Economics

ออกกฎคุมนำเข้าส่งออกถ่านหิน หลังโรงงานแห่ใช้เป็นเชื้อเพลิง

กรมเชื้อเพลิงเตรียมออกมาตรการควบคุมถ่านหินนำเข้าส่งออก หลังพบโรงงานอุตสาหกรรมแห่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงกว่า 600 โรงงาน พร้อมจัดงานมอบรางวัลนวัตกรรมถ่านหิน หวังส่งเสริมการพัฒนาถ่านหินเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

S 8628381004853

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยในงานว่า ขณะนี้เตรียมออก “ประมวลหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับการนำเข้าส่งออกเชื้อเพลิงถ่านหิน” (Code of Practice : CoP) เพื่อวางมาตรฐานการนำเข้า และส่งออกถ่านหิน จากปัจจุบันที่ยังไม่มาตรการควบคุม

ทั้งนี้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมาได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ขณะนี้อยู่ระหว่างนำข้อเสนอมาปรับปรุงมาตรการดังกล่าว จากนั้นจะมีการทดลองใช้ไประยะหนึ่ง ระยะต่อไปอาจยกระดับเป็นกฎหมาย

ปัจจุบันความต้องการใช้ถ่านหินในโรงงานอุตสาหกรรมมีเพิ่มขึ้น ทำให้การนำเข้าขยายตัว ล่าสุดอยู่ที่ 21-22 ล้านตันต่อปี มีผู้ประกอบการใช้อยู่ประมาณ 600 ราย

นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด Thailand Coal Awards 2018 จำนวน 8 ราย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และผู้ที่อยู่แวดวงพลังงานถ่านหินในประเทศไทย

โครงการ “Thailand Coal Awards”  เป็นการประกวดด้านพลังงานถ่านหินของประเทศไทยที่กระทรวงพลังงานส่งเสริมให้มีการจัดการประกวดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 แล้ว เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานถ่านหินหรือมีส่วนสนับสนุนได้แสดงศักยภาพ และเผยแพร่ผลงานการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้การใช้ถ่านหินมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ชนะการประกวด Thailand Coal Awards 2018 แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินที่เป็นเลิศ (Best Practices Category)
  2. ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility Category)
  3. ประเภทนวัตกรรมด้านถ่านหิน (Special Submission Category)

S 8628377705659

โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 14 ผลงาน มีผู้ได้รับการคัดเลือกผลงานดีเด่น จำนวน 8 ผลงาน ดังนี้

  1. ผลงาน “Mae Moh Lignite Mine” ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินที่เป็นเลิศ (Best Practices Category) ด้านการทำเหมืองถ่านหินแบบเปิด (Surface Coal Mining)
  2. ผลงาน “The Boiler Modification of Clean Coal Power Plant for utilizing Low-Rank Coal” ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินที่เป็นเลิศ (Best Practices Category) ด้านการใช้ประโยชน์และเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Use & Technology)ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Power Generation) ที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 500 เมกะวัตต์
  3. ผลงาน “โรงไฟฟ้าสีเขียว” ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินที่เป็นเลิศ (Best Practices Category) ด้านการใช้ประโยชน์และเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Use & Technology) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Power Generation) ที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 100 เมกะวัตต์
  4. ผลงาน “Power Boiler Improvement for Better Tomorrow” ของบริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ) ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินที่เป็นเลิศ (Best Practices Category) ด้านการใช้ประโยชน์และเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Use & Technology) ในการใช้ในอุตสาหกรรม (Industry) ที่มีปริมาณการใช้ถ่านหิน 100,000 ถึง 1,000,000 ตันต่อปี
  5. ผลงาน “Mae Moh Lignite Mine’CSR” ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility)
  6. ผลงาน “ถอดบทเรียนศาสตร์พระราชา สู่แนวทางเพื่อการพัฒนาพื้นที่ อ.แม่เมาะ อย่างยั่งยืน” ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility)
  7. ผลงาน “TPIPL-Strives to CSR” ของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility)
  8. ผลงาน “Dust Killer Box (Dust Reduction Equipment from Boom Type Bucket Wheel Reclaimer)” ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทนวัตกรรมด้านถ่านหิน (Special Submission Category)

Avatar photo