Sport

เปิดความจุสนามบอลไทย ไหวแค่ไหนจัดบอลโลก

หลังจากชาติอาเซียนร่วมมือเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 หรืออีก 15 ปีข้างหน้า โดยเห็นชอบให้ 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม และ อินโดนีเซีย จัดทำข้อมูลทางเทคนิคประกอบการเสนอตัว และมอบให้ประเทศไทยเป็นหลัก

ซึ่งการจะเป็นเจ้าภาพบอลโลกต้องมีความพร้อมในหลายด้าน ซึ่งเรื่องสำคัญที่สุดคือสนามแข่งขัน

1573884625689
ภาพจาก : @changsuek

การจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2034 ซึ่งหากเป็นไปตามข่าวก่อนหน้านี้ฟีฟ่าเพิ่มจำนวนทีมเป็น 48 ทีม ทำให้ต้องมีสนามแข่งขันทั้งหมด 16 สนาม

โดยสนามที่จะใช้ในรอบแรก และ รอบสอง ต้องมีความจุไม่ต่ำกว่า 40,000 ที่นั่ง ขณะที่ รอบก่อนรองชนะเลิศ และ รอบรองชนะเลิศ ต้องมีความจุ 60,000 ที่นั่ง ส่วนรอบชิงชนะเลิศ และ เกมคู่เปิดสนามจะต้องเป็นสนามที่มีความจุไม่ต่ำกว่า 80,000 ที่นั่ง

แค่ปัจจัยแรกซึ่งเป็นปัจจัยหลักเมืองไทยก็แทบไม่พร้อมจัดแล้ว เราพามาดูว่าว่าสนามในเมืองไทยมี่ความจุเท่าไหร่กันบ้าง

สนามที่ใหญ่ที่สุดของไทยคือ ราชมังคลากีฬาสถาน ที่มีความจุประมาณ 43,000 ที่นั่ง ซึ่งเป็นความจุที่จัดได้แค่รอบแรกและรอบสองเท่านั้น

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย และเป็นสนามหลักภายในสนามกีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมได้ประมาณ 80,000 คน ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

รองลงมาคือ สนามกีฬาติณสูลานนท์ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสงขลา และ สโมสรฟุตบอลวัวชน ยูไนเต็ด

สนามกีฬาติณสูลานนท์ เคยจัดทัวร์นาเมนต์ใหญ่อย่างเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ปี 2541 โดยใช้จัดในรอบแรก และ นัดชิงที่ 3 หรือรอบชิงเหรียญทองแดง โดยเป็นเกมทีมชาติไทย แพ้ ทีมชาติจีน 0-3 มีจำนวนผู้เข้าชมประมาณ 30,000 กว่าคน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้โอนการดูแลสนามมาให้กับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และใช้งบประมาณร่วม 200 ล้านบาทในการปรับปรุงสนามฟุตบอลและสนามอื่นๆ โดยเพิ่มความจุสนามจาก 35,000 ที่นั่งเป็น 45,000 ที่นั่งและเปลี่ยนเป็นเก้าอี้นั่งทั้งหมด และปรับปรุงอัฒจรรย์ฝั่งประธานให้เป็นอัฒจรรย์ 2 ชั้นขนาด 10,000 ที่นั่ง เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ สงขลาเกมส์ ในปี พ.ศ. 2560

1573884628473
ภาพจาก : www.buriramunited.com

สนามใหญ่อันดับ 3 ของไทยคือ ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดี้ยมหรือ “ช้างอารีนา” เป็นสนามเหย้าของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เดิมมีความจุ 24,000 ที่นั่ง ก่อนจะมาปรับปรุงเพิ่มเป็น 32,600 ที่นั่งในปี พ.ศ. 2557

สนามแห่งนี้โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนภายใต้สัญญาการกำหนดชื่อจากไอ-โมบายและบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ จัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานระดับโลกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ, มาตรฐานสนามกีฬาระดับเอจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน

ช้างอารีนาเคยจัดเกมทีมชาติไทยลงเตะมาแล้ว 3 นัดเมื่อเดือนกรกฏาคม 2554 ซึ้งเป็นเกมอุ่นเครื่องกับเมียนมา 2 นัดและเกมฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือกที่ชนะปาเลสไตน์ 1-0 เมื่อ 24 ก.ค.54

ส่วนที่เหลือล้วนเป็นสนามที่มีความจุไม่ถึง 30,000 ที่นั่ง โดยสนามอันดับ 4 คือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 หรือชื่อเดิม สนามกีฬาเมืองหลักเฉลิมฉลอง 333 ปี จังหวัดนครราชสีมา เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขันซีเกมส์ 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 6 – 15 ธันวาคม 2550 โดยชื่ออย่างเป็นทางการได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ซีเกมส์ครั้งนี้จัดคาบเกี่ยวกับพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

1573884622630
ภาพจาก : การตลาด – สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 – จังหวัดนครราชสีมา

ปัจจุบันสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเป็นสนามเหย้าของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี มีความจุ 25,000 คน และสามารถขยายเพิ่มเป็น 45,000 คนได้ในอนาคต

สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เป็นสนามกีฬาที่มีขนาดความจุผู้เข้าชมได้จำนวนประมาณ 25,000 ที่นั่ง[1] ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างขึ้นใน “โครงการสร้างสนามกีฬาเมืองหลักเฉลิมฉลอง 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ณ โรงแรมเชียงใหม่พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่

สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) สนามเหย้าแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด มีความจุประมาณ 25,000 ที่นั่ง อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของ กองการกีฬา กรมสวัสดิการทหารอากาศ

สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 มีความจุ 20,000 ที่นั่ง อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของแบงค็อก ยูไนเต็ด

สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “สนามจุ๊บ” เป็นสนามกีฬาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด มีความจุ 20,000 ที่นั่ง

สนามศุภชลาศัย เป็นสนามกีฬาหลักของกรีฑาสถานแห่งชาติ มีลู่วิ่งสังเคราะห์ สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ มีหลังคาหนึ่งด้าน พร้อมทั้งอัฒจันทร์โดยรอบ ปัจจุบันมีความจุผู้ชมรวม 19,793 ที่นั่ง อยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสุพรรณบุรี เอฟซี เคยใช้ในการแข่งขันกีฬาโรงเรียนอาเซียน 2009 ปัจจุบันมีความจุทั้งหมด 15,279 ที่นั่ง

1573884632367

จะเห็นได้ว่าสนามในเมืองไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นสามารถเป็นศูนย์กลางการจัดฟุตบอลโลกได้ โดยทำได้เพียงจัดในรอบแรกเท่านั้น

แต่หากได้เป็นเจ้าภาพจริงต้องทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาลในการสร้างสนาม 80,000 ที่นั่งเพื่อรองรับพิธีเปิดและเกมนัดชองชนะเลิศ

จากนั้นจะมีคำถามตามมา สร้างเสร็จแล้ว จะใช้ทำอะไรต่อ เมื่อราชมังคลากีฬาสถานที่จุ 4 หมื่นกว่าคนดูยังโหลงเหลงอยู่เลย

ตัวอย่างแอฟริกาใต้ กับ บราซิลมีให้เห็นทุ่มเงินมหาศาลเพื่อสร้างสนามใหม่

ทุกวันนี้เป็นเพียง “อนุสรณ์สถานฟุตบอลโลก”

Avatar photo