Business

กลุ่ม ปตท. โชว์ยุทธศาสตร์พัฒนานวัตกรรม สร้างความแข็งแกร่งยั่งยืน สานเป้าหมาย ‘Net Zero’

กลุ่ม ปตท. ปักธงธุรกิจในเครือ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ มุ่งเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ รับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน พร้อมสานเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน-Net Zero” 

กลุ่ม ปตท. จัดงาน PTT Group Tech & Innovation Day ภายใต้แนวคิด Beyond Tomorrow: นวัตกรรม นำอนาคต โดยหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ คือ Tech Talk เวทีแลกเปลี่ยนหลากหลายแนวคิดด้านการพัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีหัวข้อน่าสนใจอย่าง  Innovation Strategy of PTT Group มานำเสนอกลยุทธ์นวัตกรรมนำอนาคตของกลุ่ม ปตท.

เปิดโลกนวัตกรรมกลุ่มปตท 1

Powering Life with Future Energy and Beyond จะเป็นวิสัยทัศน์หลักของกลุ่ม ปตท. ในการขับเคลื่อนทุกองค์กรในเครือไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต  พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนทิศทางการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศ พร้อมยกระดับการพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยกำหนดเป้าหมายการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050

สำหรับธุรกิจในกลุ่ม ปตท. ที่ถือเป็นหัวหอกสำคัญในการร่วมพัฒนานวัตกรรมนำอนาคต ได้แก่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thaioil) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) สถาบันนวัตกรรม ปตท. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) และบริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด (PTT Digital)

เชิดชัย

นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน โดยกลุ่ม  ปตท. รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต่างแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผลักดันการสร้างสรรนวัตกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

การแสวงหา และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของกลุ่ม ปตท. พร้อมรับทุกกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงให้กับประเทศไทยแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้กลุ่ม ปตท. บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

ปตท1

การที่ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์และเทคโนโลยีร่วมกัน ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero

ดร.ยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อก่อนสถาบันเป็นเสมือนพี่ใหญ่ ที่คิดค้นนวัตกรรมให้กับกลุ่ม ปตท. ซึ่งขณะนี้บริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้เริ่มมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย

ดังนั้น สถาบันได้มุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ ปตท. อาทิ สนับสนุนทั้งในเรื่องของการลดค่าใช้จ่าย พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสายธุรกิจ รวมถึงเป้าหมาย Net Zero ตามการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่ 30% ภายในปี 2030

GIF00941

เป้าหมายของสถาบันคือ เพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรม สร้างธุรกิจใหม่ให้ 7 บริษัทหลักในกลุ่ม ปตท. ถือเป็นความหวังของประเทศไทย ในการก้าวสู่สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนโฉมธุรกิจให้สามารถทำงานร่วมกันเพื่อความยั่งยืน

ภายในงาน Tech Talk ครั้งนี้ ยังมีผู้บริหารของธุรกิจในกลุ่ม ปตท. มาร่วมเปิดเผยถึงการพัฒนานวัตกรรมของแต่ละบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่ม ปตท. ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจกลุ่ม ปตท.

22 1

ขณะเดียวกัน ยังได้เดินหน้ารุกขยายไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ตามวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พลังงานทดแทน ระบบโลจิสติกส์ สมาร์ทดีไวซ์ พลังงานไฮโดรเจน เอไอ โรโบติกส์ ไปจนถึงการดูแลสุขภาพตามเมกะเทรนด์ของโลก

ในส่วนของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ นั้น นางสาวราชสุดา รังสิยากูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ ORion บอกเล่าถึงนวัตกรรมของโออาร์ว่า ORion เป็นหนึ่งในโครงการที่เน้นเรื่องการพัฒนานวัตกรรมใหม่ โดยมีหน้าที่หลักคือ การเฟ้นหาอุตสาหกรรมใหม่ ที่จะนำมาบริหารจัดการเอง หรือเข้าไปร่วมลงทุน

S 171286544

ทั้งนี้ ได้วางกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักคือ Mobility เช่นการเดินทาง การขนส่ง F&B สนับสนุนธุรกิจ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจที่มี และหาธุรกิจใหม่ Tourism การท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของประเทศ Health & Wellness ธุรกิจที่เกี่ยวกับข้องสุขภาพ ที่ในเวลานี้ผู้คนดูแลตัวเองมากขึ้น และ Empowering SMEs ทำอย่างไรให้ SME แข็งแกร่งเพื่อให้เติบโตร่วมกัน

ขณะเดียวกัน ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา All in One Application หรือ Super App เพื่อเชื่อมธุรกิจทั้งหมดของโออาร์เข้าไว้ด้วยกัน และดึง Traffic เข้าสู่ Physical Store ด้วย Online ที่จะเป็นช่องทางใหม่ในการเข้าถึงผู้บริโภค และเป็นการเข้าถึงข้อมูลมหาศาล

S 171286545

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพที่มีโซลูชัน ด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) มาร่วมคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ที่ใส่ใจเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีแรงบันดาลใจมาจากธุรกิจของโออาร์ ภายใต้โครงการ Startup For Chance ที่เป็นอีกกิจกรรมสำคัญในการสร้างประโยชน์เพื่อสังคม

นายพงษ์พันธ์ อุรารุ่งโรจน์ ผู้จัดการอาวุโส สังกัด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารเทคโนโลยี บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทำให้บริษัทเห็นว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามา ทำให้บริษัทพัฒนา และการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งหน่วยงาน เอ็นเตอร์ไพรส์ เน้นการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล และมีโครงการต่าง ๆ ที่ตอบสนองธุรกิจ

ปตท.สผ.

ทั้งนี้ได้กำหนดกลยุทธ์ 3 D ได้แก่

  • Drive Value เพิ่มมูลค่าเร่งการเติบโต เน้นการปรับปรุงเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
  • Decarbonize นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% และมุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050
  • Diversify ขยายไปสู่ธุรกิจใหม่

ในแง่กลยุทธ์ของ ปตท. สผ. จะเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการลงทุนในธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ โดยลงทุนผ่านบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV)

ปตท.สผ.1

หนึ่งในโครงการสำคัญของ ปตท. สผ. คือ โครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage CCS) ซึ่งเป็นการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรม และนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินอย่างถาวร ไม่ปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ มีศักยภาพช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก

ในส่วนของบริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด (PTT Digital) นายศรัณย์ เจนจตุรงค์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เล่าว่า พีทีที ดิจิทัล เน้นคนให้ร่วมกันคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กร โดยกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนานวัตกรรมคือการ Collaboration หรือ การทำงานร่วมกันเป็นหลัก โดย พีทีที ดิจิตอล จะเป็นโค-ครีเอชั่น ตรงกลาง เพื่อเชื่อมระหว่างธุรกิจ กับนวัตกรรม

S 171294802

ตัวอย่างของการดำเนินงาน เช่น Digital Sensing การสอดส่องหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนำมาทดลองว่า สามารถใช้ประโยชน์กับองค์กรได้หรือไม่ การสร้าง Ecosystem ที่มีพาร์ทเนอร์ในการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี หรือนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วมาใช้ รวมถึงการพัฒนา Open Platform โดยเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับกลุ่ม ปตท. เช่น ดาต้า แมเนจเม้นท์ แพลตฟอร์ม และ ออโตเมชั่น แพลตฟอร์ม

ดิจิทัล

โดยสรุปแล้ว การออกแบบ และพัฒนาโซลูชัน พร้อมกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของ พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น มีเป้าหมายในการช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่ม ปตท. และภาคธุรกิจของประเทศ พร้อมเน้นย้ำถึงแนวคิดถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นหัวใจหลัก ที่จะนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย และก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo