Economics

ลงนามความร่วมมือสร้าง ‘สะพานไทย-ลาวแห่งที่ 5’ คาดอีก 3 ปีได้ใช้งาน

ลงนามความร่วมมือสร้าง “สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5” มูลค่า 4 พันล้านบาท เชื่อม “บึงกาฬ-บอลิคำไซ” คาดอีก 3 ปีได้ใช้ถนนขนยางพารา เปิดเส้นทางท่องเที่ยว 3 ประเทศในหนึ่งวัน

378086

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (14 มิ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายบุนจัน สินทะวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประธาน “พิธีลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาล สปป.ลาว ว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 ระหว่างจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย – แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว” ณ ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นับจากนี้ไปอีกประมาณ 3 ปี ไทยจะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับแขวงบอลิคำไซ และเมืองใกล้เคียงของ สปป.ลาว ซึ่งจะช่วยพัฒนาสภาพเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ตอนบนให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดบึงกาฬ

เพราะสะพานมิตรภาพฯ แห่งนี้ นอกจากจะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ที่มีอย่างยาวนาน ยังส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณด่านชายแดนฝั่งจังหวัดบึงกาฬ และชายแดนฝั่งแขวงบอลิคำไซให้เป็นประตูการค้าที่สำคัญ ส่งเสริมการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากไทยไปสู่ตลาดจีนตอนใต้ และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคกลางของ สปป.ลาว สู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย

แนวเส้นทางที่เลือก THA

ลงทุน 4 พันล้านบาท

นายอาคมกล่าวต่อว่า โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ต้องใช้วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,930 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินโครงการและใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี วงเงิน 2,630 ล้าน ประกอบด้วยค่าก่อสร้าง 2,553 ล้านบาทและค่าควบคุมงาน 77 ล้านบาท

ทางฝั่ง สปป.ลาว จะใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) จำนวน 1,300 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 1,256 ล้านบาท และค่าควบคุมงาน 44 ล้านบาท

CAN BRIDGE 1 rev

สำหรับโครงการดังกล่าวใช้ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างประมาณ 36 เดือน มีจุดเริ่มต้น ที่ กม.0+000.000 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 222 (กม.123+430) อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย สิ้นสุดโครงการ ที่ กม.16+340.580 (จุดตัดถนนสาย 13) เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว แบ่งงานก่อสร้างเป็น 5 ส่วน ได้แก่

  1. งานก่อสร้างถนนฝั่งไทยขนาด 4 ช่องจราจร ตามมาตรฐานอาเซียน ระยะทาง 12.13 กิโลเมตร
  2. งานก่อสร้างถนนฝั่ง สปป.ลาว ระยะทาง 2.86 กิโลเมตร
  3. งานก่อสร้างอาคารด่านพรมแดนทั้งสองฝั่ง
  4. งานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นแบบสะพานคานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (Extradosed Prestress Concrete Bridge) ขนาด 2 ช่องจราจร มีไหล่ทางและทางเท้า ความยาวช่วงข้ามแม่น้ำโขง 810 เมตร และทางลาดขึ้นลงสะพานทั้งสองฝั่งรวมความยาวสะพานทั้งหมด 1,350 เมตร
  5. งานก่อสร้างโครงสร้างเชื่อมต่ออื่น ๆ โดยมีด่านควบคุม (Border Control Facilities, BCF) ทั้งสองฝั่งประเทศ และจุดสลับทิศทางจราจรอยู่ในฝั่ง สปป.ลาว

BPB Per 02

ขนยางพารา-เส้นทางท่องเที่ยว

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 จะเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร โดยจะมีช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร ในเขตทาง 60 เมตร ถนนฝั่งไทยยาว 12.13 กิโลเมตร และถนนฝั่งลาวยาว 2.86 กิโลเมตร

รูปแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงเป็นแบบสะพานคานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (Extradosed Prestress Concrete Bridge) ขนาด 2 ช่องจราจร มีไหล่ทางและทางเท้าโดยมีความยาวช่วงข้ามแม่น้ำโขง 810 เมตรและทางลาดขึ้นลงสะพานทั้งสองฝั่งรวมความยาวสะพานทั้งหมด 1,350 เมตร มีด่านควบคุม (Border Control Facilities, BCF) อยู่ทั้ง 2 ฝั่งประเทศ และจุดสลับทิศทางจราจรอยู่ในฝั่ง สปป.ลาว

เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยกระตุ้นการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาว รวมถึงทำให้การขนส่งสินค้าจากไทยไปสู่ตลาดจีนตอนใต้คล่องตัวขึ้น โดยเฉพาะ “ยางพารา” ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดบึงกาฬ และยังเปิดเส้นทางท่องเที่ยว 3 ประเทศใน 1 วัน (One day trip) “ไทย-ลาว-เวียดนาม” หลังการคมนาคมเชื่อมโยงถึงกันได้อีกด้วย

BPB Per 01

Avatar photo