Politics

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร ลุ้นจ่ายเยียวยากลุ่มยื่นอุทธรณ์อีกกว่าแสนราย!

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร “เฉลิมชัย” สั่งประชุมคณะกรรมการอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรพรุ่งนี้ ย้ำรัฐบาลจะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนให้มากที่สุด

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร : นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันพุร่งนี้ (8 มิ.ย.) มอบหมายให้นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประธานคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์สิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร ประชุมเพื่อพิจารณาสรุป ข้ออุทธรณ์ของเกษตรกรที่ไม่ได้รับเงินเยียวยา ซึ่งกำหนดกรอบระยะเวลา การพิจารณาข้อร้องเรียนแต่ละรายภายใน 5 วัน โดยย้ำให้คณะกรรมการพิจารณา ด้วยความรอบคอบยึดวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด แต่ต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สามารถจ่ายเงินเยียวยาให้แก่กลุ่มบุคคลใดบ้าง รวมทั้งต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

สำหรับจำนวนเกษตรกรที่ยื่นอุทธรณ์ คาดว่า มีประมาณ 200,000 ราย โดยวันที่ 5 มิถุนายนเป็นวันสุดท้าย มีเกษตรกรยื่นอุทธรณ์จำนวนมาก ซึ่งทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ รับเรื่องไว้ทุกราย แม้จะเลยเวลาราชการแล้วก็ตาม

สำหรับผู้ยื่นอุทธรณ์รวบรวมจนถึงเวลา 11.00 น. วันนี้ 186,292 ราย แก้ไขปัญหาแล้ว 14,470 ราย อยู่ระหว่างพิจารณา 58,623 ราย ในจำนวนนี้ จะต้องผ่านการพิจารณาในหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนระดับภูมิภาค หากเกินอำนาจระดับภูมิภาค จะส่งเข้ามาพิจารณาในส่วนกลาง และถ้ายังสรุปไม่ได้ ให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนเรื่องที่จะเข้าสู่การพิจารณา ของคณะกรรมการ 113,199 ราย โดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ยังคงนำประมวลเรื่องแจ้งอุทธรณ์เข้าสู่ระบบ โดยคาดว่าใช้เวลาอีก 2 – 3 วัน จะได้จำนวนทั้งหมด

ด้านนายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โอนเงินให้เกษตรกรกลุ่มที่เดิมมีข้อมูลทางบัญชีไม่ถูกต้อง หรือ ไม่ได้แจ้งเลขบัญชีแล้ว 7,861 ราย โดยเป็นบัญชีของ ธ.ก.ส. ซึ่งเกษตรกรได้รับเงินแล้วตั้งแต่วานนี้ (6 มิ.ย.) ส่วนที่เหลือจะโอนวันพรุ่งนี้ จากนั้นเกษตรกรจะได้รับเงินวันที่ 9 – 10 มิถุนายน โดยเป็นบัญชีทั้งของ ธ.ก.ส. และธนาคารอื่น ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 7 มิถุนายน ธ.ก.ส.โอนเงินให้เกษตรกรแล้ว 7,111,582 ราย เป็นเงิน 35,557.912 ล้านบาท

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเกษตรกรกลุ่มที่ 3 ที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา เนื่องจากเกษตรกรกลุ่มนี้ เป็นเกษตรกร ที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก เพราะยังไม่ถึงช่วงเวลา มีประมาณ 1.3 แสนคนนั้น คาดว่าจะได้รับเงินครั้งเดียว 15,000 บาท ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2563

สำหรับ กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหา เรื่องเลขบัญชีธนาคาร หรือ ไม่ได้แจ้งหมายเลขบัญชีธนาคาร มาเพื่อรับเงินเยียวยาเกษตรกรในสัปดาห์ที่แล้ว จำนวน 356,080 ราย จากการที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา และ หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศเร่งประชาสัมพันธ์ และไปหาเกษตรกรถึงบ้าน ทำให้ได้บัญชีธนาคารมาแล้ว คงเหลืออยู่ระหว่างติดตาม 62,714 ราย

ทั้งนี้ หลังจากตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกรพบว่า หมายเลขบัญชีของเกษตรกรรับเงินเยียวยา 5,000 ที่ได้เพิ่มมา 293,366 ราย ส่วนใหญ่เป็นบัญชีต่างธนาคาร ซึ่ง ธ.ก.ส.จะส่งชื่อและหมายเลขบัญชีให้ธนาคารนั้น ๆ ตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้น ธ.ก.ส.จะโอนให้วันที่ 8 มิถุนายน 2563 ต่อไป

โดยเกษตรกร สามารถติดตามผลอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร ได้ที่ www.อุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร.com

 

รัชดา103631

ด้านน.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล ระบุว่า สำหรับปัญหาการแก้ หนี้เกษตรกร แบ่งเป็น 4 เรื่องด้วยกันคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้

1. เร่งรัดและดำเนินการจนมีการออกประกาศและระเบียบให้กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถวางเงินชำระหนี้แทนเกษตรกรในชั้นบังคับคดีได้ ทำให้ที่ทำกินเกษตรกรไม่ถูกขายทอดตลาด โดยมีเกษตรกรรายแรกได้รับการแก้ปัญหาไปเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา และจะมีเกษตรรายอื่นๆทั่วประเทศอีก 2,743 ราย

2. เตรียมออกมาตรการพักหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเวลา 1 ปี ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ระเบียบ และ

3. เรื่องที่เกษตรกรรอคอยมานาน คือการแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้สามารถเข้าไปจัดการหนี้เกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะมีการประกาศใช้ในอีกไม่นานนี้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรเกือบ 4 แสนราย

4. การปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ณ เวลานี้ได้ความชัดเจนเรื่องแนวทางการเจรจาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยกับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง คือ

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และจะเริ่มกระบวนการเจรจาจากนี้ไป

อย่างไรก็ตาม ขอเรียนว่า การแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรเป็นวาระสำคัญที่รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างรอบด้าน มีทั้งเรื่องการปรับแก้กฏหมาย/ระเบียบ และการเจรจากับธนาคารเจ้าหนี้ ซึ่งจะบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้มาก มีเกษตรกรหลายรายเป็นหนี้ขึ้นทะเบียนมากว่า 20 ปี หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เป็นตามที่ตั้งเป้าไว้ เกษตรกร 4.4 หมื่นราย จะได้รับการลดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย มีที่ดินทำกิน ในขณะที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ต้องเสี่ยงต่อหนี้สูญ

Avatar photo