Economics

เปิดเส้นทาง ‘GPSC’ กับเทคโนโลยี ‘แบตเตอรี่’ ตอบโจทย์พลังงานยั่งยืน

ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญต่อการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรา และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

v1 5

อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมามีข้อจำกัดต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ในการผลิต ซึ่งในอนาคตฟอสซิลก็จะหมดลง ดังนั้นทุกประเทศ จึงมุ่งหานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ จนทำให้ธุรกิจพลังงานกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน นับเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงจนเป็นเทรนด์ของโลก โดยเฉพาะไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย (โซลาร์รูฟ) เนื่องจากตอบโจทย์ที่แสงอาทิตย์ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาด และยังมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่นับวันก็ยิ่งถูกกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลมากขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้ จึงทำให้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) มาแรงแซงโค้งเมื่อเทียบกับไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น ลม ชีวมวล ฯลฯ แต่จุดอ่อนคือการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ

v1 7

สำหรับไทยนั้น มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ซึ่งขณะนี้เตรียมปรับปรุงสู่แผนใหม่หรือ AEDP 2018 และยังกำหนดนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มุ่งสู่การนำนวัตกรรมมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต

แน่นอนว่าหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกกำหนดไว้คือ ยานยนต์ไฟฟ้า เพราะโลกกำลังมุ่งไปสู่ทิศทางดังกล่าว ทำให้กลุ่ม ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของประเทศ ที่ดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน จึงมองการขยายโอกาสไปยังธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ทิศทางการใช้พลังงานในอนาคตและนโยบายรัฐ

v1 4

การลงนามของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในฐานะแกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เมื่อเร็วๆ นี้ ในสัญญา “โครงการวิจัยและพัฒนาโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ (Pilot Plant) ด้วยเทคโนโลยีเซมิ-โซลิด (Semi-Solid)” จึงนับเป็นการปูพรมเส้นทางที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของธุรกิจใหม่ในอนาคต ในการต่อยอดเทคโนโลยีแบตเตอรี่หรือระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อปิดจุดอ่อนของพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟได้ต่อเนื่อง เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและกลไกทางธรรมชาติ

v1 3

การที่ตลาดแบตเตอรี่เริ่มเป็นที่ต้องการของหลายภาคธุรกิจ ทั้งเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน การบริหารจัดการพลังงานภายในชุมชน หรือเมือง ในรูปแบบ Smart Energy ส่งผลให้ ปตท. และ GPSC มีแนวคิดสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ เพื่อต่อยอดไปสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มที่การตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบด้วยกระบวนการผลิต Semi-Solid ในสหรัฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท 24 M Technology ที่ GPSC เข้าไปร่วมลงทุน เพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็ว และสะดวกต่อการพัฒนาพร้อมนักวิจัย

เบื้องต้น ได้วางกรอบการดำเนินการในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2563 ด้วยกำลังการผลิต 10 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งโรงงานต้นแบบนี้สามารถผลิตแบตเตอรี่สูตร LFP เพื่อใช้งานภายในบ้านที่อยู่อาศัย และแบตเตอรี่ Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide หรือ NMC สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าได้

v1 1

เทคโนโลยี Semi-Solid เป็นคำตอบของนวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบใหม่ของ 24M Technology จุดเด่นอยู่ที่กระบวนการออกแบบเซลล์แบตเตอรี่ให้มีความปลอดภัยสูง และสามารถลดขั้นตอนกระบวนการผลิตได้มากกว่า 50% ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำวัสดุบางอย่างกลับมาใช้ได้ใหม่

“ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่กักเก็บไม่ได้ หรือกักเก็บได้ก็ยังมีต้นทุนที่สูงอยู่ ขณะเดียวกันเราจะใช้ไฟได้ก็ต้องมีระบบสายส่งไปถึงบ้านเรือนเรา สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายว่าเราจะทำเรื่องนี้ได้อย่างไร ขณะที่โลกกำลัง MOVE ไปหาพลังงานหมุนเวียนเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในอนาคต หากโรงงานต้นแบบสำเร็จแล้ว เชื่อว่ากลุ่ม ปตท. จะลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าว แต่เป็นขนาดเล็ก เพื่อใช้ในพื้นที่เขตนวัตกรรมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้แบตเตอรี่สำหรับผลิตไฟฟ้าสูงก่อน” นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GPSC กล่าวด้วยความมุ่งมั่น

v1 2
ชวลิต ทิพพาวนิช

GPSC ได้ร่วมมือกับ ปตท. ทดลองนำร่องการพัฒนา Smart Energy Community ในพื้นที่ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง ซึ่งจะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟ และโซลาร์ลอยน้ำ นำระบบบล็อกเชนมาใช้ซื้อขายไฟฟ้าแต่ละอาคาร และใช้เทคโนโลยี AI ติดตามสภาวะอากาศการผลิต และเลือกใช้แหล่งผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม

ความร่วมมือที่เกิดขึ้น ถือเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่ GPSC พร้อมนำนวัตกรรมมาเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ ที่จะรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในอนาคต

v1 8

การที่จะเคลื่อนไหวไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้พลังงานที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจทั้งในด้านโครงสร้างทางการเงิน และความพร้อมของทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ จึงเป็นที่มาของการปรับโครงสร้างทางการเงิน โดยการเปิดขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในราคา 56 บาทต่อหุ้น เป็นโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานอนาคต จองซื้อได้ตั้งแต่ วันที่ 30 กันยายน – 4 ตุลาคม 2562 หรือ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ WWW.GPSCGROUP.COM

 

และนี่คือ Journey ของกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในอนาคต ซึ่ง GPSC พร้อมคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมพลังงาน เพื่อนำไปพัฒนา และขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ด้วยแผนการเพิ่มทุนเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

Avatar photo