Business

‘การบินไทย’ แจง 6 ปมร้อนทำไม ไม่เปิดเผย ‘แผนฟื้นฟู’ ต่อพนักงาน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีผลประกอบการขาดทุนอย่างหนักและยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทอยู่ในอาการ “ร่อแร่” โดยรัฐบาลกำลังตัดสินใจว่า จะใช้แนวทางใดในการยื้อชีวิต

ประเด็นเกี่ยวกับการบินไทยจึงกลายเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจและวิพากวิจารณ์เป็นวงกว้าง เมื่อวานนี้ (17 พ.ค.) ฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร (D4) การบินไทย จึงส่งข้อมูลชี้แจง 6 ประเด็นร้อนของบริษัท ดังนี้

fig 18 05 2020 09 07 07

  • ทำไมบริษัทไม่ชี้แจงเรื่องแผนฟื้นฟูการบินไทยให้พนักงานทราบ

ขอให้พนักงานเข้าใจตรงกันก่นอว่า เรื่องของแผนฟื้นฟู เป็นเรื่องที่บริษัทต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาด้านการเงิน คือ ไม่มีรายได้ แต่ยังคงมีรายจ่าย เพราะบริษัทจำเป็นต้องหยุดทำการบินชั่วคราว สาเหตุมาจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง

ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูองค์กรจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กำกับดูแล ทั้งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง เพราะการบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและขณะนี้แผนฟื้นฟูได้ดำเนินการไปตามขั้นตอน ส่วนการพิจารณากำหนดแนวทางการฟื้นฟูขึ้นอยู่กับหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลการบินไทย ทำให้บริษัทยังไม่อาจให้ข้อมูลใดๆ แก่พนักงานรับทราบได้ เพราะต้องรอการตัดสินใจของรัฐบาลและขณะนี้แผนฟื้นฟูอยู่ระหว่างรอการนำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการฟื้นฟูให้กับการบินไทย จึงขอให้พนักงานรอมติจาก ครม.

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลการพิจารณาจาก ครม. จะออกมาอย่างไร ขอให้พนักงานเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัท ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและหาทางออกที่ดีที่สุดให้การบินไทยแล้ว

014 Check in Royal Silk Class

  • คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทได้รับผลตอบแทน 1 ล้านบาทต่อเดือน

บอร์ดบริษัทได้รับค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 2กรกฎาคม 2556 และมติของผู้ถือหุ้นบริษัท ซึ่งบอร์ดบริษัทและประธานบอร์ดบริษัทได้รับค่าตอบแทนจำนวน 50,000-100,000บาทต่อเดือน และเบี้ยประชุมในอัตราครั้งละ 30,000-37,500 บาท โดยให้รับไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือน

หากได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการชุดย่อย/อนุกรรมการ/คณะทำงานอื่นๆ ของบริษัท จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเป็นเบี้ยประชุมอีกคนละ 10,000 บาทต่อครั้งต่อเดือน รวมแล้วไม่เกิน 2 คณะ โดยจะได้รับเบี้ยประชุมคณะละไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือน ซึ่งรวมแล้วจะได้รับเบี้ยจากการประชุมคณะย่อยไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น บอร์ดบริษัทจะได้รับค่าตอบแทนรวมแล้ว ไม่เกิน 100,000-157,500 บาทต่อเดือน ไม่ใช่ 1 ล้านบาทต่อเดือนตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

ทั้งนี้ บอร์ดบริษัทได้สมัครใจลดค่าตอบแทนรายเดือนลง 50% เพื่อช่วยเหลือบริษัทในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม 2563 อีกด้วย

นอกจากนี้บอร์ดบริษัทและครอบครัว รวมถึงอดีตบอร์ดบริษัทและครอบครัว ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ รวมทั้งบัตรโดยสารฟรีจากบริษัท ทั้งนี้เป็นไปตามมติบอร์ดบริษัทเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 และผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการของรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

86731

  • การบินไทยนำเงินจากภาษีของประชาชน มาใช้ดำเนินธุรกิจ

บริษัท การบินไทย เป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งที่ผ่านมารัฐบาลก็มิได้มีการจัดสรรงบประมาณให้บริษัทแต่อย่างใด

บริษัทใช้เครดิตของตัวเองในการกู้เงินมาทำธุรกิจ พร้อมหาแหล่งเงินกู้เองทั้งภายในและภายนอกประเทศ กรณีวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้บริษัทจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยขอให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของการบินไทย ค้ำประกันเงินกู้หรือคำที่ใช้ทั่วไปว่า “อุ้ม” จึงไม่ใช่การนำเงินภาษีของประชาชนมาให้บริษัทใช้ แต่เป็นการค้ำประกัน โดยบริษัทยังต้องดำเนินธุรกิจต่อไป เพื่อนำรายได้มาชำระหนี้เอง ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

  • การใช้งบโฆษณาที่สูงถึง 10,000 ล้านบาทต่อปี

ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2565 (หน้า 156) ของบริษัท ซึ่งระบุในตางรางงบการเงินรวม ใช้คำว่า “ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและโฆษณา” เป็นจำนวน 10,637 ล้านบาท  จึงมิได้หมายถึงค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการขาย ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพื่อการสำรองที่นั่งผ่านระบบ Amadeus Altea ประมาณ 5,000 ล้านบาท และเป็นค่า Commission อีกประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งให้ค่าตอบแทนกลับมาเป็นรายได้จำนวน 150,000 ล้านบาท

ส่วนค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาเพื่อใช้ในการงานของฝ่ายสื่อสารการตลาดและสร้างตราผลิตภัณฑ์ (NP) และหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงสถานีต่างประเทศทั่วโลก อยู่ที่ประมาณ 700 ล้านบาท หรือเท่ากับ 0.35% ของรายได้บริษัท ในขณะที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกพบว่า มีค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาอยู่ที่ประมาณ 5-8% ของรายได้

เลาจน์ การบินไทย สุวรรณภูมิ อาหาร

  • การจัดซื้อวัตถุดิบของฝ่ายครัวการบิน (DC) ไม่โปร่งใส ขนาดมะเขือเทศยังซื้อแพง ในราคาลูกละ 25 บาท

สรุปราคามะเขือเทศที่ฝ่ายครัวการบิน (DC) ซื้อมาใช้บริการดังนี้

มะเขือเทศเอ ราคากิโลกรัมละ 28 บาท จำนวน 10 ลูกต่อกิโลกรัม หรือเฉลี่ยราคาลูกละ 2.8 บาท

มะเขือเทศบี ราคากิโลกรัมละ 26.75 บาท จำนวน 13 ลูกต่อกิโลกรัม หรือเฉลี่ยราคาลูกละ 2.05 บาท

มะเขือเทศคละ ราคากิโลกรัม 24.75 บาท จำนวน 10-13 ลูกต่อกิโลกรัม หรือเฉลี่ยราคาลูกละ 1.90-2.47 บาท

  • สวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลของการบินไทยดีกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น

บริษัทให้สวัสดิการรักษาพยาบาล พนักงานปัจจุบัน รวมทั้งพนักงานเกษียณอายุ คู่สมรส และบุตร อายุไม่เกิน 20 ปี จำนวน 3 คน (ยกเว้นบิดามารดา)

ทั้งนี้ ค่ารักษาพยาบาลตามตารางข้างล่างนี้ เป็นอัตราที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งหลายรายการต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น

FAQ 17May2020 ไม่มีเรืองตั๋ว พนง Page3

Avatar photo