Sme

เปิดมุมมอง ‘เนียร์ อียาร์’ เจ้าของทฤษฏี ‘Hook Model’ ส่องทิศสตาร์ทอัพไทย

ในโอกาสที่ “เนียร์ อียาร์” (Nir Eyal) ผู้เขียนหนังสือ HOOKED : How to Build Habit-Forming Product หนังสือขายดีอันดับ 1 ในหมวด Product Management บน amazon.com และกูรูด้านสตาร์ทอัพระดับโลก มาร่วมเป็นวิทยากรในบูธแคมป์โครงการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท ปีที่ 4 ติดต่อกัน จึงเป็นโอกาสดีที่ “เนียร์ อียาร์” จะมาเปิดมุมมองถึงพัฒนาการของสตาร์ทอัพไทย

25882
เนียร์ อียาร์

เนียร์ อียาร์ เล่าว่า หลังจากได้มาสัมผัสกับสตาร์ทอัพไทย โดยเฉพาะในโครงการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า ปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก จากเดิมเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นเพียงแค่แนวคิดหรือไอเดีย แต่ 4 ปีต่อมาสามารถพัฒนาเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ สร้างผลกำไร รวมถึงสามารถระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจได้หลายราย

ที่สำคัญ คือ สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว จะหันกลับมาสนับสนุนสตาร์ทอัพน้องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนร่วม การเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ดังนั้นจึงเห็นว่า ควรจะมีโครงการในลักษณะเดียวกับ ดีแทค แอคเซอเลอเรท เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการร่วมพัฒนาสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตเร็วขึ้น

ขณะที่ปัจุจบันเป็นยุคของเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะ บิ๊กดาต้า เอไอ และแมชชีนเลิร์นนิ่ง “เนียร์ อียาร์” มองว่า มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาธุรกิจของสตาร์ทอัพ เนื่องจากสามารถใช้เอไอในการจับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย นำข้อมูลจำนวนมหาศาลหรือบิ๊กดาต้า มาวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลที่มีประโยชน์ไปออกแบบและพัฒนาโปรดักส์ ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น รวมไปถึงการต่อยอดสร้างสรรค์โปรดักส์ใหม่ๆ ที่ค้นพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความต้องการแต่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง

25881

“โปรดักส์ที่ดี ควรดีไซน์บนพื้นฐานความสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้” เนียร์ อียาร์กล่าว

ด้าน สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวอย่างของการพัฒนาโปรดักส์ที่ดีโดยใช้ Hook Model หรือพฤติกรรมการใช้ซ้ำ เช่น “FINNOMENA” สตาร์ทอัพสายฟินเทค แอปพลิเคชั่นเพื่อการเงินและการลงทุน ที่นำ Hook Model มาใช้เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้ซ้ำ จากปกติที่ส่วนใหญ่คนจะไม่ลงทุนซ้ำๆ บ่อยๆ จึงแก้ปัญหาด้วยการปรับคอนเทนต์ สร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดการพูดคุยและเอนเกจกับแอพพลิเคชั่น ด้วยการสร้างคอนเทนต์ตลอดเวลา ซึ่งเป็นขั้นตอน Trigger คือ ใช้คอนเทนต์กระตุ้นให้เกิดความอยากใช้โปรดักส์ และทำให้เกิดขั้นตอนอื่นๆ ตามมาจนครบ แล้ววนซ้ำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม สมโภชน์ มองว่า สิ่งสำคัญที่สตาร์ทอัพไทยยังขาด หรือมีน้อยมาก คือ การคิดสร้างสตาร์ทอัพเพื่อแก้ปัญหาระดับโลก ทำให้การพัฒนาธุรกิจยังอยู่ในวงแคบ เช่น ระดับกลุ่มคนที่มีปัญหาเดียวกันกลุ่มหนึ่ง หรือระดับประเทศ ทำให้พัฒนาได้ช้า ต่างจากสตาร์ทอัพประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่จับ pain point หรือปัญหาระดับโลกมาคิดหาธุรกิจที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในระดับมหภาคได้

25878

สำหรับทฤษฏี “Hook Model” ของ เนียร์ อียาร์ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1. Trigger ตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน เช่น เฟซบุ๊ก ที่มี Notification ขึ้นมาให้เห็น 2. Action การกระทำต่อสิ่งกระตุ้นนั้น เช่น เมื่อเห็น Notification บนเฟซบุ๊ก ทำให้เรากดเข้าไปดู 3. Reward การให้รางวัล เช่น ฟีดใหม่ๆ ที่เซอร์ไพรส์และง่ายต่อการใช้งาน ทำให้ได้รู้สิ่งใหม่ๆ ถือเป็นการให้รางวัล และ 4. Investment คือ สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องทำระหว่างใช้งาน เช่น การกดโพสต์ กดไลค์ แชร์ หรือ คอมเมนทต์ เป็นต้น จากนั้นก็จะมีการเตือนใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการใช้งานซ้ำตลอดเวลา ซึ่งเฟซบุ๊ก ถือเป็นแอปพลิเคชั่นที่นำ Hook Model มาใช้จนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ เมื่อ Hook Model ทำให้เกิดการใช้ซ้ำวนลูปไปเรื่อยๆ จนติดงอมแงม สมโภชน์ ทิ้งท้ายว่า ต้องพิจารณาว่าการใช้งานโปรดักส์ใดจนติด เป็นการใช้งานแล้วเสียสุขภาพหรือไม่ เพราะแอปที่ดีและ Hook Model ที่ดี ต้องทำให้เกิดการใช้งานที่ดีต่อสุขภาพ หรือเรียกว่า Health Habit หากใช้แล้ว เสียสุขภาพควรเลิกใช้งาน

Avatar photo