่งถึงบ้าง และอัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ธุรกิจค้าปลีก จะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ประมาณไตรมาส 3 โดยจะเริ่มเห็นคนออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านและจับจ่ายมากขึ้น ขณะที่ความนิยมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ก็เพิ่มมากขึ้นกัน ขณะที่การลงทุนเพื่อเปิดสาขาใหม่ในเมืองหลักอาจลดลง

shopping 1165437 1280

ด้านอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า จากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ต้องหยุดผลิตเนื่องจากปัญหาด้านการจัดส่ง โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ที่มีปัญหามากกว่ากลุ่มอื่น นอกจากนี้ ยังพบว่ากรปรับตัวของบางรายที่หันไปผลิตสินค้าที่เป็นความต้องการในช่วงของการระบาดโควิด-19 เช่น ผู้ผลิตรถยนต์บางรายปรับไลน์การผลิต มาทำเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หันมาผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการผลิตจะทยอยกลับมาดีขึ้น เมื่อมาตรการล็อกดาวน์ ประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลาย สะท้อนจากการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กลับมาผลิต หลังจากโรงงานในจีนเริ่มเปิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยางพาราเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งคาดว่ากลับมาเป็นปกติได้อย่างเร็วในไตรมาส 4 ปีนี้ รวมถึงมีการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น การลงทุนเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมากขึ้น เป็นต้น

มุมมองผู้ประกอบการ

ปิดท้ายที่กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปีนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเน้นการระบายสต็อกโครงการเดิมที่มีอยู่มากกว่าการเปิดตัวโครงการใหม่ เพื่อรักษาสภาพคล่อง ทำให้มีการแข่งขันจัดโปรโมชั่นจูงใจผู้ซื้ออย่างหนัก และเน้นการลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการเพื่ออาศัยจริง หรือ เรียล ดีมานด์มากขึ้น

นอกจากนี้ รายงานแนวโน้มธุรกิจ ไตรมาส1/2563 ของธปท. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวในทุกกลุ่มธุรกิจ และผู้ประกอบการ 50% คาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มแย่ลงในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่แม้ว่าในไตรมาสแรกจะพบว่าภาพรวมธุรกิจจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่ผู้ประกอบการมองว่าในไตรมาส 2 จะอยู่ในภาวะหดตัวมาก ทั่วประเทศในทุกภูมิภาค

Avatar photo