Economics

ไฟเขียว!! กรอบเงินเฟ้อปี 62 ที่ 2.5%ตั้งเป้าจีดีพีโต 3.5-4.5%

“ณัฐพร” เผยที่ประชุม ครม.เห็นชอบกรอบเงินเฟ้อปี 62 ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% พร้อมตั้งเป้าจีดีพีขยายตัว 3.5-4.5%

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าวันนี้ที่ประชุม มีมติเห็นชอบกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินปี 2562 โดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปที่ 2.5% บวกลบ 1.5% หรืออยู่ในกรอบ 1-4% เช่นเดียวกับในปี 2561

ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ 13121

นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2563-2565) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณและการก่อหนี้ของหน่วยงานรัฐ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ

โดยประเมินเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางปี 2563-2565 จะขยายตัวในช่วง 3.5 – 4.5% เช่นเดียวกับปี 2562 จากปัจจัยบวกเรื่องภาคอุปสงค์ในประเทศที่ยังโตและอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง การลงทุนทั้งภาครัฐ-เอกชนที่เร่งตัวขึ้น รวมถึงขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของอุปสงค์ภายในประเทศและราคาน้ำมันที่สูง ขึ้นจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากช่วง 1.5-2.5% ในปี 2564 มาอยู่ในช่วง 2.0-3.0% ในปี 2565

ทั้งนี้ ได้ประมาณการสถานะการคลังในช่วงปี 2563-2565 ไว้ดังนี้ โดยปี 2563 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ 2.75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.8% กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย 3.20 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% หนี้สาธารณะคงค้าง 44.4% ต่อจีดีพี ส่วนปี 2564 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ 2.77 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8% กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย 3.30 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% หนี้สาธารณะคงค้าง 45.7% ต่อจีดีพี ขณะที่ปี 2565 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ 2.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1% กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย 3.47 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.2% หนี้สาธารณะคงค้าง 47.4% ต่อจีดีพี

กระทรวงคลัง

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า นโยบายการคลังระยะปานกลาง รัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และในอนาคตมีแผนจะลดขนาดการขาดดุลลงหาก เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพจากภาคเอกชนเป็นกลไกหลัก ซึ่งรัฐบาลจะต้องมุ่งบริหารการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายให้เป็นไปตามที่กำหนด คือ

1. กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งรัดกฎหมายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่ เช่น การปรับปรุงประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาแนวทางปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลทั้งระบบ

2. สำนักงบประมาณจะต้องควบคุมรายจ่ายของรัฐบาลที่เป็นรายจ่ายประจำ โดยเฉพาะรายจ่ายด้านบุคลากรเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่อวงเงินงบประมาณ รายจ่าย

3. รัฐบาลจะต้องผลักดันให้มีการระดมทุนในรูปแบบใหม่สำหรับการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศ เพื่อลดภาระการลงทุนจากงบประมาณ เช่น การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย

Avatar photo