General

‘สุรเกียรติ์’ แนะสอนหนังสือยุคดิจิทัล เน้น ‘โค้ช’ แทนตำราเรียน

ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับเชิญปาฐกถาหัวข้อ “Challenges of Law and Economics Education in the Disruptive Word” ในงาน Asian Law and Economics Conference 2019 : Law and Economic in a Disruptive World ซึ่งจัดโดย คณะนิติศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Asian Law & Economics Association  โดยมีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงทั่วโลกมาร่วมเสนองานวิจัยในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) กับมิติทางกฎหมาย และบิ๊ก ดาต้า กับมุมมองทางกฎหมายเป็นต้น

S 15269894

ในการปาฐกาถาครั้งนี้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์ได้ย้ำถึงสิ่งท้าทายการเรียนการสอนกฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ ว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่การเรียนการสอนกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ต้องก้าวให้ทันโลกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้

กระบวนการผลิตที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และการวิเคราะห์บิ๊ก ดาต้า  เทคโนโลยีการเงิน(ฟินเทค) ธุรกรรมด้านนันทนาการ (entertainment services) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย และเศรษฐศาสตร์เปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

S 15269897

ดังนั้น หลักสูตรกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์กฎหมายด้วยเศรษฐศาสตร์ ต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของความจริง ซึ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การมีหลักสูตรระยะสั้นๆ เพื่อฝึกทักษะ และเพิ่มทักษะ จะเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะมีงานทำ มากกว่าหลักสูตรปริญญาต่างๆ

อาจารย์ที่สอนกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ต้องกล้าเดินออกมาจากเขตที่ตนคุ้นเคย (comfort zone) กล้าเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ กล้าสอนร่วมกับนักปฏิบัติทางเทคโนโลยี อาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้แนะนำ มาเป็นโค้ชมากขึ้น ไม่ใช่สอนหรือเลคเชอร์ในสิ่งที่นิสิต นักศึกษาค้นหาได้ในกูเกิล หรือยูทูบ แต่ต้องเปลี่ยนห้องเรียนมาเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มาถกปมปัญหา และแนะแนวทางแก้ปมปัญหาเหล่านั้น

S 15269896

นอกจากนี้ วิชาต่างๆ อาจต้องมีการรวมกลุ่มศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันมากขึ้น เช่น อาจมีวิชาฟินเทค ที่ต้องมีนักวิชาการ และนักปฏิบัติทางสาขากฎหมาย เศรษฐศาสตร์ บัญชี การเงิน และสาขาเทคโนโลยีมาสอน มาเป็นโค้ชร่วมกัน

Avatar photo