Economics

เปิดประมูลทางด่วนพระราม 3 ต้นปีหน้า

“การทางพิเศษฯ” จ่อเปิดประมูลงานก่อสร้างทางด่วนพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกฯ ต้นปีหน้า คาดเปิดให้บริการได้ปี 2565

นายสุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางพิเศษ (ทางด่วน) พระราม 3 – ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร วงเงิน 31,244 ล้านบาทว่า การทางพิเศษฯ อยู่ระหว่างจัดทำเงื่อนไขการประมูล (TOR) ก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือนธันวาคม 2561 จากนั้นทราบผลในเดือนมีนาคม 2562 เริ่มงานก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2562 และเปิดให้บริการได้ในเดือนสิงหาคม 2565

สุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์2

เบื้องต้นจะต้องมีการเวนคืนที่ดินประมาณ 6 – 7 ไร่ ใช้เงินราว 807 ล้านบาท บางส่วนต้องขอใช้พื้นที่เกาะกลางของกรมทางหลวง (ทล.) ซึ่งขณะนี้ได้หารือรายละเอียดแล้ว คาดว่าจะลงนามในบันทึกข้อตกเพื่อขอใช้พื้นที่เร็ว ๆ นี้

ในวันนี้ (14 พ.ย.) การทางพิเศษฯ ยังได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างควบคุมงานก่อสร้าง โครงการทางด่วนพระราม 3 ระหว่างการทางพิเศษฯ กับกลุ่มบริษัท เอพซิลอน จำกัด, บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด , บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด และพิธีลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity pact) โครงการทางด่วนพระราม 3

สุรงค์ ทางด่วน

หาทางลดภาระดอกเบี้ยทีเอฟเอฟ

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การทางพิเศษฯ ได้ระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) รวมทั้งสิ้น 44,000 ล้านบาท โดยสภาพคล่องจะอยู่ในระบบนาน 2 – 3 ปี ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างโครงการทางด่วนพระราม 3

ดังนั้นในวันนี้ (14 พ.ย.) การทางพิเศษฯ จะไปหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อหาแนวทางการลดภาระต้นทุนทางการเงิน เนื่องจากการทางพิเศษฯ มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ย TFF ในอัตรา 4.75% ขณะที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากเพียง 1.6% ทำให้มีส่วนต่างดอกเบี้ยมากถึง 3.15% หรือคิดเป็นภาระทางการเงินสูงถึงปีละ 1,200 ล้านบาท ซึ่งหากคิดรวม 2 – 3 ปี จะมีภาระทางการเงินมากถึง 2,400 – 3,600 ล้านบาท

“เบื้องต้นการทางพิเศษฯ มองว่าอาจจะเป็นการนำเงินไปฝากกับธนาคารของรัฐที่ให้ดอกเบี้ยสูงๆ เช่น กรุงไทย ธนาคารอิสลาม ธนาคารเอสเอ็มอี ซึ่งขณะนี้คุยไว้แล้ว 4 – 5 แบงก์ อีกแนวทางหนึ่งคือการสวอปเงินบาทให้เป็นดอลลาร์ เนื่องจากขณะนี้ดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้ต้องหารือ กับ สคร.ก่อนว่าจะสามารถทำตามแนวทางดังกล่าวได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ” นายสุรงค์

Avatar photo