Business

‘3 กูรูพลังงาน’ ยื่นหนังสือ ‘นายกฯ’ ห่วงอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 1.72 แสนล้านพังยับ

“มรว.ปรีดิยาธร-ณรงค์ชัย-คุรุจิต” ส่งหนังสือตรงถึงนายกฯ ชง 5 ประเด็น ทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และกลุ่มแปรรูปพลาสติก 1.72 แสนล้านบาท เชื่อหากนายกฯ รับทราบปัญหา ต้องหาแนวทางแก้ไข

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายคุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ได้จัดทำหนังสือถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึง 5 ประเด็น ที่จะส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และพลังงานของประเทศไทย โดยเข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

จากนั้น ได้มีการแุถลงข่าวถึงประเด็นความเป็นห่วงในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของชาติบ้านเมือง อันเนื่องมาจากนโยบายพลังานในหลาย ๆ เรื่องที่รัฐบาลของนายเศรษฐากำลังชับเคลื่อนอยู่

ห่วงหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเกินเพดาน 1.1 แสนล้าน

เมื่อรัฐบาลปัจจุบันเริ่มเข้าบริหารงาน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีภาระหนี้สินจำนวน 48,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลให้หนี้สินจำนวนนี้ลดลงไป หรืออย่างน้อยก็ไม่เพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่า เพียง 5 เดือน นับถึงสิ้นเดือนมกราคม 2567 หนี้สินกองทุนกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 84,000 ล้านบาท

เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้กดราคาน้ำมันดีเซลลง จากลิตรละ 32 บาท เป็นลิตรละ 30 บาท และได้ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนชิน และแก๊สโซฮอลลงอีกลิตรละ 2.50 บาท อันเป็นผลให้กองทุนต้องชดเชยราคาน้ำมันดีเซล และลดการเก็บเงินเข้ากองทุนจากน้ำมันกลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอล รวมถึงตรึงราคา LPG ไว้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

หากปล่อยไปเช่นนี้ หนี้ของกองทุนก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก จนถึงเพดานหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดกรอบไว้ขณะนี้ คือ 110,000 ล้านบาทในเวลาอีกไม่นาน

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

การลดราคาน้ำมันลงเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของรถก็จริง แต่เมื่อหนี้ของกองทุนเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่งที่เกินความสามารถที่จะชำระคืน รัฐบาลก็คงต้องนำเงินจากภาษีที่เก็บจากประชาชนทั้งประเทศไปล้างหนี้ดังกล่าว ซึ่งเท่ากับว่าในส่วนของราคาน้ำมัน ประชาชนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของรถ ต้องมาช่วยแบกภาระหนี้แทนเจ้าของรถที่มีฐานะดีกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลที่ดี ต้องพึงระวังไม่ให้เกิดขึ้น

ในช่วงนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังไม่ได้ผันผวนถึงขั้นวิกฤติ คือค่อนข้างนิ่ง และมีแนวโน้มลดลงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน จึงควรเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อคืนสภาพคล่อง และลดหนี้ให้กองทุน

หนี้ กฟผ. พุ่ง 1.37 แสนล้านบาท หลังรัฐบาลกดค่าไฟ

ในรัฐบาลที่แล้ว เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภาวะสงครามในยุโรป รัฐบาลก่อนได้ชะลอการปรับคำFt ไว้ เพื่อไม่ให้คำไฟฟ้าที่จะเก็บจากประชาชนเพิ่มขึ้นในจำนวนสูงเกินไป โดยให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระราคาก๊าช LNG ที่เพิ่มสูงขึ้นไว้ก่อน แล้วจึงค่อยทยอยผ่อนคืน กฟผ. โดยการขึ้นค่า Ft ทีละนิดในงวดถัด ๆ ไป

นับถึงสิ้นเดือน สิงหาคม 2566 หนี้ค่า Ft ที่ กฟผ. แบกรับไว้มียอดค้างอยู่ 1.1 แสนล้านบาท หลังจากรัฐบาลชุดใหม่รับงาน เป็นจังหวะที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะต้องอนุมัติปรับค่าไฟฟ้า ซึ่งตั้งใจจะปรับลดจากงวดก่อนจากหน่วยละ 4.70 บาท เป็นหน่วยละ 4.45 บาท (ในงวดเดือน ก.ย.2566) เพื่อให้พอมีเงินเข้ามาช่วยลดภาระหนี้ที่ กฟผ.แบกรับไว้ลงบ้าง

ปรากฎว่ารัฐบาลใหม่กลับประกาศกดราคาคำไฟฟ้าลงไปอีก เหลือหน่วยละ 3.99 บาท ซึ่งมีผลให้ กฟผ. ต้องแบกรับหนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 137,000 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 หากปล่อยไปเช่นนี้ ในที่สุดก็คงจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปล้างหนี้จำนวนนี้ให้ กฟผ. เพื่อให้ดำเนินกิจการต่อไปได้

รัฐบาลที่ดี ย่อมตระหนักดีว่ามีภาระหน้าที่ ที่จะต้องดูแลไม่ให้มีการหมักหมมปัญหา และหมกหนี้ไว้ที่หน่วยงานของรัฐ และตั้งใจหามาตรการที่จะทยอยลดหนี้ได้ ตั้งแต่ที่ปัญหายังไม่หนักเกินไป ก็จะสามารถสะสางปัญหาให้จบลงด้วยดีได้ โดยไม่ต้องรบกวนกาษีของประชาชน

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

รัฐบาลไทยในอดีตได้ออกนโยบายที่เป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมในอากาศ คือ วางแผนให้มีการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงขึ้นเป็นมาตรฐาน Euro 5 โดยได้มีการขอความร่วมมือและจูงใจให้โรงกลั่นทั้ง 6 โรง ลงทุนก่อสร้าง และติดตั้งอุปกรณ์ปรับกระบวนการผลิตให้ได้น้ำมันคุณภาพ Euro 5 ซึ่งใช้เงินลงทุนไปจำนวนมากหลายหมื่นล้านบาท

พร้อมกันนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้ออกมาตรฐานรถยนต์ใหม่ให้รองรับคุณภาพน้ำมันใหม่ และกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการออกมาตรฐานบังคับใช้คุณภาพน้ำมันนี้ที่ลดกำมะถันลงให้เหลือไม่เกิน 10 ppm กับลดคำ NOX และฝุ่น PM ลงให้ไม่เกิน 8% ภายใน 5 ปี โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

ทั้งนี้ เป็นที่เข้าใจกันว่า กระทรวงพลังงานจะปรับสูตรสำหรับคิดราคาน้ำมันอ้างอิงที่หน้าโรงกลั่น ให้สะท้อนถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุน เพื่อให้มีความสามารถในการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นระดับ Euro 5

แต่จนถึงบัดนี้ ทั้งที่กระทรวงพลังงานได้ประกาศให้ใช้น้ำมันระดับ Euro 5 แล้ว กระทรวงพลังงานภายใต้รัฐบาลใหม่ยังนิ่งเฉย แสดงทำทีไม่ยอมรับคุณภาพน้ำมันสะอาดใหม่นี้ โดยไม่พิจารณาปรับราคาอ้างอิงหน้าโรงกลั่นของเบนชิน/แก๊สโซฮอล และดีเซล จนภาคเอกชนคือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต้องออกมาเรียกร้องขอให้ปรับสูตรราคาอ้างอิงดังกล่าว

หากรัฐบาลเพิกเฉยไม่ทำอันใด ในที่สุดผู้ค้าน้ำมันก็คงจะไม่ยอมรับในราคาอ้างอิงในแบบเดิม ๆ ที่รัฐกำหนด และเลือกใช้วิธีกำหนดราคาขายหน้าปั๊มเอง ซึ่งอาจมีผลเสียต่อผู้บริโภคมากกว่า และโรงกลั่นก็จะไม่ยอมลงทุนอะไรไปก่อนอีกตามที่รัฐขอความร่วมมือในอนาคต

นอกจากนี้ นโยบายของรัฐในสายตาของนักลงทุนก็จะขาดความน่าเชื่อถือ และเสื่อมถอยลงด้วย

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

คุณภาพอากาศกำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ปัญหาของฝุ่นควันในต่างจังหวัดเกิดจากการเผาไร่และเผาป่าเป็นสาหตุใหญ่ ในขณะที่สาเหตุหลักของฝุ่นควันในอากาศบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็คือ ควันพิษ จากรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล เบนซิน และแก๊สโซฮอล

รัฐบาลในอดีต และปัจจุบัน มีนโยบายที่จะกระตุ้นให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้าสาธารณะ หรือใช้ยานพาหนะส่วนตัวเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาควันพิษในอากาศลงบ้าง แต่การลดราคาน้ำมันลง ย่อมเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างฟุ่มเฟือย และก่อให้เกิดควันพิษมากขึ้น ดูเป็นนโยบายที่ย้อนแย้งกับเรื่องการดูแลคุณภาพอากาศ และพลังงานสะอาดอย่างชัดเจน ทำให้ไม่แน่ใจว่า รัฐบาลนี้มีความตั้งใจที่จะลดปัญหาควันพิศในอากาศ เพื่อคุณภาพที่ดีของประชาชน และส่งเสริมการใช้รถ EV จริงหรือไม่

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 กระทรวงพลังงานใช้กลเม็ดการหาต้นทุนที่ต่ำลงสำหรับก๊าซใน Pool Gas ที่ใช้สำหรับผลิตไฟฟ้า โดยมิได้เป็นการจัดหา และนำก๊าซต้นทุนต่ำมาเพิ่มเติมใน Pool Gas แต่อย่างใด

กล่าวคือ กระทรวงพลังงาน ปรับสูตรการคำนวณราคาก๊าชธรรมชาติใน Pool Gas ใหม่ โดยนำราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาก๊าซจากเมียนมา และก๊าซ LNG ในส่วนที่เคยส่งเป็นวัตถุดิบ ไปเข้าโรงแยกก๊าซ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์คือ อีเทน และโพรเพน ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี นำมารวมคำนวณเป็นราคาใน Pool  Gas เพื่อให้ได้ราคาเฉลี่ยสำหรับการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำลง

ปิโตรเคมีน่าเป็นห่วง

ผลที่ตามมาก็คือ ราคาของก๊าซส่วนที่แยกไปใช้ผลิตเป็นวัตถุดิบในโรงแยกก๊าซ (GSP)เพิ่มสูงขึ้นทันที ระหว่าง 30-40% ส่งผลต่อการทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง และทำให้ต้นทุนวัตถุดิบของปิโตรเคมีทั้งระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบความสามารถในการแช่งขันของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และห่วงโซ่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง จากต้นน้ำ ถึงปลายน้ำด้วย

นอกจากนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีอำนาจเพียงกำหนดอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติ ก็แต่เฉพาะก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นพลังงานเท่านั้น มิได้มีอำนาจกำหนดราคาก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบ นโยบายที่มอบให้กกพ.นี้ จึงสุ่มเสี่ยงที่จะใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายด้วย

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

กระทบอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 1.72 แสนล้าน

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ประเทศไทยใช้เวลามากกว่า 39 ปี ในการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ พลาสติก สิ่งทอ และอะไหล่รถยนต์หลายพันกิจการ ก่อให้เกิดนิคมอุดสาหกรรมระดับโลกขึ้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง และความโชติช่วงชัชวาลขึ้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทั้งช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และการส่งออกของไทยเดิบโดมาอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2564 เฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มแปรรูปพลาสติก มียอดขายรวมถึง 172,000 ล้านบาท หรือ 10.7% ของรายได้ประชาชาติของไทย มีการจ้างงานรวมกว่า 400,000 คน ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นมากทันทีจากสูตรราคาก๊าซใหม่นี้ จะกระทบอย่างรุนแรงต่อความอยู่รอดของอุดสาหกรรมเหลำนี้อย่างแน่นอน และหากปล่อยไว้นานเกินไป จะกระทบถึงฐานะของกิจการจนต้องทยอยปิดลง กระทบต่อเศรษฐกิจ และการจ้างงานในระยะยาวได้

ผมเชื่อว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเจตนาที่จะให้เกิดผลเสียในลักษณะดังกล่าว และยังไม่สายเกินไปที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยการกลับไปใช้สูตรการคำนวนราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้อยู่เดิม การที่รัฐบาลตั้งใจลดภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค จำต้องคำนึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้นด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo