COVID-19

เข้ม Social Distancing ‘บุคคล-องค์กร-ชุมชน’ ต้องให้ถึง 80% ขึ้นไป ลดวิกฤติไวรัส COVID-19

กรมอนามัย แบ่ง 3 ระดับ “บุคคล-องค์กร-ชุมชน” สร้าง Social Distancing เข้มข้นให้ถึง 80% ลดวิกฤติแพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19 

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อในระยะใกล้ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด โดยเน้นการ “รณรงค์มาตรการทางสังคม”  พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ผ่านการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ไม่ใช่หลักการทางการแพทย์ที่เข้าใจได้ยาก แต่เป็นตรรกะสำคัญ ที่เข้าใจกันได้ ว่าการลดระยะห่าง ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างแน่นอน

S 28278808

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า นอกเหนือจากการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่มาจากพื้นที่ที่มีการระบาด การสอบสวนโรคกลุ่มที่มีการเจ็บป่วยมีลักษณะ เป็นกลุ่มก้อน และการให้ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยต้องกักตนเอง 14 วัน (Self-Quarantine) แล้ว การเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำ เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัสจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง

ด้วยการสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่น ๆ ในสังคม โดยต้องร่วมมือกันให้ได้ทั้งหมด 80 % จึงจะสามารถเปลี่ยนเส้นทาง การแพร่เชื้อในประเทศไทย ให้ลดลงไปได้ โดยที่ตัวเราเองต้องไม่นำเชื้อไปหาคนอื่น และไม่ออกไปรับเชื้อจากบุคคลอื่นที่มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน

so

โดยสามารถแบ่งระดับของการเว้นระยะห่างทางสังคม ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

1) ระดับบุคคล โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรต้องระมัดระวังในการป้องกันตัวเอง ไม่ควรเดินทางออกจากที่พักอาศัย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันค่อนข้างต่ำ อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น ๆ

และขอให้งดกิจกรรมในชุมชน โดยยึดถือปฏิบัติตามหลัก 3 ล คือ “ลด เลี่ยง ดูแล”  และเว้นระยะห่างจากผู้อื่น 1 – 2 เมตร เพราะเชื้อไวรัส สามารถติดต่อผ่านละอองขนาดเล็ก ที่มาจากการไอ หรือจามได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนหมู่มาก หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ลดการออกไปนอกบ้าน โดยไม่จำเป็น เช่น การไปงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือการไปจ่ายตลาด อาจปรับ ให้น้อยที่สุดอาทิตย์ละ 1 – 2 วัน

2) ระดับองค์กร ควรมีมาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน หรือการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เป็นวิธีที่ช่วย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และการแพร่เชื้อจากการเดินทาง ด้วยขนส่งสาธารณะ ที่มีความแออัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อทั้งภายใน และภายนอกที่ทำงานได้ ด้วยการอยู่ที่บ้าน ทำความสะอาดบ้าน และไม่นำเชื้อโรค เข้าบ้าน

และสำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง ออกจากบ้านเป็นประจำ เมื่อกลับเข้าบ้าน ควรล้างมือทันที หลังจากนั้นควรเปลี่ยนชุด อาบน้ำชำระร่างกาย และแยกซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ในวันนั้นด้วย

TEMPLAM ข่าว 63 002 ตัด

3) ระดับชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ควรลด หรืองดกิจกรรมต่าง ๆ หรือหากไม่สามารถงดหรือเลื่อนได้ เช่น งานศพ ควรลดจำนวนของผู้ที่มาร่วมงาน จัดเก้าอี้ หรือสถานที่ให้อยู่ห่างกันพอสมควร และจัดพื้นที่สำหรับล้างมือ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้ผู้ที่มาร่วมงาน

โดยทุกคนต้องสวม หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย รวมทั้งพยายามให้ช่วงเวลา ที่จัดงานให้สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น และลดกิจกรรมที่อาจมีการสัมผัสระหว่างกันลง ส่วนสถานที่ที่ยังเปิดบริการ เช่น สถานีขนส่ง ขนส่งสาธารณะ ตลาด ผู้ดูแลสถานที่เหล่านี้ ควรปฏิบัติ ตามแนวทางสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประชาชนเว้นระยะห่างระหว่างตัวเอง และผู้อื่น

report04 01

การที่กรมอนามัย และหน่วยงานต่างๆ ต้องออกมารณรงค์เป็นรายวัน โดยขอให้เว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเข้มข้น งดการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น เนื่องจากมีการสำรวจคนไทย 140,000 คน เมื่อสัปดาห์ก่อน ถึงความร่วมมือ ต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ใน 77 จังหวัด เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าประชาชน ป้องกันตัวเองแค่ไหน

ผลสำรวจพบว่า คนไทยร่วมมืออย่างสูงในเรื่องการใส่หน้ากาก 94 % ล้างเมื่อบ่อย 90.5% แต่เว้นระยะห่างจากผู้อื่นน้อย เพียง 65 % โดยเป้าหมายต้อง ทำให้เกินกว่า 80% ขึ้นไป ประเทศไทยจึงจะลดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างแท้จริง

ขณะเดียวกันจนถึงวันนี้ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตกทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดสูงสุด การจราจรบนท้องถนนยังแออัด ถือว่ามาตรการเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ห้ามออกนอกเคหสถาน เวลา 22.00-04.00 น. ไม่ได้ผล คาดว่าจะเพิ่มจำนวนเคอร์ฟิวจาก 6 ชม. เป็น 8 หรือ 10 ชม.  

Avatar photo