เป็นวันธรรมดาของหวงอิ๋นอิง ในฐานะผู้ค้าทุเรียนที่มีหน้าที่ช่วยลูกค้าที่ไม่คุ้นเคยกับการเลือกผลไม้ ให้พวกเขาได้รับสินค้าที่ดีที่สุดกลับไป
ฤดูกาลทุเรียนครั้งที่แล้ว เธอขายทุเรียนได้มากถึงราว 1,000 กิโลกรัมต่อวัน
หวงอิ๋นอิง ผู้ค้าทุเรียนกล่าวว่า “ทุเรียนเป็นผลไม้รสหวาน ผู้คนจึงชอบเรียกมันว่า ‘ราชินีแห่งผลไม้’ พวกผู้หญิงคลั่งไคล้มันมาก การรับประทานทุเรียนทำให้พวกเธอมีรอยยิ้ม”
ย้อนดูที่มา
เราติดตามการเดินทางของทุเรียนล็อตนี้ เพื่อดูว่า ความหลงใหลในทุเรียนของชาวจีน มีส่วนช่วย กระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดอย่างไร?
เริ่มต้นที่จุดแรก ‘ท่าเรือ’
ในเดือนมีนาคมปีนี้ ท่าเรือหนานซาของกลุ่มท่าเรือกว่างโจว ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของส่วนกลางและท่าเรือตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของจีน ได้เปิด เส้นทางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ 5 เส้นทางเพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ
เส้นทางเหล่านี้ดำเนินการโดยบรรดา บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่ง เช่น เมอร์ซ (Maersk) เอเวอร์กรีน มารีน (Evergreen Marine) เอสไอทีซี (SITC) และอื่นๆ
เส้นทางค้าใหม่ทั้งห้าสายนี้คาดว่าจะถูกใช้ ขนส่งสินค้าจากท่าเรือหนานซาของกลุ่มท่าเรือกว่างโจวไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมแผนริเริ่ม ‘หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง’ เช่น ไทย เวียดนาม และ มาเลเซีย
ผลไม้สดรวมถึงทุเรียน มะพร้าว และส้มโอ ล้วนเป็นสินค้านำเข้าอันดับต้นๆ
สำหรับ ไตรมาสแรกของปีนี้ มณฑลกว่างตงมี ตัวเลขการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับสถิติของปีก่อน ขณะที่ ปริมาณการค้าต่างประเทศโดยรวมลดลงเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19
หลานลี่หนง รองผู้จัดการท่าบริการตู้สินค้า กว่างโจว เซาธ์ไชน่า โอเชียนเกต (Guangzhou South China Oceangate) กล่าวว่า “การขนส่งทางทะเลที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเรือเต็มไปด้วยสินค้า และมีลูกเรือเป็นส่วนน้อย ดูจะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคสักเท่าไหร่”
ทุเรียนนำเข้าเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากไทย ใช้เวลาการเดินทางไม่ถึง 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะถูกส่งไปยัง จุดถัดไป นั่นคือ ‘ตลาด’
ตลาดผลไม้และผักเจียงหนาน เป็นตลาดที่ ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของจีน และสามารถขับรถจากท่าเรือไปถึงในเวลาเพียง 90 นาที
กัวกุ้ยเซิง ขายทุเรียนมา 7 ปีแล้ว เขารู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน
กัวกุ้ยเซิง ผู้ขายผักและผลไม้สด ให้สัมภาษณ์ว่า “คนจีนชอบทุเรียนสายพันธุ์ ‘หมอนทอง’ ที่สุด และ ทุเรียนดังกล่าวก็เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย ซึ่งผมคาดว่ามันจะทำ ยอดขายได้ถึง 30,000 ถึง 50,000 ลูก ในฤดูกาลทุเรียนนี้ สูงกว่าสถิติเมื่อ 7 ปีที่แล้วถึง 10 เท่า ทุเรียนเป็นที่นิยมมากในภาคใต้ของจีน ขณะที่ชาวจีนในภาคเหนือก็มีความต้องการบริโภคสูงขึ้น เนื่องจากผู้คนจำนวนมากชื่นชอบรสชาติของทุเรียน ร้านอาหารและร้านเบเกอรีหลายแห่งจึงเพิ่มทุเรียนเข้าไปในเมนูอาหารและของหวานของพวกเขา ด้วยหวังจะยั่วยวนสาวกทุเรียนให้เข้ามาลิ้มลอง สำหรับประเด็นที่ว่าปีนี้จะเป็นปีทองของทุเรียนหรือไม่ ยังยากที่จะสรุป เนื่องจากเรายังไม่เห็นชัดเจนว่าโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุเรียนมากขนาดไหน และเรายังต้อง คำนึงถึงปริมาณและคุณภาพของทุเรียนในไทยเช่นเดียวกับความต้องการในจีน ซึ่งผมหวังว่ามันจะเป็นปีที่ดี”
ความต้องการบริโภคทุเรียนของจีนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2019 การส่งออกทุเรียน ไปยังประเทศจีนมี มูลค่าสูงถึง 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.37 หมื่นล้านบาท)
สถิติจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยยังชี้ให้เห็นถึงความนิยมที่พุ่งสูงเช่นกัน
โดยใน ปี 2019 ไทย มีมูลค่ารวมของ ผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง และผลไม้แห้ง ที่ส่งออกไปยังจีน สูงถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.78 หมื่นล้านบาท) โดยมีอัตราการเติบโตที่ 90.46% ต่อปี
ปัจจุบัน จีนกำลังร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 เป็นที่คาดว่า ฤดูกาลทุเรียนในปีนี้จะช่วยกระตุ้นการค้าต่างประเทศและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาด ทั้งสำหรับจีนและประเทศอื่นๆ ในโลก
ที่มา: สำนักข่าวซินหัว
- ‘เวียดนาม’ เตรียมส่งออกข้าวเต็มรูปแบบอีกครั้ง พ.ค. นี้
- เฮ!! ส่งออกเดือนมี.ค.ขยายตัว 4.17% สูงสุดในรอบ 8 เดือน
- ‘ข้าวเปลือกเจ้า’ ตันละ 1.1 หมื่นบาท สูงสุดรอบ 10 ปี ‘พาณิชย์’ ถกหาสมดุลการส่งออก