Digital Economy

หรือวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จะมาจาก Digital Economy?

wwww

ธนาคารโลกเปิดภาพรวมความมั่งคั่งใน 141 ประเทศ พบเพิ่มขึ้น 66% และในส่วนของความมั่งคั่งต่อประชากรเพิ่มขึ้น 31% โดยประเทศที่มีฐานรายได้ระดับกลางกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ของโลก จากเดิมอยู่ที่ 19% ในปี 2538 เป็น 28% ในปี 2557

แต่ข่าวร้ายก็มีเช่นกัน เมื่อในจำนวนนี้มี 25 ประเทศที่มีระดับความมั่งคั่งลดลง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ในประเทศที่มีความมั่งคั่งสูงนั้น ต้นทุนด้านทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำคัญที่สุด ขณะที่ประเทศยากจน พบว่ามีต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติเหนือกว่าทรัพยากรมนุษย์ค่อนข้างมาก

การเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวมีขึ้นในเวทีประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2561 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ในหัวข้อ The Changing Wealth of Nation : Stretegies for Asia-Pacific in the Age of Sustainability โดยนาย Wuentin T. Wodon จากธนาคารโลก ที่พบว่า การวัดความมั่งคั่งของแต่ละประเทศด้วยจีดีพีนั้นไม่ตอบโจทย์ความต้องการของโลกการค้ายุคใหม่ได้อีกต่อไป
eeeee

โดยนาย Wuentin T. Wodon มองว่า หากจะวัดประสิทธิภาพของประเทศ ควรต้องมองให้ลึกไปกว่าแค่ตัวเลขจีดีพี เนื่องจากมีปัจจัยของการสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนซ่อนอยู่เบื้องหลังตัวเลขจีดีพีให้ต้องพิจารณา ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่

  • Produced Capital ได้แก่ เครื่องจักร ถนน เมือง
  • Human Capital ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ (ซึ่งในจุดนี้ถือเป็นทรัพยากรที่จะสร้างความมั่งคั่งในอนาคตด้วย)
  • Natural Capital ได้แก่ น้ำมัน แร่ พื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้
  • Net Foreign Assets ได้แก่ ตัวเลขสินทรัพย์และหนี้สินของประเทศ

rrrrr
สำหรับแผนภูมินี้เป็นการวัดการเติบโตของความมั่งคั่งในระดับภูมิภาค จากปี 2538 – 2557 ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องปกติ ทว่าในแผนภูมิต่อมา กลับพบว่ามีตัวเลขบางอย่างที่ผิดปกติ
44444

โดยตัวเลขจากแผนภูมินี้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่น่ากังวล เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำกำลังกลายเป็นปัญหาใหม่สำหรับระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากความมั่งคั่งต่อหัวของประเทศกลุ่ม Low Income นั้นต่างจากกลุ่ม High Income OECD ถึง 52 เท่า 

ในรายงานฉบับนี้ ยังพบด้วยว่า ความไม่เท่าเทียมยังเกิดจากเพศด้วย เนื่องจากผู้หญิงได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ชาย แต่ถ้าหากพวกเธอได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเทียบเท่าผู้ชายแล้วนั้น ตัวเลข Human Capital ในระดับโลกจะเพิ่มขึ้นอีกราว 160 ล้านล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

ยยยย

นอกจากนี้ สถานการณ์โลกยังถูกกดดันเพิ่มขึ้นจากสงครามการค้าของประเทศมหาอำนาจ อย่างจีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งในท้ายที่สุด ประเทศที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากนั้น อาจเป็นประเทศยากจนที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร หรือเทคโนโลยีได้นั่นเอง

โดย ดร.ศุภชัย พาณิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการอังค์ถัด กล่าวให้สัมภาษณ์ภายในงานดังกล่าวว่า การกดดันทางการค้าไม่ใช่ผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโลก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของประเทศผู้นำที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ด้วยวิธีปกติ จึงต้องใช้วิธีที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว พร้อมชี้ด้วยว่า ประเทศผู้นำเหล่านั้นจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำของตัวเองอย่างน่าเศร้าใจด้วย

20180703 110838

พร้อมกันนี้ ดร.ศุภชัย ยังได้ชี้ว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ควรจะจับมือกันให้แน่นไว้ในภาวะเช่นนี้ รวมถึงหากมีโอกาสควรจะช่วยเหลือประเทศยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ได้รับผลกระทบจากการเอาเปรียบของชาติร่ำรวยก็ควรทำด้วย โดย ดร.ศุภชัยชี้ว่า ไม่จำเป็นต้องตั้งป้อมสู้กัน เพราะเวลานี้เป็นเวลาที่ต้องช่วยเหลือกัน ประเทศในกลุ่มเอเชีย จะ AEC ก็ดี ASEAN ก็ดี ฯลฯ เรามีเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่แอฟริกาต้องการมาก และแอฟริกามีทรัพยากรที่รอการใช้งานอยู่มากเช่นกัน ในจุดนี้จึงมองว่าเป็นการจับมือที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

Digital Economy อาจเป็นตัวการก่อวิกฤติรอบใหม่?

ดร.ศุภชัยยังได้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของโอกาสการเกิดวิกฤติรอบใหม่ของโลกว่าอาจมาจากยุคของ Digital Economy นี่เอง โดยความเสี่ยงมาจากสองปัจจัย นั่นคือเรื่องของสกุลเงินดิจิทัล (CryptoCurrency) และการรุกตลาดของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติอย่าง อะเมซอน, อาลีบาบา, เทนเซนต์ ฯลฯ ที่ในวันนี้มีสเกลในการบุกทะลวงตลาดของประเทศต่าง ๆ อย่างมาก และหากรัฐบาลของแต่ละประเทศไม่เตรียมตัวตั้งรับให้ดี ก็อาจประสบวิกฤติที่รุนแรงได้

“แพลตฟอร์มพวกนี้ อย่าคิดว่าเขาเข้ามาในบ้านเราแล้วจะโปรโมตสินค้าของเรา เขาต้องโปรโมตสินค้าของเขาก่อน เพราะเขาเกิดขึ้นมาได้เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนและมีส่วนช่วยสร้าง เขาต้องอุดหนุนและช่วยคนของเขาก่อน ดังนั้นอย่าเชื่อมากนักที่เขาบอกว่า จะเป็นตัวเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้บ้านเราได้ เราต้องรู้เท่าทัน และรู้ว่าเรามีอะไรรองรับหรือเปล่า มีใครคอยกำกับดูแลเขาหรือไม่ เขาเข้ามาละเมิดกฎหมายใดของเราหรือเปล่า ซึ่งตอนนี้เขาคุมแทบทั้งหมดแล้ว ทั้งลอจิสติกส์ เพย์เมนต์ เราต้องมีเงื่อนไขและกฎระเบียบขึ้นมา ไม่ใช่มีเพื่อปิดกั้น แต่มีเพื่อทำให้มันโปร่งใส”

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลไทยมีความเข้าใจปัญหาดังกล่าว เห็นได้จากการพยายามกระจายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังชนบท เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอาจยังไม่เพียงพอ แต่สิ่งที่สังคมไทยควรตระหนักไปพร้อมกันด้วยก็คือ ไม่ควรปล่อยให้โซเชียลมีเดียกลายเป็นตัว Digitization ของเศรษฐกิจไทย เพราะการ Digitization ของประเทศไทยควรลงไปที่เกษตรกรมากกว่า เช่น ระบบเซนเซอร์ในการตรวจดูน้ำ การวัดดินฟ้าอากาศ พร้อมบอกด้วยว่า หากไม่รีบปรับเปลี่ยนกันเสียแต่เนิ่น ๆ ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งมากขึ้นนั่นเอง

Avatar photo