Economics

พลังงานตั้งวงถกเอ็นจีโอนัดแรก ประเดิมรื้อโครงสร้าง ‘ราคาหน้าโรงกลั่น’

พลังงานจับมือเอ็นจีโอรื้อโครงสร้างราคาน้ำมัน-ก๊าซ ตั้งคณะทำงานย่อย ลุยราคาหน้าโรงกลั่นก่อน ปลัดพลังงานย้ำจุดยืนถอยคนละก้าว หาข้อยุติที่ยอมรับทุกฝ่าย ขณะที่เอ็นจีโอยืนกรานราคาน้ำมันต้องเลิกอิงราคานำเข้าสิงคโปร์ เหตุมีค่าใช้จ่ายแฝง ส่งผลราคาน้ำมันสูงเกินจริง  ถกนัดแรก 28 พ.ย.นี้ พร้อมเรียกร้องรัฐหั่นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ช่วยค่าครองชีพประชาชน ดีกว่า “ชิมช็อปใช้”

วันนี้ (21 พ.ย.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงาน เพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ประชุมคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ครั้งที่ 1 เพื่อหารือแนวทางการพิจารณาโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ

DSC 5609 ปก

นายกุลิศ กล่าวภายหลังการประชุมฯ ว่า เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ภายหลังจากที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งคณะทำงานฯ มีเป้าหมายร่วมกันในการก้าวข้ามปัญหาข้อโต้แย้ง และความเห็นต่างเรื่องพลังงานที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน ให้ได้ข้อยุติที่เกิดผลเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

DSC 5632
กุลิศ สมบัติศิริ

โดยที่ประชุมมีข้อสรุปแบ่งคณะการทำงานเป็นชุดย่อย 39 คน เพื่อแยกหารือในแต่ละประเด็น ให้การหารือมีความกระชับ และได้ข้อยุติร่วมกันได้เร็วขึ้น ซึ่งได้มีการตกลงกำหนดสัดส่วนคณะย่อยแบ่งเป็น ภาคประชาชน จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน และผู้สังเกตการณ์ 5 คน ภาครัฐ จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน และผู้ติดตาม 5 คน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน พร้อมทั้งเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูลในแต่ละประเด็น ทั้งกรมกองต่างๆ และตัวแทนประชาชน และจะนำข้อสรุปจากการหารือในคณะย่อย เข้าสู่การประชุมในคณะใหญ่ต่อไป

“สิ่งที่เราทำ คือทำงานร่วมกัน และได้ข้อยุติร่วมกัน ส่วนจะเป็นยังไง ยังตอบไม่ได้ แต่ตั้งใจให้ได้ข้อยุติที่รัฐ และประชาชนยอมรับ ถอยออกมาให้ได้ข้อยุติ ” 

LINE P20191121 151012399

ด้านนายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงานในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า ประเด็นที่จะมีการหารือร่วมกันแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2. โครงสร้างราคาก๊าซ ซึ่งมีองค์ประกอบในการหารือ ประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และค่าการตลาด โดยเรื่องแรกที่จะมีการหารือร่วมกันคือ ประเด็นราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งจะประชุมในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 น.

“เราอาจมีข้อมูลคนละชุด ก็ต้องมาคุยกันบนพื้นฐานความจริงใจ และความจริง  อย่างไรก็ตามแต่ละเรื่องของพลังงานอยู่ในองคาพยพเดียวกัน อาจต้องคุยข้ามเรื่องไปมาด้วย ” 

DSC 5595

นางสาวรสนา โตสิตระกูล ตัวแทนภาคประชาชน ระบุว่า ประชาชนเห็นว่าไม่ธรรม และเรียกร้องให้ลดราคาพลังงาน อย่างไรก็ตามต้องมาดูเป็นส่วนๆ เริ่มต้นจากราคาหน้าโรงกลั่น ที่เทียบราคานำเข้าจากสิงคโปร์ ทำให้ประชาชนสงสัยว่าทำไมไม่ใช้ราคาส่งออก แต่เป็นราคานำเข้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ไม้ได้เกิดจริง

“นายสนธิรัตน์ เองก็ต้องการทำในหลายเรื่อง ทั้ง โครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่น ค่าการตลาด ราคาอ้างอิงราคาก๊าซหุงต้ม และภาษีสรรพสามิตรน้ำมัน ซึ่งเดิมเก็บ 50 สตางค์ ตอนนี้เป็น 6 บาท ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของกระทรวงพลังงาน ก็ต้องไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคิดว่าน่าจะจบให้ได้ก่อนปีใหม่ เพื่อให้เห็นผลได้ในสิ้นปี เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน  ” 

แนวทางที่เราต้องการถ้าลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันไปได้ 50% เหลือ 3 บาทต่อลิตร ประชาชนก็จะยินดีแน่นอน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะได้คำสรรเสริญ และช่วยให้เศรษฐกิจถูกกระตุ้น ไม่ใช่กระตุ้นจากการเอาเงินไปแจก แต่ลดต้นทุนค่าครองชีพ และราคาสินค้า แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ต้องกำกับราคาสินค้า เพราะเมื่อราคาน้ำมันลดลง ราคาสินค้าก็ต้องลดลงด้วย

“เรื่องภาษีเป็นนโยบายรัฐบาล เหมือนโครงการชิมช็อปใช้ก็เป็นนโยบายรัฐเช่นกัน แต่ใช้เงินไป 1.6 แสนล้านบาท ขณะที่มีคนได้ประโยชน์ไม่เกิน 5 ล้านคน หากเปลี่ยนนโยบายจากชิมช็อปใช้ มาลดภาษีสรรพสามิต ประโยชน์จะตกกับประชาชนทั้งประเทศ “

ทั้งนี้ในปี 2561 รัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิตได้ 2.3 แสนล้านบาท  เราก็ไม่ได้หวังว่ารัฐจะตัดออกทั้งหมด แต่หากลดลงมาได้ส่วนหนึ่ง เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ ซึ่งกำลังประสบปัญหามาก มีเงินในกระเป๋าน้อย การจับจ่ายน้อย กระทบวงจรเศรษฐกิจในระดับรากหญา ดังนั้นจึงเห็นว่าหากรัฐมีนโยบายลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน จะช่วยเหลือประชาชนได้ทั้งประเทศ

ส่วนค่าการตลาดน้ำมันที่เหมาะสม เห็นว่าบวกลบที่ 1 บาทต่อลิตร ซี่งจริงๆก็เคยมีการคำนวณเป็นมาตรฐานค่าการตลาดเหมาะสมในระดับ 1.50 แต่ขอย้ำว่าทุกวันนี้ค่าการตลาดไม่ได้เป็นกลไกตลาด เพราะหากเป็นจริงตอนนี้ของขายไม่ได้ต้องลดค่าโสหุ้ยลง แต่นี่ไม่ลด เพราะเป็นราคาที่ถูกกำกับ

อีกประการประชาชนมักจะสงสัยกันว่า เวลาน้ำมันขึ้นครั้งละ 50 สตางค์ต่อลิตร แต่เวลาลด 30 สตางค์ต่อลิตร และเงินบาทที่แข็งค่า และบอกว่าเรานำเข้าน้ำมัน แต่ราคาน้ำมันกลับขึ้นได้อย่างไร ทำไมเราจึงไม่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็ง ก็ต้องไปหาคำตอบให้ประชาชนต่อไป

นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนประชาชน กล่าวว่า พลังงานแต่ละเรื่องซับซ้อน ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามแต่ละครั้งที่นัดประชุมจะแถลงข่าวทุกครั้ง และต้องแถลงข่าวร่วมกัน ถ้าเราจะเป็นคณะทำงาน ไม่ใช่แต่ละคนต่างพูด

 

Avatar photo