The Bangkok Insight

‘SD Symposium 10 Years’ รณรงค์ลดปัญหาขยะโลก

“เอสซีจี” เจ้าภาพใหญ่ ระดมความร่วมมือองค์กร-บริษัทชั้นนำระดับโลก และไทย รวมกับหน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน แก้วิกฤติขยะโลก

วันนี้ (26 ส.ค.) เอสซีจีเป็นเจ้าภาพจัดงาน “SD Symposium 10 Years: Collaboration for Action” เพื่อเผยแพร่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านงานสัมมนา SD Symposium ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ 10 มีองค์กรระดับโลก ทั้งภาคธุรกิจ และองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงทุกภาคส่วนในประเทศไทยเข้าร่วมกว่า 1,500 คน

IMG 20190826 100951ในปีนี้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางรณรงค์ใหญ่ในปีนี้  เพื่อให้เกิดความร่วมมือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดวงจรการผลิต การบริโภค และการนำกลับมาใช้ แก้ปัญหาขยะ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1 รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวต้อนรับ

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า การขยายตัวของประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 9,700 ล้านคนภายในปี 2593 นำไปสู่ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ขณะที่ทรัพยากรโลกมีจำกัด

และจากข้อมูลพบว่า คนไทยสร้างขยะเฉลี่ย 1.15 กิโลกรัมต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2561 ไทยมีขยะถึง 28 ล้านตัน ซึ่งหากทิ้งไม่ถูกต้องหรือขาดการจัดการที่ดี ขยะกองนี้ย่อมไหลสู่ทะเล จนเกิดการสูญเสียของสัตว์ต่างๆ ดังพะยูนน้อย “มาเรียม”

ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสนับสนุนการหมุนเวียนทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต (Make-Use-Return) จึงเป็นทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จากการใช้ทรัพยากร และพลังงานให้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดกระบวนการ รวมถึงการ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ไม่ทิ้งในแม่น้ำลำคลอง หรือทะเล เพื่อส่งต่อทรัพยากรของโลกสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

8 งาน SD SYMPOSIUM 10 YEARS

ที่ผ่านมา เอสซีจีได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้การดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย

1.Reduce และ Durability การลดใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น ใช้กระดาษน้อยลง

2.Upgrade และ Replace การพัฒนานวัตกรรม เพื่อทดแทนสินค้าหรือวัตถุดิบชนิดเดิม ด้วยสินค้า หรือวัตถุดิบชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ใช้ทรัพยากรน้อยลงหรือนำไปรีไซเคิลได้มากขึ้น

3.Reuse หรือ Recycle การเพิ่มความสามารถในการหมุนเวียนสินค้าที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น การผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างที่มีสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลในการผลิตสูงขึ้น

ในปี 2561 เอสซีจีสามารถนำของเสียอุตสาหกรรมมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบทดแทน 313,000 ตันของเสียต่อปี และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทน 131,000 ตันของเสียต่อปี

สำหรับปีนี้ยังคงเดินหน้าการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป โดยได้ตั้งเป้าการลดการผลิตพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) จาก 46% เหลือ 20% ภายในปี 2568 และเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ เป็น 100 % ภายในปี 2568 เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างโรงงานรีไซเคิลในอนาคตอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการขับเคลื่อนของรัฐบาลด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยเฉพาะการออกกฎหมาย และการบริหารจัดการระบบจัดเก็บขยะที่เข้มงวด แต่เป็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะเป็นกุญแจสำคัญ

9 การผนึกกำลังของ 45 พันธมิตร ร่วมขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

จากการประเมินพบว่า 1 ปีที่ผ่านมา ได้เห็นการตื่นตัวของทุกภาคส่วน ซึ่งที่ผ่านมาเอสซีจีจับมือกับพันธมิตรกว่า 45 รายเดินหน้าเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยองค์กรความร่วมมือระดับโลก 5 ราย ภาครัฐ 3 ราย ภาคเอกชน 29 แห่ง โรงเรียน และชุมชน 8 แห่ง

สำหรับเวทีการเสวนาครั้งนี้ มีตัวแทนจากพันธมิตรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดงานในหัวข้อต่างๆจำนวนมาก นาง Amina J. Mohammed รองเลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวผ่านสาร มีสาระสำคัญ ว่าการที่เวทีนี้มีการนำเสนอเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ถือเป็นจังหวะที่ถูกต้องและตรงเวลาที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเดินหน้าตามหลัก 3R คือ Reduse Reuse Recycle เพื่อลดปริมาณขยะ ไม่ทิ้งปัญหาไว้กับคนรุ่นหลัง ขณะเดียวกันก็ยังทำให้เกิดการจ้างงาน และไม่ขาดตอนในการสร้างการเติบโต ผ่านความร่วมมือของภาคธุรกิจ รัฐ และภาคประชาสังคม

3 VTR จาก ดร สุวิทย์ เมษินทรีย์

ส่วนการเสวนาหัวข้อ ” Circular Economy -Act Now for A Better World “  ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กล่าวผ่านวิดีโอ ว่าหลักการสำคัญของการทำเรื่องนี้ คือ การปรับพฤติกรรมของคน การรักษาทรัพยากรด้วยกลไกต่างๆ  และส่งเสริมนวัตกรรมที่ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน ที่สำคัญต้องมีความร่วมมือ ให้เศรษฐกิจหมุนเวียนครอบคลุมทุกระดับ ทั้งระดับปัจเจกลุคคล ไปจนถึงระดับประเทศ

ขณะที่นาย Lars Svensson ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน และการสื่อสาร บริษัท อีเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า อีเกียให้ความสำคัญกับการลดใช้ขยะ มีการรีไซเคิลถึง 75% รวมถึงจัดโปรแกรมนำของเก่ามาแลก ได้เงินคืนด้วย เป้าหมายของเราจะนำขยะมารีไซเคิลให้ได้ทั้งหมด ไม่มีขยะเทกอง  และการที่เราดำเนินธุรกิจแบบบนี้ ก็ทำให้ลูกค้ากลับมาหาเรา

นอกจากนี้ในงานยังได้นำกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ มาสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมช่วยกันลดปริมาณขยะ สตาร์ทอัพอย่าง นายอมรพล หุวะนันทน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Moreloop ซึ่งนำเศษผ้าที่ไม่ใช้งานตามโรงงานต่างๆ รวบรวมเป็นศูนย์กลางซื้อขายผ้าให้กับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ รวมถึงการนำเศษผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าต่างๆ ที่กำลังได้รับความนิยมสูง กล่าวว่า จากการดำเนินงานของเราที่ผ่านมาช่วยลดขยะจากเศษผ้าได้ถึง 5,286 กิโลกรัม ลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 79,289 กิโลกรัมคาร์บอน

5 น้องลิลลี่ เด็กหญิงระริน สถิตธนาสาร เยาวชนนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม

ส่วนน้องลิลลี่ เด็กหญิงระริน สถิตธนาสาร เยาวชนนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม อายุ 12 ปี ออกมารณรงค์ให้ทุกภาคส่วนคิดมากกว่าการรีไซเคิล นั่นคือการเลิกใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ และที่ผ่านมาได้ไปเข้าพบผู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจในภาคส่วนต่างแล้ว เพื่อบอกเล่าในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง

IMG 20190826 101248

โดยภายในงานยังมีเยาวชนอาเซียนทั้ง 10 ประเทศออกมานำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ พร้อมกับย้ำคำสำคัญ คือ “Save Our World ” เพราะโลกนี้มีเพียงใบเดียว 

SD SYMPOSIUM 10YEARS 4 1024x683

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลก ยังร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงสิ่งที่ทุกคนได้ร่วมกันลงมือลดปัญหาขยะ ภายใต้หัวข้อ Accelerating Circular Economy through Collaboration”

นาย Craig Buchholz ,Chief Communication Officer ,P&G สมาชิกของ Alliance to End Plastic Waste : AEPW ร่วมมือกับ 39 บริษัทตลอดห่วงโซ่ เพื่อลดการใช้พลาสติกและลงเงินร่วมกัน เพื่อช่วยกำจัดขยะทะเลในมหาสมุทร

ขณะที่ นาย Benjamin Sporton , Chief Executive ,Global Cement  and Concrete Association : GCCA) เล่าถึงการจับมือของกลุ่มธุรกิจซีเมนต์ทั่วโลก รวมถึงเอสซีจี ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างมีความยั่งยืน เช่น การนำขยะจากงานก่อสร้างไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำถนน เป็นต้น

นาย Graham Houlder ,Project Co-ordinator ,Circular Economy for Flexible Packaging (CEFLEX) บอกถึงการปรับบรรจุภัณฑ์เป็นแบบยืดหยุ่น ช่วยลดใช้พลาสติก และเพิ่มพื้นที่การขนส่ง

สำหรับนายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บอกถึงแผนการดำเนินธุรกิจว่าจะปรับพอร์ทผลิตภัณฑ์สีเขียวให้ได้ 30% ภายในปี 2573 ผ่านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงภารกิจกระตุ้นสังคม โดยนำขยะพลาสติกไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เสื้อ กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ จะเดินหน้าต่อไป

IMG 20190826 122402 ตัด

ด้านนายชลณัฐ ญาณารณพ ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี สรุปตอนท้ายว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาใหญ่ จะแก้ปัญหาโดยคนคนเดียวทำไม่ได้แน่นอน เพียงแต่ทุกคนต้องเปิดใจ ต้องพร้อมทำงานหนักในการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้ง จึงจะมีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล

4 1 3

ในภาคบ่ายของงาน “SD Symposium 10 Years: Collaboration for Action” ยังมีการจัดห้องเสวนาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และประชุมเชิงปฏิบัติการ ใน 3 หัวข้อที่น่าสนใจ ประกอบด้วย Thailand Waste Management Way Forward ,Transformation to the Circular Built Environment และ Partnerships for  Circular โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังทั้ง 3 ห้องจำนวนมาก ก่อนจะจบลงด้วยปาฐกถาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

4 5 ดร สุเมธ ตันติเวชกุล 1

Avatar photo