Wellness

‘3 โรคร้าย’ มากับมลพิษทางอากาศ- สูบบุหรี่

มลพิษทางอากาศที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพประสบชะตากรรมอยู่ รวมถึงการสูบบุหรี่ ที่รณรงค์เท่าไหร่ก็ยังไม่มีทีท่าจะลดลง แถมมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มอีก นอกจากคนสูบแล้ว คนไม่สูบก็เลยได้โรคไปด้วย  รวมถึงการใช้สารเคมีในภาคอุตสาหกรรม และวิถีชีวิตประจำวัน และการกลายพันธ์ุของยีนส์ ทำให้คนไทย 10% เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด แม้ไม่สูบบุหรี่ก็ตาม แต่สำหรับผู้สูบบุหรี่แน่นอนเสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบ 10-30 เท่า

girl smoke cigarette 2198839 960 720

อัตราการเกิดมะเร็งปอดในเพศชายตอนนี้จัดเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 15.5% จากมะเร็งอื่นๆ ส่วนผู้หญิงจัดเป็นอันดับ 4 คิดเป็น 6.5% 

นพ.เอกภพ สิระชัยนันท์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งปอดถือเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นอันดับ 2 แล้ว ยังเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดราว 20,000 ราย โดยในจำนวนนี้ก็จะมีผู้เสียชีวิตถึง 40 % หรือ 8,000 ราย”

และนอกจากมะเร็งปอดแล้ว โรคเบาๆแต่หนักสำหรับคนเป็น อย่างหอบหืด และปอดอุดกั้นก็ไม่เบา ซึ่งมีสาเหตุไม่แตกต่างจากมะเร็งปอด ก็พบว่าคนไทยเป็นกันมากถึง 4.5 ล้านคน และ 1.5 ล้านคนตามลำดับ ปัญหาสำหรับประเทศไทยก็คือ กลุ่มคนที่เป็นโรคเหล่านี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคช้าเกินไป ทำให้โรคกำเริบรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ คือ ปัญหาหมอกควันจากการเผาป่าและพื้นที่เกษตร

โครงการ Healthy Lung Thailand เกิดขึ้นโดยการจับมือระหว่างรัฐ และเอกชน ตามหลักการบริหารโลกยุคใหม่ เริ่มต้นดำเนินงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561ระหว่าง บริษัท แอส ตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ,เขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธาณสุข ,สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ผ่านการสนับสนุนทางด้านวิชาการจากกรมการแพทย์ รวมถึงสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และฝึกอบรมแพทย์ เพื่อเสริมศักยภาพในการวินิจฉัยโรค หอบหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ประกอบด้วย  8 จังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ซึ่งสามารถพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของบุคลากรทางการแพทย์ได้ 9,320 คนทั่วประเทศ จนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านการรักษาและดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 กล่าวว่า ประเทศไทย มีการตรวจพบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถึง 78,036 คน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่ผู้พักอาศัยได้รับมลพิษทางอากาศ และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ขี้โย อันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

หลังจากให้ความรู้กับแพทย์ และสร้างศักยภาพด้านองค์ความรู้แล้ว ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดการค้นพบจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น 20.4 % ซึ่งจำนวนนี้ อยู่อาศัยในเขตสุขภาพที่ 1 ถึง 12 % 

lorr
นพ. ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์

สำหรับการดำเนินโครงการ Healthy Lung Thailand ปี 2562 ได้ขยายต่อจากโรคหอบหืด และปอดอุดกั้น ไปสู่การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดของไทย ที่มีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น โดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมมือเพิ่มเติมกับ กระทรวงสาธารณสุข และมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย สร้างองค์ความรู้ในการวินิจฉัยโรคให้กับแพทย์ เพื่อนำไปสู่การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายแพทย์ 8,000 คนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดสูงที่สุดในประเทศไทย

รวมถึงดำเนินการให้องค์ความรู้แพทย์ไปพร้อมกันทั้ง 3 โรค ในพื้นที่อื่น ได้แก่ พื้นที่เขตสุขภาพที่ 8  ครอบคลุม 7 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 ใน 7 จังหวัดในภาคใต้ ทำให้ภาพรวมของโครงการดำเนินงานได้แล้ว 22 จังหวัด

นพ.เอกภพ ย้ำว่า การสนับสนุนด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์ของโรคมะเร็งปอดได้อย่างแม่นยำ ก่อนที่จะประสานงานต่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในประเทศไทยลงน้อยลงไปในที่สุด

ทางด้าน นางอิงก์ กุสุมา ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า สถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด ในทวีปเอเชียพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน จึงถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับทุกหน่วยงานทางการแพทย์ที่เคยมุ่งเน้นเพียงแค่การรักษาระยะสั้นๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วการแก้ไขปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจจำเป็นต้องมีการจัดการในระยะยาว โดยจะต้องให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของระบบ

“การสร้างองค์ความรู้ให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมีประสิทธิภาพ สำคัญมาก เพราะปัจจุบันโรคหอบหืดและปอดอุดกั้น มีผุู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเพียง 1 ใน 3 ส่วนผุู้ป่วยมะเร็งปอด ต้องเสียชีวิตถึง 40% ทั้งที่สามารถมีชีวิตยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพ หากได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว โครงการ Healthy Lung Thailand  จึงมุ่งเน้นให้องค์ความรู้กับแพทย์ที่อยู่ในสถานบริการทุกระดับในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้มีศักยภาพในการวินิจฉัยโรค เพราะอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนที่เป็นโรค ทำให้การรักษาในระดับพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องส่งมายังโรงพยาบาลส่วนกลาง”

เ้ป้าหมายของ โครงการ Healthy Lung Thailand นางอิงก์ ย้ำว่า ต้องการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี ซึ่งจะให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อให้ได้ในอัตรา 25%

นางอิงก์ กุสุมา ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จำกัด
อิงก์ กุสุมา

สำหรับโครงการนี้ บริษัทเข้าไปร่วมสนับสนุนใน 9 ประเทศในเอเชียรวมถึงไทย เรียกว่า  Healthy Lung Asia ซึ่งที่ผ่านมาโครงการได้มีส่วนร่วมในการช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจกว่า 425,000 คน มีการสนับสนุนความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ไปกว่า 22,000 คน และยังมีส่วนช่วยในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจให้กับคนป่วยกว่า 24,000 คน

นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังให้การช่วยเหลือในด้านการร่างแนวทางปฏิบัติในระดับชาติและแนวทางการดูแลรักษาใน 10 ประเทศ รวมทั้งพัฒนาศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ 956 แห่งในปัจจุบัน ช่วยสนับสนุนการดูแลรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ โดยได้เข้าถึงผู้ป่วยไปแล้วกว่า 500,000 คน

สำหรับประเทศไทยโครงการฯยังได้เข้าไปสร้างศูนย์และจุดพ่นยาสำหรับเด็กด้วย ซึ่งจะขยายเป็น 75 จุดในปีนี้ในโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้เด็กที่เป็นโรคมีความสุขมากขึ้นในระหว่างรับการรักษา ขณะเดียวกันบริษัทยังได้มอบเครื่องวัดสมรรถภาพปอด และเครื่องพ่นยา ให้กับโรงพยาบาลและมอบให้กับคนไข้กลับไปใช้ที่บ้านด้วย เพื่อลดภาระของคนไข้ในการเดินทาง และลดภาระของโรงพยาบาลด้วย

Avatar photo