Politics

‘ไล่ฝุ่นพิษ’ วาระเร่งด่วนที่สุด!! จี้หยุดก่อสร้าง-ห้ามรถดีเซลวิ่ง

“นิด้าโพล” เผย “ไล่ฝุ่นพิษ” วาระเร่งด่วนที่สุด!! พร้อมจี้รัฐสั่งหยุดก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยง พร้อมห้ามรถดีเซลวิ่งชั่วคราว

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การจัดการวิกฤตฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 6 กุมภาพันธ์ 2562 จากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,261 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดการวิกฤตฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการจัดการปัญหาจากวิกฤตฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 75.42% ระบุว่า จัดการปัญหานี้ ขณะที่ 24.58% ระบุว่า ไม่ได้ทำอะไรต่างจากเดิม โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าไม่ได้ทำอะไรต่างจากเดิม 69.68% ระบุว่าเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง รองลงมา 32.26% ระบุว่า ที่พักอาศัย/ที่ทำงานไม่มีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง, 7.10% ระบุว่า ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดี และ 0.32% ระบุว่า มีปัญหาด้านการเงิน

โพล10621

สำหรับวิธีการจัดการปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 87.28% ระบุว่า ป้องกันตัวเอง รองลงมา 15.46% ระบุว่า หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้าน และ 0.63% ระบุว่า เดินทางไปต่างจังหวัดที่ไม่มีฝุ่น ซึ่งในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าจัดการปัญหาด้วยวิธีป้องกันตัวเอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 91.93% ระบุว่า สวมหน้ากากอนามัย รองลงมา 11.57% ระบุว่า ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่น, 5.42% ระบุว่า งดออกกำลังกายกลางแจ้ง, 4.22% ระบุว่า ใช้พัดลม-เครื่องฟอกอากาศ, 3.61% ระบุว่า ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และ 1.93% ระบุว่า ปิดห้องแอร์ให้สนิท

ด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องจ่ายจากวิกฤตฝุ่นละออง ถ้ามีการจัดการปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชน 33.23% ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย, 56.26% ระบุว่า ไม่เกิน 500 บาท, 5.78% ระบุว่า 501 – 1,000 บาท, 0.95% ระบุว่า 1,001-1,500 บาท, 1.05% ระบุว่า 1,501-2,000 บาท และ 2.73% ระบุว่า 2,001 บาทขึ้นไป

โพล10622

เมื่อถามถึงการขจัดฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ควรจัดเป็นวาระเร่งด่วนมากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชน 64.15% ระบุว่า เร่งด่วนที่สุด, 31.88% ระบุว่า เร่งด่วน, 3.81% ระบุว่า ไม่เร่งด่วน และ 0.16% ระบุว่า ไม่เร่งด่วนเลย

ส่วนมาตรการที่รัฐควรมีในช่วงที่มีปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 45.12% ระบุว่า หยุดการก่อสร้างในพื้นที่วิกฤตฝุ่นละออง รองลงมา 20.30% ระบุว่า ห้ามรถทุกชนิดที่ใช้น้ำมันดีเซลวิ่งชั่วคราว, 11.82% ระบุว่า ให้โรงงานอุตสาหกรรมหยุดทำงานชั่วคราว, 7.61% ระบุว่า ให้ทำฝนเทียม, 7.14% ระบุว่า มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในการตรวจจับรถที่ปล่อยควันดำ และกับผู้ที่เผาป่า เผานา หรือเผาปรับที่เพื่อก่อสร้าง

โพล

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK