Finance

‘ธนชาต’ อาณาจักรแห่งความแข็งแกร่ง

หากเอ่ยชื่อ “ธนชาต” คนส่วนใหญ่จะนึกไปถึงธนาคารธนชาต ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ ซึ่งกำลังจะรวมกิจการกับธนาคารทีเอ็มบี กลายเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมีสินทรัพย์รวมแตะ 2 ล้านล้านบาท ให้บริการลูกค้ากว่า 10 ล้านราย

logo TCAP

การนำธนาคารธนชาต ไปรวมกิจการกับทีเอ็มบี ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งของ บมจ.ทุนธนชาต หรือ TCAP ซึ่งเป็น Financial Holding Company ชั้นนำของไทย ที่ใช้เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างมั่นคงในระยะยาว

TCAP จะได้รับประโยชน์และส่วนแบ่งจากการเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารหลังการรวมกิจการที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพในการเติบโตและทำกำไรได้มากขึ้นในอนาคต

ธนชาตไม่ได้มีดีแค่ธนาคาร

ศักยภาพของกลุ่มธนชาตที่มี ทุนธนชาต (TCAP) เป็นบริษัทแม่ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียง ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เท่านั้น ยังมีบริษัทลูกอีกหลายบริษัทที่ธุรกิจมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลมายังความสามารถในการทำกำไรที่ยั่งยืนให้กับ TCAP

เมื่อดูถึงผลประกอบการ TCAP ล่าสุด ไตรมาส 3 ปี 2562 TCAP และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม จำนวน 4,616 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทจำนวน 2,472 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 573 ล้านบาท หรือ 30.17% จากไตรมาสก่อน

ในส่วนของงวด 9 เดือน กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทมีจำนวน 6,387 ล้านบาท  เป็นผลมาจากความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ของธนาคารธนชาต ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ TCAP ที่ยึด ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยมุ่งเน้นในการเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) ของลูกค้า ทำให้ธนาคารธนชาตมีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไตรมาสนี้ที่ธนาคารฯ สามารถสร้างกำไรสุทธิที่สูงเป็นสถิตินิวไฮได้ด้วย

ที่มผู้บริหาร TCAP
ทีมผู้บริหาร TCAP

ศักยภาพ TCAP ยังคงแข็งแกร่ง หลังรวมกิจการ ธนชาตทีเอ็มบี

ธุรกิจของ TCAP จะยังคงมีศักยภาพสูงขึ้นตามโอกาสทางธุรกิจของธนาคารใหม่ที่เพิ่มขึ้น (ธนชาตรวมทีเอ็มบี) เนื่องจาก TCAP ถือเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารใหม่นี้ ด้วยสัดส่วนที่มากกว่า 20% ขณะที่โครงสร้างการลงทุนของ TCAP จะมีการปรับเปลี่ยนภายหลังการรวมกิจการของธนาคารใหม่

การลงทุนด้วยการถือหุ้นของ TCAP ในบริษัทต่างๆ จะประกอบด้วย ธนชาตประกันภัย 51% บล.ธนชาต 51 % ราชธานีลิสซิ่ง 65.2% (ถือผ่านนิติบุคคล-SPV) บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็นเอฟเอส 100% บริษัทบริหารสินทรัพย์ เม็กซ์ 83.44% บริษัทบริหารสินทรัพย์.ทีเอส 100% เอ็มบีเคไลฟ์ประกันชีวิต 51%

ดังนั้น ผลการดำเนินงานของ TCAP ยังจะคงมีรายได้ที่ดีจากธุรกิจที่หลากหลาย แม้ธนาคารธนชาตไปรวมกิจการกับทีเอ็มบีแล้ว สะท้อนจากผลการดำเนินงานในทุกๆ ไตรมาสที่ผ่านมา บริษัทลูกต่างก็โชว์ผลประกอบที่ดีกันถ้วนหน้า

tcap

MBK 1 ในการลงทุนของ TCAP กับธุรกิจที่กำลังเติบโต

นอกเหนือจากการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเงินแล้ว เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า TCAP ยังมีการลงทุนในธุรกิจแขนงอื่นๆ ด้วย เช่น ใน บมจ.เอ็ม บี เค ที่ถืออยู่เกือบ 20%

MBK เป็น 1 ในบริษัทชั้นนำของประเทศ มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ประกอบด้วย ธุรกิจศูนย์การค้า ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจอาหาร ธุรกิจการเงิน ธุรกิจกอล์ฟ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจอื่นๆ โดยผลประกอบการของ MBK ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีสินทรัพย์รวม 4.9 หมื่นล้านบาท มีกำไร 2,881 ล้านบาท

ที่น่าสนใจคือ  MBK ยังถือหุ้นอยู่ใน บริษัทสยามพิวรรธน์ 47.98 % โดยสยามพิวรรธน์ เป็นผู้นำใน ธุรกิจศูนย์การค้าของประเทศ มีศูนย์การค้าที่เรียกได้ว่าเป็นระดับแลนด์มาร์คของประเทศทั้ง ไอคอนสยาม สยามพารากอน รวมถึง ศูนย์การค้าที่อยู่ในทำเลทอง เช่น สยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์

และล่าสุด สยามพิวรรธน์ ยังเตรียมเปิดโครงการ สยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต แบงค็อก ศูนย์การค้าระดับลักซูรี พรีเมียม เอาท์เล็ต อีก 3 แห่งอีกด้วย

Avatar photo