Technology

อีคอมเมิร์ซ แรงขับเคลื่อน ‘โลจิสติกส์’ ลงทุน ‘เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก’

ผลสำรวจจาก ซีบรา เทคโนโลยีส์ เผย องค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เห็นตรงกันว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีพกพา เป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ ที่จะเห็นการลงทุนในเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก อย่าง เออาร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาแทนการใช้กระดาษ เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้พนักงานภาคสนามให้ทำงานได้ดีขึ้น

logistics services

 

ผลงานวิจัยเรื่อง อนาคตการปฏิบัติงานภาคสนาม (Future of Field Operations) ยังพบว่า องค์กรด้านการขนส่งในเอเชียแปซิฟิกกว่า 60% จะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์พกพามากขึ้นเรื่อยๆ และการลงทุนที่เกิดขึ้น เป็นไปเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับบริการ โดยธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและถูกสำรวจในรายงานนี้ได้แก่ ธุรกิจระบบการจัดการพาหนะขนส่ง ธุรกิจบริการภาคสนาม ธุรกิจที่ให้บริการด้านหลักฐานในการขนส่ง และธุรกิจที่ให้การดูแลทุกขั้นตอนการส่งสินค้าไปจนถึงมือผู้รับ

นายทาน อิ๊ก จิน ผู้จัดการฝ่ายเวอร์ติคอลโซลูชั่น อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และโลจิสติกส์ ประจำเอเชียแปซิฟิก ซีบรา เทคโนโลยีส์ เปิดเผยว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ความคาดหวังของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสั่งสินค้า การยกระดับการบริการภาคสนามให้แตกต่างจากคู่แข่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจ

มร. ทาน อิ๊ก จิน และ คุณศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์

ดังนั้น ธุรกิจจึงเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองด้านการลงทุน โดยหันมาให้ความสำคัญกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพามากขึ้น โดยงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความท้าทายภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่แปรผันตามความต้องการตลาด เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (เออาร์) และระบบฉลากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (intelligent labels) มาปรับใช้ เพื่อยกระดับการทำงานให้ทันสมัย

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า 3 สิ่งหลักที่ส่งผลให้องค์กรด้านการขนส่งทั่วเอเชียแปซิฟิกต้องปรับเปลี่ยนการให้บริการเนื่องจาก 1.ความคาดหวังเรื่องประสิทธิภาพและบริการที่ได้รับผู้ของบริโภคในยุคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น 2.เทรนด์การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาแทนการใช้กระดาษได้รับความนิยมมากขึ้น และ 3.การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่และระบบเครือข่ายที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย
ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์

ทั้งนี้พบว่า มากกว่าครึ่งขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กรมาใช้เป็นอันดับหนึ่ง โดยองค์กรที่มีความคิดก้าวหน้าเหล่านี้ใช้ 3 กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง กล่าวคือ องค์กรเหล่านี้จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร องค์กรเหล่านี้จะทำการวิเคราะห์ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ท้ายสุดคือองค์กรเหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

ผลสำรวจยังคาดการณ์ว่า ในระหว่างปี 2561 – 2566 อัตราส่วนการใช้งานคอมพิวเตอร์พกพาที่มาพร้อมเครื่องสแกนบาร์โค้ดในตัวจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 41% ส่วนการใช้เครื่องพิมพ์พกพาและแท็บเล็ตสำหรับงานภาคสนาม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 60% และ 57% ตามลำดับ ซึ่งความถูกต้องแม่นยำต่อการจัดการสินค้าในคลัง การจัดส่ง และในการตรวจสอบสินค้าคงคลังจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่องค์กรเพิ่มขึ้น

Picture1

เมื่อลงลึกไปในรายละเอียดจะพบว่า องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเร็วกว่าองค์กรอื่นๆ โดยจะมีการใช้งานระบบเซนเซอร์ เทคโนโลยีการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ (RFID) และระบบฉลากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น จาก 76% ในปี 2561 เป็น 98% ในปี 2566 ส่วนเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) จะมาใช้ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น จาก 68% ในปี 2561 เป็น 95% ในปี 2566

นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อควบคุมข้อมูลสินค้า หรือเอกสารจากบริษัทคู่ค้า โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2561 เป็น 96% ในปี 2566 อีกด้วย

Avatar photo